เจตสิก - เกิดร่วมกับจิตที่เกิดขึ้นในขณะหนึ่งๆ

 
พุทธรักษา
วันที่  20 พ.ย. 2552
หมายเลข  14302
อ่าน  2,217

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปรมัตถธรรมที่ ๒ คือ เจตสิก ซึ่งเป็น นามธรรม

จิต เป็นสภาพรู้อารมณ์ ขณะที่จิตเห็นกำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ (เป็นต้น) ขณะนั้นยังมีนามธรรมอื่นๆ อีก ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน คือ มีเจตสิกหลายประเภท เกิดร่วมกับจิตที่เกิดขึ้นในขณะหนึ่งๆ เช่น กำลังคิดด้วยโทสะ โลภะ หรือ ปัญญา ฯลฯโทสะ โลภะ ปัญญา (เป็นต้น) เป็นนามธรรมที่ไม่ใช่ จิตแต่ โทสะ โลภะ ปัญญา (เป็นต้น) เป็นเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกับจิตประเภทต่างๆ

ในขณะที่จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะ มีเจตสิกเกิดขึ้นร่วมด้วยหลายประเภทแต่อย่างน้อยที่สุด ต้องมี เจตสิก ๗ ประเภทเกิดร่วมด้วย เจตสิก ๗ ประเภทนั้น เรียกว่า "สัพพจิตตสาธารณเจตสิก"

จิต และ เจตสิก เกิดดับ พร้อมกันจิต จะเกิดขึ้นตามลำพัง (โดยปราศจากเจตสิก) ไม่ได้ เช่น ความรู้สึก ซึ่งภาษาบาลีเรียกว่า "เวทนา" เวทนาเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ

จิตเพียงแต่รู้อารมณ์ แต่ เวทนาเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่รู้สึกบางครั้งรู้สึกเป็นสุข บางครั้งรู้สึกเป็นทุกข์ บางครั้งรู้สึกเฉยๆ (ไม่ทุกข์-ไม่สุข) ความรู้สึก (เวทนาเจตสิก) มีอยู่เสมอไม่มีสักขณะจิตเดียวที่ปราศจาก ความรู้สึก (เวทนาเจตสิก) เช่น เมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น ความรู้สึก (เวทนาเจตสิก) เกิดร่วมกับจิตเห็นแต่ขณะที่เห็น ขณะนั้นยังไม่มีความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบเกิดขึ้นหมายความว่า เวทนาเจตสิกขณะที่กำลังเห็น เป็น ความรู้สึกเฉยๆ คือ ไม่ทุกข์ ไม่สุข (ภาษาบาลี เรียกว่า อุเบกขาเวทนา)

และ หลังจากจิตเห็นดับไปแล้ว จิตขณะอื่นๆ ก็เกิดขึ้นอาจจะเป็นจิตที่ชอบ หรือ ไม่ชอบในอารมณ์ (สิ่งที่ปรากฏทางตา) นั้นๆ เช่น ถ้าเป็นจิตที่ไม่ชอบในอารมณ์ที่เห็น หมายความว่าเวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตขณะนั้น เป็น โทมนัสเวทนา (หรือถ้าเป็นจิตที่ชอบในอารมณ์ที่เห็น หมายความว่า เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตขณะนั้น เป็น โสมนัสเวทนา)

จิต มีหน้าที่รู้อารมณ์ จิต เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้อารมณ์เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิตจิต และ เจตสิกต่างๆ รู้อารมณ์เดียวกัน เกิด-ดับพร้อมกัน-ที่เดียวกันแต่ เจตสิกแต่ละประเภท มีลักษณะและกิจหน้าที่เฉพาะของตนๆ

เจตสิกทั้งหมด มี ๕๒ ประเภทมีเจตสิก (อย่างน้อยที่สุด) ๗ ประเภท ที่เกิดกับจิตทุกขณะเรียกว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

ข้อความบางตอนจากหนังสือ พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน โดย Nina Van Gorkorm แปลโดย อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Sam
วันที่ 20 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
homenumber5
วันที่ 21 พ.ย. 2552

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ทรงประกาศรื้อสัตว์ถอนสัตว์ออกจากสังสารวัฏฏ์ฏ ขอเชิญชวน สิกขาพระอภิธรรม เพื่อเป็นบาทฐานในการเข้าสู่วิปัสสนาภูมิด้วย

ขออนุโมทนา กับทุกท่านชาวพุทธบริษัท สี่

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ