อินเดีย ... อีกแล้ว 13 เสวยวิมุตติสุข
เสวยวิมุตติสุข
ทุกครั้งที่ไปพุทธคยา เมื่อกราบมนัสการองค์พระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้ว ใจก็มุ่งตรงไปที่พระศรีมหาโพธิ์ อยากไปนั่งใต้ร่มเงาที่สุขสงบนานๆ นั่งดูผู้คนที่ เดินทางมากราบนมัสการด้วยแบบธรรมเนียมต่างๆ กันหลากหลาย ฟังเสียงสวดมนต์ สรรเสริญพระรัตนตรัยด้วยสำเนียงต่างกัน แต่ใจความเดียวกัน คือ แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง เป็นต้น
ไปครั้งนี้ก็เช่นกัน ไปถึงตอนบ่ายสอง ไม่มีเทศกาลพิเศษ จึงไม่มีผู้คนหนาแน่นเหมือน ทุกครั้ง ไปนั่งอยู่ด้านหลังต้นพระศรีมหาโพธิ์ เห็นเจ้าหน้าที่กวาดพื้นอยู่ ตรงกับใจที่ อยากจะกวาดลานหินอ่อนรอบพระเจดีย์อยู่แล้ว จึงไปขอยืมไม้กวาด (แลกกับรูปีเช่นเคย) มากวาดฝุ่นละอองและขยะที่มีคนมักง่ายทิ้งไว้ รู้สึกสบายใจว่าได้ทำกุศลอีกแบบ หนึ่งที่อยากทำแล้ว สังเกตตัวเองว่า ชอบไปแสดงว่ารักความสะอาดเวลาอยู่นอกบ้าน เสมอ แต่ในบ้านไม่ชอบกวาด ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน คงเหมือนกับที่ชอบไปจุ้น จ้านจะขัดเกลาอกุศลของคนอื่น ลืมขัดเกลาอกุศลที่มากมายของตัวเอง
ความจริงบริเวณเจดีย์พุทธคยา ไม่ได้มีแต่แท่นวัชรอาสน์ (บางแห่งเรียก รัตนบัลลังก์) พระเจดีย์ และต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่านั้น ยังมีสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคทรงประทับ เสวยวิมุตติสุข (ความสุขจากการหมดกิเลส) หลังจากตรัสรู้แล้วถึง ๗ แห่ง แห่งละ สัปดาห์ ก็เป็น ๗ สัปดาห์ บางแห่งก็ไกลจากพระเจดีย์มาก จึงมีการจำลองไว้ให้อยู่ในที่ แห่งเดียวกัน ไปคราวแรก (๒๕๓๐) มีพระบรรยายให้ฟัง แต่ก็ลืมไปแล้ว คราวหลังๆ ผู้จัดคงเข้าใจว่า รู้แล้ว จึงไม่มีการบรรยาย เมื่อไปอ่านหนังสือพุทธประวัติ ได้พบข้อ ความเกี่ยวกับสถานที่ประทับเสวยวิมุตติสุข น่าจะบันทึกไว้เพื่อเตือนความจำ และถ้า ใครมีภาพช่วยใส่ให้ด้วยก็จะเป็นพระคุณยิ่ง
สัปดาห์ที่ 1 คงประทับอยู่ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ ทรงใช้เวลาพิจารณาปฏิจจสมุปปาทธรรม ทบทวนอยู่ตลอด 7 วัน พร้อมกับเปล่งอุทานยามละครั้ง
อุทานในยามต้นว่า “เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อ นั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้แจ้งธรรมว่าเกิดแต่เหตุ” อุทานในยามกลางว่า “เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้ง หลาย (ว่าเป็นเหตุสิ้นแก่ผลทั้งหลายด้วย) ”
อุทานในยามสุดท้ายว่า “เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ทำ อากาศให้สว่างฉะนั้น”
สัปดาห์ที่ 2 เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นโพธิ์ ห่างไป ๖๙ เมตร ประทับยืนกลางแจ้ง เพ่งดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตร อยู่ในที่แห่ง เดียวจนตลอด 7 วัน ที่ที่ประทับยืนนั้น ปรากฏเรียกในภายหลังว่า "อนิมิสสเจดีย์"
สัปดาห์ที่ 3 เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์ แล้ว ทรงจงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด 7 วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์"
สัปดาห์ที่ 4 เสด็จไปทางทิศเหนือของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๕๐ เมตร ประทับนั่งขัด บัลลังก์ พิจารณาพระอภิธรรม อยู่ตลอด 7 วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่า "รัตนฆรเจดีย์"
สัปดาห์ที่ 5 เสด็จไปทางทิศตะวันออกของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๑.๖ กิโลเมตร ประทับ ที่ควงไม้ไทร ชื่ออชาปาลนิโครธ อยู่ตลอด 7 วัน ในระหว่างนั้น ทรงแก้ปัญหาของ พราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์
สัปดาห์ที่ 6 เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๑.๗ กิโลเมตร ประทับที่ควงไม้จิก เสวยวิมุตติสุข อยู่ตลอด 7 วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา พญานาคมา วงขดล้อมพระองค์และแผ่พังพานบังฝนให้ พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า
“ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมได้สดับแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความ เป็นจริงอย่างไร ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความ ปราศจากกำหนัด คือ ความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก การนำอัสมิมานะ คือ ถือว่าตัวตนให้หมดได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง”
สัปดาห์ที่ 7 เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ห่างไป ๒.๕ กิโลเมตร ประทับที่ควงไม้เกด ซึ่งได้นามว่า “ราชายตนะ” เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน มีพ่อค้า 2 คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์ ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวาย
พระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว พ่อค้าทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่ แรกในพระพุทธศาสนาที่ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง เพราะในเวลานั้นยังไม่ มีพระสงฆ์ ท่านได้เกศธาตุไปบูชา ซึ่งชาวพม่าเล่าว่า ได้นำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ชเวดา กอง
ไปคราวหน้าคงจะได้กราบนมัสการทุกแห่งอย่างทั่วถึง ถ้ามีกุศลวิบากพอที่จะทำให้ได้มี โอกาสไปอีกสักครั้ง (หลายๆ ครั้งก็ดี) ทั้งๆ ที่ความจริงเมื่อกลับมาเมืองไทยนานเข้า ก่อนจะไปอินเดียทีไร ก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อยก่อนทุกครั้ง นึกในใจว่า ไม่น่าจะไปเลย แต่ เมื่อไปถึงพุทธคยาก็ลืมความคิดนั้นเสียหมด มีแต่ความปลี้มปีติที่ได้กราบนมัสการและ อยากกลับไปอีก
“ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมได้สดับแล้ว ยินดีอยู่ในที่สงัด รู้เห็นตามความ
เป็นจริงอย่างไร ความไม่เบียดเบียน คือ ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความ
ปราศจากกำหนัด คือ ความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ด้วยประการทั้งปวง เป็นสุขในโลก
การนำอัสมิมานะ คือ ถือว่าตัวตนให้หมดได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง”
กราบอนุโมทนาครับ
ขอขอบคุณคุณวันชัย ๒๕๐๔ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อภาพประกอบ ทำให้เรื่องน่าอ่านมากขึ้น
เพราะเห็นภาพชัดเจน โดยเฉพาะภาพคนที่นั่งใต้ต้นโพธิ์คนนั้น ถ้าจะกรุณาใส่ภาพให้
ทุกตอนก็จะดีมาก ที่สอนพี่มา ยังไม่ได้ลองทำเลย เพราะแค่หารูปที่เหมาะสมก็ใช้เวลา
มาก อยากจะใช้เวลาเขียนไปข้างหน้าเรื่อยๆ ค่ะ
พี่แดง
ที่พุทธคยา เป็นสถานที่ที่พิเศษ ที่พระพุทธเจ้าทุกองค์ต้องมาตรัสรู้ที่นี่ค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จากข้อความที่ว่า ...
สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดซึ่ง
ได้นามว่า “ราชายตนะ” เสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน มีพ่อค้า ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวาย พระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้วพ่อค้าทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนาที่ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง เพราะในเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ
ตปุสสะ และ ภัลลิยะ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...