ประวัติพระพุทธศาสนาของศรีลังกา (ตอน ๖) ถูปาราม

 
sutta
วันที่  1 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14391
อ่าน  6,938

การนำพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องขวามาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อมาประดิษฐานที่ประเทศศรีลังกาโดยให้พญาช้างนำไปไว้ที่บนกระพองช้าง

พญาช้างได้เดินมุ่งหน้าไปที่ถูปารามเพื่อนำพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานที่นั่น ซึ่งสถานที่ที่จะประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องขวา ย่อมไม่ใช่สถานที่ธรรมดาแน่นอน แต่เป็นสถานที่ที่พิเศษอย่างยิ่ง คือ ณ ที่ถูปารามนี้ในอดีตเป็นสถานที่ที่เป็นที่ตั้งของบริโภคเจดีย์ของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ถึง 3 พระองค์

คำว่า บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย ถือว่าเป็นบริโภคเจดีย์และควรแก่การบูชา อันได้แก่ บาตร จีวร ประคดเอว ต้นโพธิ์พฤกษ์ เป็นต้น

ในอดีตถูปารามนี้เป็นที่ประดิษฐานบริโภคเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตถึง 3 พระองค์ ในสมัยพระพุทธเจ้ากกุสันธะ ถูปารามได้เป็นที่ประดิษฐานธัมกรก (ผ้ากรองน้ำ) ในกาลสมัยพระพุทธเจ้าโกนาคมน์ ถูปารามได้เป็นที่ประดิษฐานประคดเอวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโกนาคมน์ ในกาลสมัยของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ถูปารามแห่งนี้ได้ประดิษฐานอุทกสาฏิก (ผ้าอาบน้ำฝน) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสปะ จะเห็นได้ว่าที่ถูปารามที่จะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องขวา เป็นที่ที่พิเศษอย่างยิ่ง จึงสมควรแก่การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

ถูปาราม

เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา

พญาช้างได้เดินไปที่ถูปาราม ณ ที่ถูปารามตอนนั้น รกไปด้วยพงหญ้าและหนาม เพราะด้วยอานุภาพของเทวดาด้วยตั้งใจว่า ใครๆ อย่านำของสกปรกหรือประทุษร้ายมา ณ ที่นี้ซึ่งบุรุษทั้งหลายล่วงหน้าไปก่อนพญาช้างก็ได้ถางหญ้า และได้สร้างพระสถูปมีลักษณะดังกองข้าวเปลือก เทวดาและหมู่มหาชนประชุมกันแล้ว พระธาตุก็ได้แสดงปาฏิหารย์ ได้เหาะขึ้นไปบนอากาศ แสดงยมกปาฏิหารย์ อันเกิดจากปาฏิหารย์ที่พระพุทธเจ้าได้อธิษฐานไว้ ได้ทรงอธิษฐานไว้เมื่อก่อนปรินิพพานว่า ยมกปาฏิหารย์จงมีในวันประดิษฐานพระธาตุรากขวัญเบื้องขวาของเรา

พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาศรีลังกา 4 ครั้ง คือ 3 ครั้งเสด็จมาเมื่อยังพระชนม์อยู่ และครั้งที่ 4 คือพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาประดิษฐานที่เจดีย์ถูปาราม ถูปาราม ยังเป็น สถานที่กระทำสังคายนาครั้งที่ 4 โดยพระมหาเถระ 68 รูป และได้ยังแผ่นดินให้ไหว

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

ก็แลขึ้นชื่อว่า โอกาสน้อยหนึ่งบนพื้นเกาะตัมพปัณณิทวีป (ศรีลังกา) ทีเมล็ดน้ำอันพุ่งออกจากพระสรีรธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่ถูกต้องหาได้มีไม่ พระสรีรธาตุนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยังความเร่าร้อนของภาคพื้น เกาะตัมพปัณณิ ทวีปให้สงบลงด้วยเมล็ดฝน แสดงปาฏิหาริย์แก่มหาชนแล้วลงประดิษฐานอยู่บกระหม่อมของพระราชา ด้วยประการอย่างนี้. พระราชาทรงสำคัญการได้อัตภาพเป็นมนุษย์ซึ่งมีผลทรงทำสักการะใหญ่ ให้บรรจุพระธาตุแล้ว พร้อมด้วยการบรรจุพระธาตุ ได้เกิดมีแผ่นดินหวั่นไหวใหญ่

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ได้ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปสู่เกาะนี้ (เกาะลังกา) ถึง ๓ ครั้ง แม้ในคราวยังทรงพระชนม์อยู่ คือ คราวแรกเสด็จมาพระองค์เดียวเท่านั้น เพื่อทรมานยักษ์ ครั้นทรมานยักษ์แล้ว ทรงตั้งอารักขาที่เกาะตัมพปัณณิทวีป เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ศาสนาของเรา จักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้. ครั้งที่สอง เสด็จมาพระองค์เดียวเหมือนกัน เพื่อต้องการทรมานพญานาคผู้เป็นลุงและหลานกัน ครั้นทรมานเหล่านั้นแล้ว ได้เสด็จไปครั้งที่สาม เสด็จมามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ณ ที่ตั้งมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปารามเจดีย์ ที่ประดิษฐานต้นมหาโพธิ์ ที่ตั้งมุติงคณเจดีย์ ที่ตั้งทีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้งกัลยาณิยเจดีย์ การมาโดยพระสรีรธาตุคราวนี้ เป็นครั้งที่ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เชิญคลิกอ่าน..

สังคายนา ครั้งที่ 4

หากท่านได้อ่านการสังคายนาครั้งที่ 4 จบแล้วจะเห็นได้ว่าในสมัยนั้นมีภิกษุผู้ทรงคุณเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์ถึงพร้อมด้วยวสี ความคล่องแคล่วชำนาญในด้านต่างๆ และภิกษุทั้งหลายที่มาประชุม ผู้ที่เป็นประธานและผู้ที่แสดงธรรมเริ่มจากพระวินัย เป็นต้น ก็เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงคุณด้วยฤทธิ์ด้วย (พระอริฏฐเถระ) เมื่อท่านกล่าวพระวินัยขึ้นในการสังคายนาแผ่นดินก็ไหว เทวดาทั้งหลายก็ให้สาธุการแล้ว และพระเถระรุ่นอื่นๆ ก็นำสืบต่อกันมา จะเห็นได้ว่าการสังคายนาครั้งที่ 4 จึงมีความสำคัญและน่าเชื่อถือเป็นอย่างมากเช่นกันครับ และที่ถูปารามนี้เองเป็นที่ทำสังคายนาครั้งที่ 4 อันเป็นที่ประชุมของพระอรหันต์ผู้ทรงคุณทั้งหลายอันมีพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะเป็นผู้อุปถัมภ์ครั้งนี้ครับ ดังนั้น การศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องจึงเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลประการต่างๆ ที่นำมาซึ่งความปิติปราโมทย์เมื่อเข้าใจพระธรรม

พระพุทธโฆษาจารย์แปลภาษาสิงหลจากพระมหินเถระในส่วนของพระสูตรด้วย

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

บุญใด สำเร็จแล้วด้วยการกราบไหว้พระรัตนตรัยของข้าพเจ้าผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันขจัดดีแล้ว อรรถกถาใด อันพระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ ผู้ชำนาญแตกฉานในปฏิสัมภิทาช่วยกันร้อยกรอง แล้วตั้งแต่ปฐมสังคายนา ต่อมามีการร้อยกรองอีกสองครั้ง คือในทุติยตติยสังคายนา เพื่อประกาศเนื้อความของปกรณ์สังยุตตนิกายอันประเสริฐ ซึ่งประดับด้วยวรรคแห่งสังยุตอันจำแนกญาณต่างๆ ที่พระพุทธะและสาวกของพระพุทธะพรรณนาไว้ดีแล้ว ก็อรรถกถานั้นแหละ อันพระมหินทเถระผู้ชำนาญจากประเทศอินเดียนำมายังเกาะสิงหล (ประเทศศรีลังกา) ต่อมาได้ประดิษฐานไว้ด้วยภาษาสิงหล เพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนชาวเกาะ ข้าพเจ้านำอรรถกถาภาษาสิงหลออกแปลเป็นภาษามคธซึ่งเป็นภาษาที่น่ารื่นรมย์ ถูกต้องตามระเบียบพระบาลีไม่มีภาษาอื่นปะปน ไม่ขัดแย้งทฤษฎีของพระเถระทั้งหลาย ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้เป็นดังประทีปของเถระวงศ์ ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ละเอียดรอบคอบ จักตัดข้อความที่ซ้ำๆ ออกแล้ว จักประกาศเนื้อความอรรถกถาสังยุตตนิกายนี้ เพื่อความชื่นชมยินดีของสาธุชน และเพื่อดำรงอยู่สิ้นกาลนานแห่งพระธรรม.


  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 1 ธ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ups
วันที่ 2 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pannipa.v
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

สาธุ สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paew_int
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

จากข้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมาอ้างนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นการสังคายนา "พระวินัย" อย่างเดียวเท่านั้นใช่มั้ยค่ะ ต่างกันอย่างไรกับการสังคายนาที่มีมาก่อนหน้านั้น ๓ ครั้งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
orawan.c
วันที่ 26 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
saifon.p
วันที่ 7 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
aditap
วันที่ 8 มี.ค. 2553

ตามข้อความที่นํามาก็หมายความว่า อรรกถา ก็คือคําอธิบายที่ท่านพระเถระทั้งหลายผู้ทรงคุณได้อธิบายไว้ใช่ไหมครับ ...

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
peem
วันที่ 2 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Wisaka
วันที่ 5 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 23 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
chatchai.k
วันที่ 15 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ