จิตและเจตสิก เป็น นามธรรม มี ลักษณะ ต่างกัน

 
พุทธรักษา
วันที่  1 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14395
อ่าน  3,081

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่จำ ภาษาบาลี เรียกว่า "สัญญา"

"สัญญา" เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ จิต รู้อารมณ์ เท่านั้น จิต ไม่จำในอารมณ์ แต่ "สัญญาเจตสิก" ทำกิจ "จำหมายในอารมณ์ที่ปรากฏ" ขณะใด ที่จำได้ ขณะนั้น เป็น "สัญญาเจตสิก" ที่กระทำกิจ "จำ"เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่ "ตัวตน" ที่จำได้

"เจตนาเจตสิก" หมายถึง "สภาพธรรมที่ตั้งใจ" เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ มีเจตสิกอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดกับจิตทุกขณะ เช่น "อกุศลเจตสิก" ต้องเกิดร่วมกับ "อกุศลจิต" เท่านั้น แต่สำหรับ "โสภณเจตสิก" (โสภณ = ดีงาม) ต้องเกิดร่วมกับ "โสภณจิต" เท่านั้น เป็นต้น

โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุศลเจตสิกซึ่งต้องเกิดร่วมกับ อกุศลจิต เท่านั้น เช่น ขณะที่เห็นสิ่งที่สวยงาม จิตอาจจะเกิดความยินดีพอใจ ในสิ่งที่เห็นหมายความว่า จิตขณะนั้น มี "โลภเจตสิก" เกิดร่วมด้วยและ โลภเจตสิก ก็ทำกิจ "ติดข้องในอารมณ์" นอกจากนี้ ยังมี "อกุศลเจตสิก" ประเภทอื่นๆ อีก ที่เกิดร่วมกับ "อกุศลจิต" เช่น ความสำคัญตน (มานะเจตสิก) ความเห็นผิด (ทิฏฐิเจตสิก) ความริษยา (อิสสาเจตสิก) เป็นต้น

"โสภณเจตสิก" ต้องเกิดร่วมกับ "โสภณจิต" เช่น อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก (ปัญญาเจตสิก) เช่น ขณะที่กำลังให้ทาน ขณะนั้น อโลภเจตสิก และ อโทสเจตสิก กำลังเกิดขึ้นร่วมกับกุศลจิต และ โสภณเจตสิก ประเภทอื่นๆ เช่น "ปัญญาเจตสิก" เป็นต้น อาจจะเกิดร่วมด้วยกับกุศลจิต (ขณะที่กำลังให้ทาน) หรือไม่ก็ได้

แม้ว่า จิต และ เจตสิก เป็น นามธรรม แต่มี "ลักษณะ" ต่างกัน บางท่านอาจจะสงสัยว่า จะรู้ลักษณะของเจตสิกได้อย่างไร เราอาจจะรู้ลักษณะของเจตสิกได้ เมื่อสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลงของจิต" เช่น ขณะที่อกุศลจิต ซึ่งมี "มัจฉริยเจตสิก" (ความตระหนี่) เกิดขึ้นหลังจากที่กุศลจิต ซึ่งมีอโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดับไปแล้ว สภาพธรรมที่ปรากฏ ทำให้เรารู้ว่า มัจฉริยเจตสิก (ความตระหนี่) ต่างจาก อโลภเจตสิก (ความไม่ติดข้อง) เป็นต้น หรือ เราอาจจะสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลง" จาก ความยินดี เป็น ความยินร้าย จากความสบายใจ เป็นความไม่สบายใจ (ซึ่ง เป็น เวทนาเจตสิก) "เวทนาเจตสิก" เป็น เจตสิกประเภทหนึ่ง ที่สามารถสังเกตรู้ได้ ในชีวิตประจำวัน เพราะว่า บางครั้ง เวทนาเจตสิก ปรากฏชัด และ เวทนาเจตสิก มีลักษณะต่างๆ หลายประเภท ซึ่งถ้าสังเกต จะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า "ลักษณะ" ของ โทมนัสเวทนา ต่างกับ โสมนัสเวทนา และ อุเบกขาเวทนา

เจตสิกบางประเภท เกิดกับจิตบางประเภทเท่านั้น เจตสิกประเภทต่างๆ เมื่อเกิดร่วมกับจิตขณะหนึ่งๆ แล้ว ก็ดับไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับจิตที่เกิดร่วมด้วย ความเข้าใจเรื่องของ "จิตและเจตสิก" ประเภทต่างๆ อย่างละเอียดจะเป็นปัจจัยให้ "รู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง"

ข้อความบางตอนจากหนังสือ พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน โดย Nina Van Gorkorm แปลโดย อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ups
วันที่ 2 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Yongyod
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 4 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 5 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
noynoi
วันที่ 6 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
bsomsuda
วันที่ 8 ธ.ค. 2552

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ