ขอเรียนถามอาจารย์คำปั่นเรื่องพระบาลี จุนทสูตร

 
bsomsuda
วันที่  2 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14442
อ่าน  1,771

เรียนอาจารย์คำปั่น ที่เคารพ

ในจุนทสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต หน้า 427 ข้อ 165กล่าวถึง กรรมบถ 10 ประการ มีถ้อยคำว่า

“เป็นผู้มีปกติ..” ขึ้นต้นเฉพาะในหัวข้อแรกของอกุศลกรรมทั้ง 3 ทาง (กาย วาจา และใจ) เช่น อกุศลกรรมทางกาย ข้อแรก คือ เป็นผู้มีปกติฆ่าสัตว์ อกุศลกรรมทางวาจา ข้อแรกคือเป็นผู้มีปกติพูดเท็จ เป็นต้น แต่ในหัวข้อที่ 2 3 และ 4 ไม่มีคำว่า “เป็นผู้มีปกติ.....”

ดิฉันเข้าใจว่า น่าจะมีคำว่า “เป็นผู้มีปกติ.......” ขึ้นต้น ในทุกๆ หัวข้อ จึงอยากขอรบกวนให้ อาจารย์คำปั่น ตรวจสอบพระบาลีว่า เป็นเช่นไรคะ

เพราะการมีกับไม่มีคำนี้ในอกุศลกรรมแต่ละประเภท ให้ความหมายที่แตกต่างกันอย่างมากค่ะ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าในความกรุณาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 2 ธ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียนคุณ bsomsuda

จากพระสูตร ที่คุณ bsomsuda ยกมานั้น เป็นสำนวนการแปลของมหามกุฏราช-วิทยาลัย เมื่อเทียบกับภาษาบาลีแล้ว สามารถแปลตามศัพท์ได้อย่างที่คุ้นๆ กัน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ เป็นผู้ลักทรัพย์ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้พูดเท็จ เป็นต้น แต่ที่ท่านใส่คำว่า เป็นผู้มีปกติ นั้น ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ เช่น ขณะที่มีเจตนาในการฆ่าสัตว์ ขณะนั้นปกติก็เป็นอกุศล จะบอกว่าเป็นกุศลไม่ได้ (เพราะฉะนั้น จะใส่ คำว่าเป็นผู้มีปกติ หรือไม่ก็ตาม ที่สำคัญคือความเข้าใจตามความเป็นจริง ไม่มีสัตว์ บุคคลตัวตน มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้น) ในจุนทสูตร นี้ เนื้อหาโดยสรุป คือ นายจุนทกัมมารบุตร กราบทูลวิธีทำให้เกิดความสะอาดตามความเห็นของพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ที่ตนเองชอบใจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงแสดงความไม่สะอาด และ ความสะอาดในวินัยของพระอริยะให้นายจุนทกัมมารบุตรฟัง ว่า ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ (ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม) ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ (พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบพูดเพ้อเจ้อ) และ ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ (ความเพ่งเล็งอยากได้ของๆ ผู้อื่นความพยาบาทปองร้ายผู้อื่น และ มีความเห็นผิด) กล่าวโดยรวมแล้ว อกุศลกรรมบถ๑๐ ประการนี้ เป็นความไม่สะอาด ผู้ที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ถึงแม้จะทำตามวิธีที่เป็นความเห็นของพราหมณ์หรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นคนไม่สะอาดอยู่นั่นเอง เพราะอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นความไม่สะอาด ทำให้เป็นผู้ไม่สะอาด อีกทั้งยังเป็นเหตุให้ไปเกิดในทุคติภูมิ มีนรก เป็นต้น ส่วนความสะอาดในวินัยของพระอริยะ มีนัยตรงกันข้าม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ประการ (ทางกาย ๓, ทางวาจา ๔ และทางใจ ๓) เป็นความสะอาด ผู้ที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ถึงแม้ว่าจะทำตามวิธีที่เป็นความเห็นของพราหมณ์หรือไม่ก็ตาม ก็ยังเป็นคนสะอาดอยู่นั่นเอง เพราะกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นความสะอาด ทำให้เป็นคนสะอาด อีกทั้งยังเป็นเหตุให้ไปเกิดในสุคติภูมิ ในตอนท้าย นายจุนทกัมมารบุตรได้สรรเสริญพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า และได้ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต อีกด้วย

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
bsomsuda
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในความกรุณาของอาจารย์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 3 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 4 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 4 ธ.ค. 2552

อาจารย์คำปั่นเป็นผู้ที่มีความรู้ในพระบาลีดีมาก สมแล้วค่ะกับการที่ท่านเคยเป็น "นาคหลวง" มาก่อน

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 4 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 7 ธ.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 26 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ