ทบทวนเรื่องของปัจจัย [๑๐]
ขอนอบน้อมแด่พระผู้พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อาจารย์กรุณาอธิบายและยกตัวอย่างสภาพธรรมในขณะที่วิมังสาเป็นอธิปติปัจจัย
ขณะที่ วิมังสา เป็นอธิปดี (อธิปติปัจจัย) ขณะนั้น ต้องเกิดกับมหากุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต์ และถ้าเป็นการอบรมเจริญสมถภาวนา หรือการอบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว ขณะนั้นเป็นมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ ต้องเป็นขณะที่จิตประกอบด้วยปัญญาซึ่งมีกำลังเท่านั้น ปัญญาหรือวิมังสาจึงจะเป็นอธิปดี (คือ เป็นอธิปติปัจจัยได้) แต่ถึงแม้ว่า เป็นมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ แต่ไม่มีกำลังเช่น ในขณะที่กำลังฟังพระธรรม และมีความเข้าใจไปเรื่อยๆ ยังไม่มีลักษณะของปัญญาที่ปรากฏเป็นอธิปดี หรือเป็นหัวหน้าขณะนั้น เป็นมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ แต่ว่า ปัญญายังไม่เป็นอธิปดีเพราะฉะนั้น เมื่อ "ปัญญาเป็นอธิปดี" เมื่อนั้น "สติสัมปชัญญะ" ก็จะรู้ว่า กุศลจิตในขณะนั้น มีปัญญาเป็นอธิปดี
ขณะที่ความโลภเกิดขึ้น และจิต ก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นโลภะขณะนั้น ปัญญาเป็นอธิปดีหรือยังฮะ เป็นญาณสัมปยุตตจิตหรือยังฮะ
คนอื่นไม่สามารถจะบอกได้เลย ถึงลักษณะของอธิปติปัจจัยในขณะนั้นว่า ขณะนั้น มีปัญญาเป็นอธิปติปัจจัย หรือไม่เพราะต้องเป็น "สติสัมปชัญญะ" ของบุคคลนั้นเอง ที่จะทราบได้ คนอื่นไม่สามารถที่จะทราบได้เป็นขณะซึ่งบุคคลนั้นเองเท่านั้นที่จะรู้ได้ พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะคือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ต้องพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะจึงจะสามารถรู้ได้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง สภาพธรรมที่เป็นอธิปติปัจจัย มีเพียง ๔ เท่านั้นคือ ฉันทเจตสิก วิริยเจตสิก จิต และ ปัญญาเจตสิก (วิมังสา) โดยที่ต้องรู้ความละเอียด ว่าจิตขณะไหน จิตประเภทไหน ที่จะเป็นอธิปติปัจจัยได้ สำหรับกุศลจิตทั้งหมด เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นทุกครั้ง สำหรับฉันทะในอกุศล ทุกท่านสามารถที่จะทราบตามความเป็นจริง ว่าท่านชอบทำอะไรในวันหนึ่งๆ ซึ่งถ้าสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ จะเห็นสภาพที่กำลังพอใจอย่างยิ่ง ในขณะที่กำลังเพลิดเพลิน หรือกำลังยินดี ในสิ่งที่ท่านกำลังกระทำเพราะเหตุว่า บางท่านชอบดูภาพยนต์ ซึ่งยับยั้งไม่ได้สนุกเพลินเพลินเหลือเกิน ในการขณะที่ดูแต่บางท่านชอบดูกีฬา บางก็ท่านชอบแต่งตัว บางท่านชอบไปเที่ยวต่างจังหวัด บางท่านชอบฟังดนตรีบางท่านชอบทำอาหาร บางท่านก็ชอบปลูกต้นไม้ดอกไม้บางท่านก็ชอบสะสมวัตถุสิ่งของต่างๆ ฯลฯ ในขณะนั้น ให้ทราบว่า ขณะที่กำลังเพลิดเพลินยินดีพอใจอย่างยิ่งในขณะนั้น ฉันทะ เป็น อธิปดี แต่ไม่ใช่เฉพาะฉันทะ เท่านั้นแม้ในเรื่องของกุศล บางครั้งก็เป็น วิริยะ (ความเพียร) เป็นอธิปดีเพราะเหตุว่า ไม่ใช่ทำด้วยความพอใจ แต่อาจจะเห็นว่าประโยชน์หรือว่าถูกชักชวน จึงกระทำกุศลกรรมนั้นๆ หรือว่าท่านสามารถที่จะช่วยเหลือในกิจการกุศลนั้นได้ แม้ว่าท่านจะไม่มีฉันทะในการกุศลนั้นจริง แต่ก็เพราะวิริยะ (ความเพียร) จึงทำให้สงเคราะห์ช่วยเหลือในการกุศลนั้น จนกระทั่งการกุศลนั้น สำเร็จได้ และทางฝ่ายอกุศลก็เช่นเดียวกัน บางขณะก็ไม่ใช่เพราะฉันทะ แต่ว่าเป็นเพราะวิริยะก็ได้ อย่างเช่น บางท่านที่ไม่ชอบทำอาหาร แต่เมื่อเป็นไปในการกุศล ท่านก็ช่วยเหลือได้ ในขณะนั้น ฉันทะ ไม่ได้เป็นอธิปดี แต่วิริยะ เป็นอธิปดี
สำหรับอกุศลจิตวิมังสา คือ ปัญญา ไม่เป็นอธิปดีเพราะเหตุว่า ปัญญาจะเกิดกับโสภณจิตเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา คือ กุศลจิตญาณสัมปยุตต์เท่านั้น หมายถึงขณะที่วิมังสา คือปัญญา เป็นอธิปดี ขณะที่มีความเห็นผิด หรือ ปฏิบัติผิด ขณะนั้น ให้ทราบว่า ต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัย เช่นเดียวกับในขณะที่เกิดปัญญา ความเห็นถูก ในขณะนั้นก็ให้ทราบว่า ต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัย ในขณะที่เป็นฌาณจิต ในขณะนั้นให้ทราบว่า ต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัย ในขณะที่เป็นโลกุตตรจิตให้ทราบว่า ต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัยเพราะเหตุว่า ฌาณจิตทั้งหมด และโลกุตตรจิตทั้งหมด เป็นจิตที่มีกำลังถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เป็นอธิปติปัจจัย ฌานจิตและโลกุตตรจิต ก็เกิดไม่ได้ แต่สำหรับมหากุศลจิต กามาวจรกุศลจิต หรือ อกุศลจิตนั้นบางครั้งก็ไม่มีอธิปติปัจจัยเกิดร่วมด้วยเลยแต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกครั้งที่เป็นโลภมูลจิต โทสมูลจิต หรือ กุศลจิตจะต้องมีอธิปติปัจจัยเกิดร่วมด้วยเสมอไป โดยนัยของสหชาตาธิปติปัจจัยสำหรับกุศลจิต และ อกุศลจิต ซึ่งมีสหชาตธิปติปัจจัยเกิดร่วมด้วยยังมีข้อสงสัยอะไรมั้ยคะ
เรื่องกุศลจิต และอกุศลจิตนี้ รู้สึกว่าลักษณะไม่ค่อยจะปรากฏเลย บางครั้งก็จะต้องอาศัยเดาเอาถ้าไม่เดา ก็ไม่รู้เรื่องอีกเหมือนกันตามที่เราศึกษามา ก็บอกว่าขณะที่ฟังพระธรรม หรือศึกษาพระธรรมแล้วเข้าใจขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา แต่ทีนี้บางครั้ง เรากำลังศึกษาพระธรรมเช่น กำลังอ่านพระไตรปิฎก แล้วก็เข้าใจเนื้อความในพระไตรปิฎก แต่ว่าสติปัฏฐานไม่เกิด ก็คิดว่าขณะนั้นเป็นกุศล แล้วบางทีเรากำลังอ่านหนังสืออื่น เช่น อ่านหนังสือพวกจิตวิทยาเราก็ต้องใช้ความพยายามอ่าน ถึงจะเข้าใจ ในขณะที่เข้าใจหนังสือประเภทอื่น เช่น หนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยากับการอ่านพระไตรปิฎก แล้วก็เข้าใจเนื้อความในพระไตรปิฎก ก็ต้องอาศัยเดาเท่านั้นล่ะครับ ว่าขณะที่อ่านพระไตรปิฎกแล้วเข้าใจเนื้อความ ขณะนั้นเป็น กุศล ถ้าอ่านหนังสือประเภทอื่นแล้วเข้าใจเนื้อความในนั้น ขณะนั้นก็เป็น อกุศลโดยขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด เป็นอย่างนี้ทุกทีหรือเปล่าครับ
ขณะที่มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นขั้นสติปัฏฐานทุกครั้งค่ะ เช่น ในขณะที่กำลังฟังพระธรรมแล้วเข้าใจเรื่องราวของพระธรรม ที่ได้ยินได้ฟังขณะนั้นเป็น "มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์" ที่กำลังเข้าใจซึ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา
ข้อความบางตอนจากเทปชุด ปัฏฐาน (ปัจจัย ๒๔) ตอนที่ ๖
โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ขออนุโมทนา