อุเบกขาเจตสิก กับเมตตาหรือกรุณาเจตสิก
ควรทราบว่า คำว่า อุเบกขา ในพระไตรปิฎกมีหลายนัย บางนัยหมายถึงเวทนาบางนัยหมายถึงตัตตรมัชฌัตตตา และหมายถึง ปัญญา วิริยะ ก็มี ถ้าเป็นเวทนาเกิดกับจิตทุกประเภท ถ้าเป็นธรรมประเภทอื่นย่อมเกิดกับจิตตามสมควร แม้ในขณะที่เมตตาหรือกรุณาเกิดขึ้น ก็มีอุเบกขาร่วมได้ แต่ถ้าเป็นขั้นฌานที่เป็นที่ห้าปัญจมฌาน ขณะที่อุเบกขาพรหมวิหารเกิดขึ้น ขณะนั้นไม่มี เมตตา และกรุณา พรหมวิหารเกิดขึ้น
ขอเชิญคลิกอ่าน
อุเบกขา ๑๐ อย่าง
อุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ ฉฬังคูเบกขา (อุเบกขาของพระขีณาสพคือตัตรมัชฌัตตตา) พรหมวิหารูเบกขา (อุเบกขาในพรหมวิหารคือตัตรมัชฌัตตตา) โพชฌังคูเบกขา (อุเบกขาในสัมโพชฌงค์คือตัตรมัชฌัตตตา) วิริยูเบกขา (อุเบกขาคือความเพียร) สังขารูเบกขา (อุเบกขาในฌานและวิปัสสนาคือปัญญา) เวทนูเบกขา (อุเบกขาเวทนา) วิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนาคือปัญญา) ตัตรมัชฌัตตูเบกขา (ตัตรมัชฌัตตเจตสิก) ฌานูเบกขา (อุเบกขาในฌานคือตัตรมัชฌัตตตา) ปาริสุทธิอุเบกขา (อุเบกขาทำสติให้บริสุทธิ์คือตัตรมัชฌัตตตา)
แต่ละอย่างต่างกันอย่างไรครับ