ปฐม - ทุติย - ตติย - จตุตถสมิทธิสูตร - o๑ ก.ค. ๒๕๔๙

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 มิ.ย. 2549
หมายเลข  1457
อ่าน  1,490

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๙

เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

ปฐมสมิทธิสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่ามาร

ทุติยสมิทธิสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าสัตว์

ตติยสมิทธิสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าทุกข์

จตุตถสมิทธิสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลก

จาก.. [เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

นำการสนทนาโดย..

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

ขอเชิญท่านอ่านพระสูตรนี้ได้ในกรอบต่อไปนะครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มิ.ย. 2549

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

๓. ปฐมสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่ามาร

[๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้ แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่า มารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่า มารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น

[๗๒] ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใดมารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น

จบ ปฐมสมิทธิสูตรที่ ๓

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มิ.ย. 2549

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

๔. ทุติยสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าสัตว์

[๗๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นสัตว์ หรือ บัญญัติว่าสัตว์ ฯลฯ

จบ ทุติยสมิทธิสูตรที่ ๔

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มิ.ย. 2549

พ[เล่มที่ 28] ระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

๕. ตติยสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าทุกข์

[ ๗๔ ] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จะพึงเป็นทุกข์ หรือ บัญญัติว่าทุกข์ ฯลฯ

จบ ตติยสมิทธิสูตรที่ ๕

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มิ.ย. 2549

อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๓ - ๕

ใน สมิทธิมารปัญจสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมิทฺธิ ความว่า ได้ชื่ออย่างนี้เพราะมีอัตตภาพบริบูรณ์ เล่ากันว่า พระเถระนั้นมีอัตตภาพงามน่าเลื่อมใส บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เหมือนพวงมาลาที่แขวนไว้ เหมือนห้องมาลาที่ตกแต่งไว้ ฉะนั้นจึงนับว่า สมิทธิ นั่นแล.

ด้วยบทว่า มาโร ท่านสมิทธิถามถึงความตาย คำว่า มาร ในคำว่า มารปญฺตฺติ เป็นนามบัญญัติ เป็นนามไธย. ในบทว่า อตฺถิ ตตฺถ มเร วา มารปญฺตฺติ วา นั้น

บทว่า มรณ วา มรณ นี้ท่านแสดงว่า นามมีอยู่.

สูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้น.

สูตรที่ ๕ ก็เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๓ - ๕

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มิ.ย. 2549

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

๖. จตุตถสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลก

[๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วย เหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นโลก หรือบัญญัติว่าโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่พึงจะรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใดโลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือ การบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น

[๗๖] ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้ แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็ไม่มี ณ ที่นั้น.

จบ จตุตถสมิทธิสูตรที่ ๖

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มิ.ย. 2549

อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๖

ในสมิทธิสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า โลโก ความว่า ที่ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า แตกทำลาย.

ในสูตรทั้ง ๕ ตั้งแต่สูตรที่พระมิคชาลเถระอาราธนา ตรัสเฉพาะวัฏฏะและวิวัฏฏะเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้

จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๖

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prakaimuk.k
วันที่ 29 มิ.ย. 2549

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
devout
วันที่ 2 ก.ค. 2549

เนื่องจากไม่ได้ไปฟังการบรรยายที่มูลนิธิ จึงอยากเรียนถามว่า ท่านอาจารย์ได้ให้ ข้อสรุปเกี่ยวกับพระสูตรนี้อย่างไรคะ แล้วสิ่งที่เรียกว่า มาร สัตว์ ทุกข์ โลก จะ มีได้ก็เพราะขันธ์ ธาตุ อายตนะเท่านั้นใช่มั้ยคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
study
วันที่ 3 ก.ค. 2549

ถูกครับ เพราะมีตา รูป จักษุวิญญาณ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯลฯ หรือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ หรือจิต เจตสิก รูป จึงบัญญัติว่า มาร สัตว์ ทุกข์ โลก

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 17 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ