การอนุโมทนาได้บุญ 10 เปอร์เซ็น
ยังไม่พบข้อความในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแสดงว่า การอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นกระทำ ว่าจะได้กี่เปอร์เซ็น แต่ทรงแสดงว่า เมื่ออนุโมทนาเป็นกุศลจิต คือบุญของผู้อื่น เป็นบุญญกิริยาวัตถุ ประเภทหนึ่ง แต่ถ้าว่าโดยรายละเอียด ผู้ที่ทำบุญในแต่ละครั้ง ย่อมกระทำการขวนขวายหลายอย่างเพื่อให้บุญนั้นสำเร็จ มีชวนะกุศลจิตเกิด เป็นจำนวนมาก ส่วนผู้อนุโมทนา กุศลเกิดไม่มากเท่ากับผู้กระทำบุญเองครับ..
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
บุญคือ สภาพจิตที่ดีงาม เป้นเหตุนำมาซึ่งผลได้ นั่นคือวิบากที่เป็นผลของกรรม หรือที่เรียกว่าอานิสงส์ของบุญ บุญจะมีผลมากหรือผลน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการตัวผู้อนุโมทนาเองเป็นปัจจัยหนึ่ง สภาพจิตขณะที่อนุโมทนาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บุญจะมีผลมากหรือผลน้อย หากผู้มีปัญญาอนุโมทนาและเกิดด้วยจิตที่ผ่องใส มีความเห้นถูก ก็มีอานิสงส์มาก เช่นกัน ซึ่งไม่ว่ากุศลประเภทใดก็ตาม จะมีผลมาก ผลน้อย ก็สำคัญที่สภาพจิตเป็นสำคัญ เช่น การแสดงธรรม หากแสดงเพื่อต้องการให้เป็นที่รักเพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญ อานิสงส์ ผลบุญก็น้อย แต่ถ้าแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลกับผู้ฟัง การแสดงธรรมนั้นก็มีผลมาก แม้การอนุโมทนาและกุศลอื่นๆ ก็โดยนัยเดียวกันครับ จึงไม่ใช่ว่าถ้าเป็นการอนุโมทนาแล้วจะได้บุญ 10 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ หลายประการตามที่กล่าวมาคือ ตัวผู้อนุโมทนา สภาพจิตและความเห็นตรงที่เป็นปัญญาในขณะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 389
บุญกิริยาวัตถุ คือ การพลอยอนุโมทนา (บุญ) ก็อย่างนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งการอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้แล้ว หรือบุญที่ผู้อื่นทำแล้วทั้งสิ้นว่า สาธุ (ดีแล้ว) . ข้อที่ภิกษุไม่ปรารถนาความช่ำชองในธรรมเพื่อตนแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ด้วยอัธยาศัยที่เต็มไปด้วยความเกื้อกูล นี้ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการแสดงธรรม. แต่ว่าการที่ภิกษุรูปหนึ่งตั้งความปรารถนาไว้ว่า ชนทั้งหลายจักรู้ว่า เราเป็นธรรมกถึกด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วอาศัยลาภสักการะและการยกย่องจึงแสดงธรรม ไม่มีผลมากเลย
.... ด้วยว่า เมื่อทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง บุญนั้นก็จะมีผลมาก เพราะเหตุที่ทิฏฐิทั้งหลายตรงนั่นเอง
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์