อินเดีย ... อีกแล้ว 27 ปัฏนะ

 
kanchana.c
วันที่  17 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14750
อ่าน  3,212

ปัฏนะ

เมื่อชมมหาวิทยาลัยนาลันทาจนทั่วแล้ว ก็ไปกราบนมัสการหลวงพ่อองค์ดำที่อยู่ นอกบริเวณมหาวิทยาลัย ห่างไปประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวที่ไม่ ถูกทำลาย จึงนับถือกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ออกจากมหาวิทยาลัยนาลันทาประมาณบ่ายสองโมง เพื่อไปปัฏนะ เมืองหลวงของรัฐ พิหาร ซึ่งห่างออกไป ๙๐ กิโลเมตร คาดว่าจะใช้เวลา ๖ ชั่วโมง ซึ่งก็จะถึงเมืองปัฏนะ รับประทานอาหารเย็นที่โรงแรม Chanakya ประมาณสองทุ่ม พวกเราจึงเตรียมตัวพัก ผ่อนในรถ นั่งชมข้างทางที่เป็นทุ่งนาในยามเย็น ซึ่งดูสวยสงบดี

ปัฏนะ เดิมชื่อ ปาฏลีบุตร เป็นเมืองหลวงถาวรของแคว้นมคธมาแต่ครั้งพระเจ้ากาลา โศก โอรสของพระเจ้าสุสุนาค ที่ได้ทรงอุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๑๐๐) โดย ปรารภเรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมวินัย ใช้เวลาสังคายนา ๘ เดือน แต่ภิกษุวัชชีบุตรก็แยกตัวออกไปตั้งนิกายมหายาน (ข้อมูลจาก กาลานุกรม) เมืองปาฏลีบุตรเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๔) เมื่อทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างสูงสุด เน้น การสร้างสาธารณูปโภค บำรุงความสุขและศีลธรรมของประชาชน อุปถัมภ์บำรุงพระ สงฆ์ทรงสร้างวิหารถึง ๘๔,๐๐๐ แห่งเพื่อเป็นศูนย์กลาง และ ทำศิลาจารึกสื่อสารเสริม ศีลธรรมแก่ประชาชน ประการหลักการแห่งเสรีภาพแบบสมัครสมานทางศาสนา ตลอด จนอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๕) ที่ปรารภการที่มีเดียรถีย์มากมายปลอม เข้ามาบวชเพราะต้องการลาภสักการะ ในการสังคายครั้งนั้นมีพระอรหันต์จำนวน ๑,๐๐๐ รูป ใช้เวลา ๙ เดือน และส่งพระสมณทูต ๙ สายไปประกาศพระศาสนาในแดน ไกล เช่นที่เกาะลังกา รวมทั้งสุวรรณภูมิ (ประเทศไทย) ด้วย

ประวัติของพระเจ้าอโศกแสดงไว้ในอรรถกถาอย่างละเอียด แต่ที่เราชอบมาก คือ อดีตชาติของท่านเป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง วันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้ามาในเมืองเพื่อ บิณฑบาตน้ำผึ้ง ท่านก็ถวายไปจนเต็มบาตร พร้อมกับตั้งอธิษฐานขอให้เป็นใหญ่ใน แผ่นดิน เมื่อน้องชาย ๒ คนของท่านกลับมา ท่านเล่าให้น้องฟัง น้องชายคนหนึ่งกล่าว อนุโมทนาและอธิษฐาน ให้มีส่วนแห่งธรรมของพระองค์ด้วย ส่วนอีกคนหนึ่งบอกว่า น่า จะเป็นจัณฑาลที่ปลอมตัวมาบิณฑบาต แต่ในที่สุดก็อนุโมทนาและขอให้มีส่วนแห่ง ธรรมเช่นกัน

ต่อมาพี่ชายคนโตก็ได้เป็นพระเจ้าอโศก และ น้องชายคนที่อนุโมทนาทันทีก็ได้เป็น น้องชายร่วมมารดา คือท่านติสสะ เมื่อบวชแล้วก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ในเวลาต่อมา ส่วนน้องอีกคนนั้น เมื่อท่านอยู่ในท้องของมารดา พระเจ้าอโศกได้ฆ่าพี่น้องร่วมบิดาทั้ง หมด มารดาของท่านจึงพาท่านหนีไปอยู่หมู่บ้านคนจัณฑาล และถูกเลี้ยงดูจากคน จัณฑาล เมื่อท่านอายุ ๗ ขวบ ได้บวชเป็นสามเณร คือ นิโครธสามเณร ท่านบรรลุเป็น พระอรหันต์ทันทีที่บวช และ ได้มาโปรดพระเจ้าอโศก ให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่ออ่านประวัติของท่านแล้ว ก็นึกเองว่า ท่านปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ คือ ปรารถนาความเป็นใหญ่กว่าใครๆ ในแผ่นดิน แต่อย่างไรก็ตามท่านก็เป็นผู้ทำคุณ ประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากมาย ทำให้ศาสนาสืบต่อมาจนถึงพวกเรา มีสังเวชนีย สถานให้ได้กราบไหว้ มีพระธรรมคำสอนแพร่หลายมาจนถึงแดนไกลอย่างสุวรรณภูมิ ก็ ต้องกราบอนุโมทนาในกุศลที่ท่านได้ทำไว้อย่างมากมาย และระลึกถึงคุณของท่านอย่าง ยิ่ง

เมื่อได้อ่านเรื่องราวของเมืองปัฏนะในปัจจุบัน รู้ว่าตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคาที่กว้างที่สุด ถึง ๕ กิโลเมตร และ มีสะพานข้ามยาวที่สุดในอินเดีย ซึ่งยาวถึง ๑๕ กิโลเมตร มีสถาน ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนามากมาย เช่น วัดอโศการาม ที่เป็นสถานที่ทำสังคายนา ครั้งที่ ๓ และอื่นๆ แต่เพราะมีเวลาอยู่ปัฏนะไม่กี่ชั่วโมง จึงไม่มีโอกาสได้เห็นอะไร นอก จากโรงแรม และถนนหน้าโรงแรมเท่านั้น เพราะเมื่อคืนนี้กว่าจะถึงโรงแรมก็เกือบ ๕ ทุ่ม (จากที่คาดว่า ๒ ทุ่ม) เนื่องจากมีรถบรรทุกจอดริมถนน กลางถนน แน่นขนัดเป็นพันๆ คัน กว่าจะแล่นแทรกเข้ามาถึงในเมืองได้ ระยะทาง ๑๐ กว่ากิโล ก็ใช้เวลาเกือบ ๔ ชั่วโมง พวกเราหลายคนมีปัญหาเรื่องเข้าห้องน้ำ คอยลุ้นว่าเมื่อไรจะถึง ไม่มีใครรู้ว่า ข้างหน้ามีอะไรเกิดขึ้น ในที่สุดทนไม่ไหว ก็ต้องใช้สุขาสาธารณะของอินเดีย คือ ริม ถนนหลวงที่เต็มไปด้วยแสงไฟจากรถทุกชนิด ก็ทนไม่ได้จริงๆ นี่นะ แต่ก็คงไม่แปลก อะไรสำหรับอินเดีย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วิริยะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
panasda
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jans
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Jans
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 20 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 23 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
กระจ่าง
วันที่ 15 ต.ค. 2553
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ