พูดถูก กาล [อรรกกถากุสินาราสูตร]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 147
ข้อความบางตอนจาก อรรถกถากุสินาราสูตร ในบทว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุให้ภิกษุอื่นกระทำโอกาสๆ หนึ่งแล้วโจท ชื่อว่า กล่าวโดยกาล. โจท กลางสงฆ์กลางคณะ ที่โรงสลาก โรงยาคู โรงภัต โรงตรึก หนทางภิกษาจารและศาลฉัน ที่ศาลเฝ้า [บำรุง] หรือในคณะพวกอุปัฏฐากปวารณา ชื่อว่ากล่าวโดยมิใช่กาล กล่าวด้วยเรื่องที่แท้จริง ชื่อว่ากล่าวด้วยเรื่องจริง กล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ ตาแก่ พ่อทำลายบริษัท พ่อถือบังสุกุล พ่อนักเทศก์ นี้สมควรแก่พ่อหรือ ชื่อว่า กล่าวด้วยคำหยาบ กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านผู้เฒ่า ท่านผู้อนุเคราะห์บริษัท ท่านผู้ทรงผ้าบังสุกุล ท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่านหรือชื่อว่า กล่าวด้วยคำไพเราะ. กล่าวอาศัยเหตุ ชื่อว่า กล่าวด้วยคำอิงประโยชน์.
บทว่า เมตฺตจิตฺโตวกฺขามิ โน โทสนฺตโร ความว่า เราจะตั้งเมตตาจิตกล่าวไม่มีประทุษจิตกล่าว.