การศึกษาเพื่อให้เข้าใจปรมัตถธรรม

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  1 ก.ค. 2549
หมายเลข  1476
อ่าน  1,526

จิตมีกิจและเกิดจากปัจจัยต่างกัน การศึกษาเพื่อให้เข้าใจปรมัตถธรรมนั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุผล จึงจะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง เช่น จะต้องรู้ว่าสภาพที่เห็น กับสภาพ ที่ได้ยิน นั้นเหมือนกันหรือไม่ ถ้าเหมือนกัน เหมือนกันอย่างไร ถ้าไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prapas.p
วันที่ 2 ก.ค. 2549

หากไม่ได้ยินเรื่องของปรมัตถธรรม ก็ไม่รู้ว่า จิตมีกิจ และเกิดจากปัจจัยที่ต่างกัน ก็คิดว่าสภาพที่เห็น ไม่ต่างจากสภาพที่ได้ยิน เพราะเคยชินว่า เราเห็น เราได้ยิน เป็นแน่ และเข้าใจผิด โดยรวมเอาสภาพทั้งสองว่า เห็นกับได้ยินเหมือนกัน เพราะไม่รู้ว่าปัจจัยให้เกิดเห็น ต่างจากปัจจัยให้ได้ยิน เคยรู้ว่าตัวเรามีตา ตาเป็นตัวเรา แต่ เราเป็นผู้เห็น และรู้ว่าตัวเรามีหู หูเป็นตัวเรา แต่เราเป็นผู้ได้ยิน ปุถุชนผู้มิได้สดับ พระธรรม ก็เป็นเช่นนี้แน่นอน แต่หากการศึกษาถูกต้องก็เพื่อให้เข้าใจปรมัตถธรรม ก็ไม่ยึดผิด ถือผิดจากสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไปรวมกันว่าเป็นเรา ตัวตน สัตว์ บุคคล เมื่อศึกษาถูกจุดประสงค์ เพื่อละความไม่รู้ในธรรมะ ว่าเป็นตัวตน ก็จะเป็นปฏิปักษ์ กับการปฏิบัติผิด (สีลัพพตะ) เพราะฟังจนเข้าใจว่า มีแต่เพียงธรรม (ปรมัตถธรรม) ไม่มีตัวเรา แล้วก็จะไม่ไปเอาสมาธิ มาเป็นของเรา ไม่บังคับบัญชา ให้ธรรมะต่างๆ เป็นไปตามอำนาจตน ไม่ให้ปัญญาเกิดเอง แต่เพราะสภาพแต่ละอย่าง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แต่อาศัยเหตุปัจจัย จากการฟังธรรมที่สมควรแก่ธรรม ความเห็นถูกในขั้นการฟัง ก็เกิดเจริญได้ ก็เป็นสภาพของ จิต และเจตสิกปรุงแต่ง ไม่ใช่เรานั้นเอง จนสติปัฏฐานก็สามารถเกิดขึ้น เพื่ออบรมความรู้สภาพธรรม แต่ละอย่าง ตามความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง เป็นเหตุปัจจัยให้สติเจริญ (ไม่มีเราตัวตน ที่เจริญ) แต่สติเจริญ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pinyada
วันที่ 17 ส.ค. 2549

เข้าใจขึ้นแล้ว ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 12 มิ.ย. 2551

การศึกษาเพื่อให้เข้าใจปรมัตถธรรมนั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุผล จึงจะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 2 ต.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ