อินเดีย ... อีกแล้ว 28 เวสาลี

 
kanchana.c
วันที่  17 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14761
อ่าน  3,663

เวสาลี

ออกจากโรงแรมชั้นดีที่มีเวลาพักไม่กี่ชั่วโมงในตอนเช้า เพื่อเดินทางไกลไปถึง กุสินารา แต่ได้ไปแวะที่เวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชีในอดีตก่อน แคว้นวัชชีมีชื่อ เสียงมาแต่ครั้งพุทธกาล มีเจ้าลิจฉวีเป็นประธานคณะผู้ปกครองในระบอบสามัคคีธรรม ที่เข้มแข็ง แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้ต่อเล่ห์อุบายของวัสสการพราหมณ์ที่ยุยงให้แตกสามัคคี กัน

ข้อความจากหนังสือ “หนังสือภาพ ตามรอยบาทพระศาสดา” โดยพระมหาสมปอง มุทิโตเล่าว่า

พระพุทธเจ้าทรงเสด็จกรุงเวสาลีครั้งแรก หลังจากออกพรรษาที่ ๒ เพราะกรุงเวสาลี เกิดภัยพิบัติ ๓ อย่างพร้อมกัน คือ ทุพภิกขภัย อมนุสสภัย และพยาธิภัย พวกเจ้าลิจฉวี จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้เสด็จมา พระองค์เสด็จผ่านปาฏลิคาม แล้วลงแพข้ามแม่ น้ำคงคาที่ท่าโคตมติตถะ เมื่อถึงกรุงเวสาลี ทรงให้ท่านพระอานนท์สาธยายรัตนสูตร พร้อมกับประพรมน้ำพุทธมนต์โดยรอบพระนครตลอด ๗ วัน และพระพุทธเจ้าก็ตรัส รัตนสูตรที่สัณฐาคารกลางกรุงเวสาลี ทำให้มีผู้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลมากมาย คิดว่า สืบต่อเป็นประเพณีประพรมน้ำพุทธมนต์จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับจำพรรษาที่ ๕ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเขต กรุงเวสาลี ระหว่างนั้นพระนางปชาบดีโคตมี ชวนนางสากิยานี ๕๐๐ ปลงเกศา ครอง ผ้ากาสาวพัสตร์ถือเพศเป็นนักบวช มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลขอบรรพชา พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุณีได้ ตามคำอ้อนวอนของท่านพระอานนท์ โดยต้องปฏิบัติ ตามครุธรรม ๘ ประการ ซึ่งมีข้อความสำคัญว่า ต้องให้ภิกษุสงฆ์เป็นใหญ่กว่า ต่อมา พระนางยโสธรา พระนางรูปนันทา นางอัมพปาลี คณิกาผู้ถวายสวนมะม่วง ให้เป็น สังฆารามในพระพุทธศาสนา ก็ออกบวชในสำนักพระมหาปชาบดีเถรีเช่นกัน

มีเรื่องราวเกิดขึ้นที่กรุงเวสาลีปรากฏในพระไตรปิฎกมากมาย เช่น เจ้ามหาลิสงสัยว่า ท้าวสักกะมีจริงหรือไม่ จึงเข้าเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงข้อปฏิบัติที่ทำให้ เป็นท้าวสักกะว่า “เป็นผู้เลี้ยงมารดาบิดา นอบน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล พูดจาอ่อนหวาน เว้นคำส่อเสียด ไม่ตระหนี่ กล่าวคำสัตย์ และข่มความโกรธได้”

ในพรรษาที่ ๔๕ ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระผู้มีพระภาค ได้เสด็จมาที่หมู่บ้านเวฬุวคาม ตอนบ่ายวันหนึ่ง ทรงชวนท่านพระอานนท์เสด็จไปยัง ปาวาลเจดีย์ ทรงเปล่งนิมิตโอภาสถึง ๓ ครั้ง แต่ท่านพระอานนท์ไม่เข้าใจ จึงทรงปลง อายุสังขารว่า “นับแต่นี้ไปอีก ๓ เดือน เราตถาคตจะปรินิพพาน”

พวกเราได้กราบนมัสการปาวาลเจดีย์ ที่เหลือเพียงซากฐานของสถูปที่เป็นที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับส่วนแบ่งจากกรุงกุสินารา และที่ตรงนี้มองเห็น เจดีย์สีขาวสูงใหญ่ไกลๆ ทราบจากหนังสือภาพว่า เป็นสระโบกขรณีมงคลที่ใช้ในราช พิธีมุรธาภิเษกของกษัตริย์ลิจฉวี

กูฎาคารศาลา ป่ามหาวันนั้น มีภูมิทัศน์สวยงาม เห็นสนามหญ้าเขียวขจีรอบๆ บริเวณที่ จัดแต่งไว้สวยงามเป็นระเบียบ เมื่อเดินไปถึงกูฏาคารศาลา จะเห็นเสาศิลาจารึกพระ เจ้าอโศกที่สมบูรณ์และสวยงามมาก

ได้ชมด้วยตาเท่านี้ เพราะเวลาจำกัด ดูจากหนังสือภาพแล้ว ยังมีพระราชวังเก่าของ เจ้าลิจฉวี เกสริยาสถูป ซึ่งสันนิษฐานวา เป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านก่อน ปรินิพพาน และวัดวาลุการาม สถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๒ หลังจากพระ พุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ๑๐๐ ปี

ก็อดมีความหวังว่าจะได้เห็นด้วยตาสักครั้งไม่ได้เช่นเคย แล้วรู้ตัวหรือไม่ว่า ความหวัง คือ โลภะ ซึ่งเป็นอกุศล ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำให้เจริญขึ้น แต่ควรละให้เหลือน้อยที่สุด แต่ ทำอย่างไรได้ เมื่อปัญญายังน้อย ไม่รู้แม้ว่าขณะนี้ก็เป็นโลภะอีกแล้ว รู้จักแต่เพียงชื่อ เท่านั้น ยังไม่รู้ลักษณะแม้แต่ครั้งเดียว


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วิริยะ
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
panasda
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jans
วันที่ 18 ธ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
กระจ่าง
วันที่ 15 ต.ค. 2553
กราบอนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ