ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด [อปัณณกสูตร]

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  19 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14805
อ่าน  9,051

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 46

๖. อปัณณกสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด

[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติไม่ผิด) และเหตุ แห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นอันภิกษุนั้นได้เริ่มแล้วด้วย ธรรม ๓ ประการ คืออะไรบ้าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแท้ในอินทรีย์ ทั้งหลาย เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ เป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่ เห็นแก่นอ

๑. ก็ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเป็น อย่างไร?

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว . .ฟังเสียงด้วย หูแล้วดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายแล้ว..รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาโดย นิมิต *

ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ อภิชฌา โทมนัส ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป เป็นอกุศล จะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจอยู่ เพราะเหตุความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ อันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ นั้น รักษาอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย

( * ถือโดยนิมิต ได้แก่รวบถือเอาทั้งหมดในรูปที่ได้เห็น ฯลฯ ว่างาม ท่านเปรียบด้วยกิริยาที่จระเข้ฮุบเหยื่อ ถือโดยพยัญชนะได้แก่เลือกถือ เอาเป็นอย่างๆ ในรูป ฯลฯ นั้นว่าคิ้วงาม นัยน์ตางามจมูกงาม เป็นต้น ท่านเปรียบด้วยกิริยาที่เป็ดไซ้หาเหยื่อ)

๒. ก็ภิกษุเป็นผู้รู้จักบ่ระมาณในโภชนะอย่างไร

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงกลืน กินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อบ่ระเทืองผิว เพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อยังชีวิตให้เป็นไป เพื่อหายความ หิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์๑ ด้วยคิดว่าด้วยการกินอาหารนี้ เราจัก ระงับเวทนาเก่า ๒ เสียได้ด้วย เราจักไม่ยัง เวทนาใหม่๓ ให้เกิดขึ้นด้วย ความสมประกอบ ความไม่มีโทษและความอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา อย่างนี้ แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

๓. ก็ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอนอย่างไร

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เวลากลางวัน ชำระจิตจากอาวรณิย ธรรม ๔ ด้วยการ จงกรม ๕ ด้วยการนั่ง เวลากลางคืน ตอนยามต้น ก็ ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตอนยามกลางคืน สำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวาซ้อนเท้าให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา ไว้ในใจ ตอนยามปลาย กลับลุกขึ้นชำระจิตจาก อาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อ ว่าเป็นผู้ปฏิบัติ อปัณณกปฏิปทา และเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นได้เริ่มแล้วด้วย.

จบอปัณณกสูตรที่ ๖


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ