วิธีฝึกละความโกรธขั้นพื้นฐาน
ดิฉันมักพบกับความโกรธและอยู่ใกล้เหตุปัจจัยให้โกรธเสมอ และบ่อยๆ นอกจาก การระลึกรู้ความรู้สึกที่โกรธนั้นแล้ว ฝึกให้อภัยแล้ว ฝึก..นิ่ง.เฮ้อ..ก็ยังไม่ละลดได้บ้าง- เลย แต่มานั่งพิมพ์หาตัวสะกดนี่ หายไปตั้งเยอะค่ะ
ขอบคุณ บ้านธัมมะค่ะ
ธรรมะที่ทางมูลนิธิแสดง เป็นประโยชน์มากเพราะเมื่อพิจารณาจนเข้าใจ ปัญญา ก็จะสามารถเกิดในขณะสติระลึกในอารมณ์ที่ไตร่ตรองธรรมที่ทำให้สงบ จนข่มกิเลส เกิดความสงบกิเลสได้ชั่วขณะ แล้วแต่ปัญญาที่อบรม ประโยชน์จากการฟังสนทนา ย่อมดีกว่าการคิดว่า ทำอย่างอื่นก็ทำให้สงบจากกิเลส เช่นในพิมพ์การหาตัวสะกด
ทำให้โทสะไม่มี แต่โลภะก็เกิดแทนได้ เป็นการที่จิต เปลี่ยนแปลงตามการสะสม ชั่วขณะเพราะเป็น อนัตตา เมื่อพิจารณาก็จะเห็นถึงสภาพธรรมแต่ละอย่าง มีคุณ มี
โทษต่างกัน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน โทสะยังไม่ได้ดับเป็นสมุทเฉท ก็เป็นธรรมดา ที่ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดอีก จนกว่าสติปัฏฐานจะเกิด จนรู้สภาพธรรมตามความเป็น จริง ดับกิเลส ตามลำดับขั้น จนหมดไม่กลับมาอีก
การศึกษาเหตุใด ให้เกิดธรรมใด เป็นสิ่งสำคัญ
กุศลธรรม สติสังวร ย่อมกั้นกระแสของอกุศล
อกุศลธรรม อสังวร ย่อมกั้นกระแสของกุศล
เราจะละความโกรธได้เป็นสมุจเฉท ต่อเมื่อบรรลุเป็นพระอนาคามี ค่ะ แค่โกรธก็เป็นอกุศลจิตที่ทำร้ายตัวเองแล้ว แต่อย่าให้ถึงกับเกลียดชังหรือคิดทำร้ายเขา เพราะนั่นเป็นอกุศลที่ลึกกว่า มีโทษมาก แต่การให้ช่วยให้คนที่เขาไม่ชอบเรา จิตใจของผู้รับจะอ่อนลง ผู้ให้ก็ชนะใจตัวเอง มีความสุข จิตใจของผู้ให้ ก็ไม่กระด้างค่ะ คนที่ ขี้โกรธ ให้พิจารณาบ่อยๆ ว่า ไม่นานเราก็ตายจากกันแล้ว ควรทำความดี มีเมตตาต่อกัน ที่สำคัญคือการให้อภัยค่ะ ขอแนะนำให้ฟังชุดบารมีในชีวิตประจำวัน บรรยายโดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวน-เขตต์ ชุดนี้ฟังดีมากเลยค่ะ
นานแสนนานที่ได้เข้ามาอ่านอีกครั้ง ความรู้สึกในการรับรู้ ช่างแตกต่างกัน วันนี้รู้สึกขอบคุณความคิดเห็นของคุณwannee.s ให้รู้สึกขอบคุณ ขออนุโมทนาจากใจค่ะ
ประโยคที่ว่า " ไม่หลงทำกาลกิริยา " หมายความว่าอย่างไรคะ
ไม่หลงทำกาลกิริยา หมายความว่าก่อนตายกุศลจิตเกิด
เพราะว่าเคยสะสมการให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม
จากความเห็นที่ ๑๐
ผู้หลงทำกาละ คือ หลงตาย หมายถึง เวลาใกล้ตายไม่สามารถยึดถือความดี
เป็นที่พึ่งได้ ตายอย่างไม่สงบ มีนิมิตที่ไม่ดีมาปรากฏ ดังตัวอย่างในอรรถกถา
ที่ยกมา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 465
บทว่า สมฺมูฬโห กาลํ กโรติ ความว่า ก็การยึดถือทุศีลกรรมประพฤติแล้ว ย่อมปรากฏแก่เธอผู้นอนบนเตียงมรณะ เธอลืมตาขึ้นเห็นโลกนี้หลับตาก็เห็นโลกหน้า อบาย ๔ ย่อมปรากฏแก่เธอ เธอเป็นดุจถูกหอก ๑๐๐เล่ม ประหารที่ศีรษะ เขาส่งเสียงร้องมาว่า ท่านทั้งหลายช่วยห้ามทีท่านทั้งหลายช่วยห้ามที ก็ตาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สมฺมูฬฺโห กาล กโรติ. จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ 553 บทว่า อสมฺมูฬฺโห กาลํ กโรติ ความว่า ชื่อว่า ความหลงตายของผู้อยู่ด้วยเมตตาไม่มี. ย่อมไม่หลงทำกาละ เหมือนกับก้าวลงสู่ความหลับ.
ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะ สงสัยมานานแล้ว เพราะเมื่อก่อนสวดมนต์บทนี้
บ่อยๆ แต่ไม่รู้จะถามใครดี ยังมีอีกหลายคำที่อ่านเจอในหนังสือแล้วไม่เข้าใจ คราว
หน้า ถ้ามีโอกาสจะเข้ามารบกวน ขอความรู้อีกนะคะ ขอบคุณค่ะ
จากการได้ฟังธรรมที่โหลดไป ทำให้เข้าใจขึ้นว่า ความโกรธก็เป็นเพียง ขณะจิต
เดียว สืบต่อ แล้วก็ดับ แล้วก็ขณะจิตอื่นเกิดคิดที่จะโกรธก็ดับ เทียบดูความโกรธใน ครั้งนั้น กับความคิดในวันนี้ช่างต่างกัน อาจจะเป็นไปตามเหตุปัจจัยในชีวิตประจำวัน
ขออนุโมทนา ผู้เผยแผ่พระศาสนาทุกท่านค่ะ
เจอปัญหาคล้ายๆ กันคือ เด็กข้างบ้านร้องไห้บ่อยมากๆ เกือบทั้งวัน บางวันร้องไห้
เสียงดัง ตั้งแต่ตี ๕ กว่าๆ คิดอย่างเดียวว่าเป็นอกุศลวิบากของเราเอง ไม่ใช่เพราะคนอื่น ช่วยลดปัญหาได้เยอะมากๆ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
และขออนุโมทนาสหายธรรมทุกท่านครับ
จากวันนั้นจนถึง ณ วันนี้ได้มีโอกาสเข้ามาที่นีได้จิตฟูบ้าง หยุดฟูบ้าง เพราะดีใจที่ระบบยอมรับอีกครั้งจะมีสหายธรรมใดเข้ามาเห็นไหมหนอ.. เพราะมันย้อนอดีตมาได้ 5 ปี.อยากบอกให้รู้ว่าที่ได้มีโอกาสฟังธรรมก็เพราะผู้ทำเวปนี้แท้ๆ ขอบุญกุศลนี้เกื้อกลูให้ทุกคนที่มีส่วนเผยแพร่พระพุทธศาสนานี้ จงหมดสิ้นกิเลสอกุศลแม้เกิดชาติใดก็ให้ได้สิ่งที่เป็นกุศลตลอดกาล