อานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย [ธชัคคสูตร]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  21 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14813
อ่าน  3,322

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

. ธชัคคสูตร

อานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย

[๘๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. [๘๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้วดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดีความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดีความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของ ท้าววรุณเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น พึงหายไปได้บ้างไม่ได้บ้าง ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็นผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่. [๘๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดีพึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดีทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระ-ภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขึ้นพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้าไปในตนอันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะคน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดีความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรมเป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า เพราะว่าเมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดีความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป. [๘๖๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิต นี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง เปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอ ทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เจริญ ที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้นเธอ ทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออก จากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระธรรมอัน นำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดง ดีแล้ว ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระ- สงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึก ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์ อย่างนี้ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย. จบธชัคคสูตรที่ ๓


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
hadezz
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pompom
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ธชัคคสูตร (ว่าด้วยอานุภาพแห่งการระลึกถึงพระรัตนตรัย) -----------------------------

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเกิดสงครามระหว่างเทวดากับอสูรขึ้นท้าวสักกะตรัสสั่งเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ว่า ถ้าหากเกิดความกลัว ขอให้มองดูยอดธงของเรา ความกลัวก็จักหายไป ถ้าไม่มองดูยอดธงของเรา ก็ขอให้มองดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ท้าววรุณเทวราช ท้าวอีสานเทวราช ตามลำดับ, เมื่อเหล่าเทวดามองดูยอดธงเหล่านั้นแล้ว ความกลัว หายบ้าง ไม่หายบ้าง เพราะท้าวสักกะ ยังไม่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ยังมีความกลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่

แต่สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว พระองค์ตรัสว่า ถ้าหากภิกษุเกิดความกลัวขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในป่า ที่โคนไม้ หรือ ในเรือนว่างเปล่า ก็ตาม พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าพระธรรม และพระอริยสงฆ์ เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ความกลัวที่เกิดขึ้น ก็จักหายไป เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ไม่กลัว ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หนีไป.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นได้ที่นี่ครับ

การระลึกถึงพระพุทธคุณ ระดับความเลื่อมใสในพระพุทธคุณ พระคุณของพระธรรม จะน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณอย่างไรได้บ้าง ชื่อว่า จรณะ [อรรถกถาธิบายพุทธคุณบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโณ] พระพุทธคุณ...พระพุทธกิจ. ประโยชน์ของพระธรรม ...ฯลฯ... ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ups
วันที่ 21 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คุณ
วันที่ 23 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 23 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Nareopak
วันที่ 25 ธ.ค. 2552
ยอดธง คือ อะไรค่ะช่วยอธิบายด้วยค่ะขอบพระคุณ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prachern.s
วันที่ 25 ธ.ค. 2552
ยอดธง ในความหมายของเทวดา ก็ คือ ธงที่เป็นเครื่องหมายของท้าวสักกะครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เมตตา
วันที่ 25 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คนบ้านนอก
วันที่ 26 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
panasda
วันที่ 27 ธ.ค. 2552

ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
taew
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
taew
วันที่ 29 ธ.ค. 2552

การที่ให้ดูยอดธง นั้นเป็นเหมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจหรือเปล่าค่ะ

เพราะถ้าเราใช้จิตไปคิดถึงยองธงแล้วทำให้เราไม่นึกกลัว เพราะจิตเกิดทีละขณะ

ถูกหรือไม่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ