สัจกิริยา [มัจฉราชจริยา]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 481
มัจฉราชจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาปลา
[๓๐] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระยา
ปลาอยู่ในสระใหญ่ น้ำในสระแห้งขอด เพราะ
แสงพระอาทิตย์ในฤดูร้อน ที่นั้น กา แร้ง
นกกระสา นกตะกรุมและเหยี่ยว มาคอยจับ
ปลากินทั้งกลางวันกลางคืน ในกาลนั้น เรา
คิดอย่างนี้ว่า เรากับหมู่ญาติถูกบีบคั้น จะพึง
เปลื้องหมู่ญาติให้พ้นจากทุกข์ได้ ด้วยอุบาย
อะไรหนอ เราคิดแล้ว ได้เห็นความสัตย์อัน
เป็นอรรถเป็นธรรมว่า เป็นที่พึ่งของหมู่ญาติ
ได้ เราตั้งอยู่ในความสัตย์แล้ว จะเปลื้อง
ความพินาศใหญ่ของหมู่ญาตินั้นได้ เรานึกถึง
ธรรมของสัตบุรุษ คิดถึงการไม่เบียดเบียน
สัตว์ อันตั้งอยู่ในเที่ยงแท้ในโลก ซึ่งเป็น
ประโยชน์อย่างยิ่งได้ แล้วได้กระทำสัจกิริยา
ว่า ตั้งแต่เราระลึกตนได้ ตั้งแต่เรารู้ความมา
จนถึงบัดนี้ เราไม่รู้สึกว่าแกล้งเบียดเบียน
สัตว์แม้ตัวหนึ่งให้ได้รับความลำบากเลย ด้วย
สัจวาจานี้ ขอเมฆจงยังฝนให้ตกห่าใหญ่
แน่ะเมฆ ท่านจงเปล่งสายฟ้าคำรามให้ฝนตก
จงทำขุมทรัพย์ของกาให้พินาศไป ท่านจงยัง
กาให้เดือดร้อนด้วยความโศก จงปลดเปลื้อง
ฝูงปลาจากความโศก พร้อมกับเมื่อเราทำ
สัจกิริยา เมฆส่งเสียงสนั่นครั่นครื้น ยังฝน
ให้ตกครู่เดียว ก็เต็มเปี่ยมทั้งที่ดอนและที่ลุ่ม
ครั้นเราทำความเพียรอย่างสูงสุด อันเป็นความ
สัตย์อย่างประเสริฐเห็นปานนี้แล้ว อาศัยกำลัง
อานุภาพความสัตย์ จึงยังฝนให้ตกห่าใหญ่
ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี นี้เป็นสัจ-
บารมีของเราฉะนี้แล
จบ มัจฉราชจริยาที่ ๑๐