การยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน และ ความเห็นผิด

 
พุทธรักษา
วันที่  23 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14838
อ่าน  1,431

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถาม ดิฉันคิดว่า การรู้เรื่องโลภะ โทสะ สุข-ทุกข์ ในชีวิตของเรานั้นน่าสนใจ และ มีประโยชน์มาก เราควรที่จะรู้จักกิเลสของเรา แต่ทำไม เราจะต้องรู้เรื่อง การเห็น การได้ยิน อ่อน แข็ง ฯลฯ จำเป็นด้วยหรือ

ตอบ "การยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน" ซึ่งเป็น "เหตุ" ให้เกิดอกุศลธรรมทั้งหลาย นั้น จะละคลายได้ก็ด้วย "ปัญญาที่รู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งหลาย" เท่านั้น เราควรเข้าใจให้ถูกต้อง ว่า ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครได้ยิน ฯ มีแต่สภาพธรรมต่างๆ ที่มี "ปัจจัยปรุงแต่ง" จึงเกิดขึ้น เท่านั้นเมื่อรู้เช่นนั้น จริงๆ จึงจะละคลายความเป็นตัวตนได้

ถาม ขณะที่กำลังเห็น ดิฉันก็เพลินไปกับสิ่งที่เห็นแต่ก็ไม่ได้คิดว่า เป็นตัวตน ที่เห็น ขณะที่กำลังได้ยิน ก็เพลินปกับเสียงที่ได้ยิน หรือ ในเรื่องราวที่พูดแต่ก็ไม่ได้คิดว่า เป็นตัวตน ที่ได้ยิน ดิฉันไม่เข้าใจ ว่า ทำไมขณะที่เห็น หรือ ได้ยิน จะต้องละ ความเป็นตัวตนด้วย

ตอบ เราไม่อาจจะพูดได้ ว่ามีความเห็นผิด ว่า เป็นตัวตน ทุกขณะที่เห็น หรือได้ยิน ฯ แต่อย่างไรก็ตาม เรามีการสะสม ความยึดถือว่าเป็นตัวตน ไว้ลึกมากถึงจะยังไม่ปรากฏออกมาให้เห็น แต่ก็นอนเนื่องอยู่ในจิตเหมือนกับเชื้อไวรัสที่แอบแฝงอยู่ในร่างกาย ซึ่งเมื่อถึงเวลา ที่ "ปัจจัยถึงพร้อม" ก็จะปรากฏอาการขึ้นมา

"ความเห็นผิด" เป็น "ปัจจัย" ให้เกิด "อกุศลธรรม" มากมาย และจะดับความเห็นผิดได้เป็นสมุจเฉท เมื่อรู้แจ้ง "อริยสัจจธรรม" ... "ความเห็นผิด" เป็นสภาพธรรมที่จะต้องดับให้หมดก่อนเป็นสมุจเฉทจึงจะสามารถดับ "ความติดข้อง" ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้ และ จำเป็นมาก ที่จะต้องอบรมเจริญปัญญา จนกระทั่งรู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้น ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวันจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส และ การคิดนึกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ที่เรายึดถือ ว่า เป็นจิตใจของเรา นั้นสภาพธรรมตามความจริง ก็คือ จิต และ เจตสิก ซึ่งเป็น นามธรรมและ สิ่งที่เรายึดถือ ว่า เป็นตัวตนของเรา ก็เป็นเพียงรูปธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น เราจะรู้ว่าหลังจากที่เห็น หรือ ได้ยิน ฯ แล้ว ส่วนมาก "อกุศลจิต" เกิดต่อ เราอยากเห็นในสิ่งที่ชอบ และ ชอบสิ่งที่เห็นเราอยากได้ยินในสิ่งที่เราอยากได้ยิน และ ชอบเสียงที่ได้ยินเรา "ติดข้อง" อยู่กับ "กามอารมณ์" ซึ่งหมายถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

ขณะที่ "ติดข้อง" นั้น ผ่านไป โดยไม่ได้พิจารณา เพื่อที่จะรู้จักสภาพธรรมที่มี "ลักษณะติดข้อง" แต่เมื่ออบรมเจริญปัญญา ก็เป็น "ปัจจัย" ให้รู้จัก "สภาพจิตลักษณะต่างๆ " อย่างละเอียดขึ้น

ข้อความบางตอน จากหนังสือ "เข้าใจธรรม" สนทนาธรรมกับอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เรียบเรียงโดย Nina Van Gorkom แปลโดย คุณสุจิตต์ อึ้งภากรณ์

... ขออนุโมทนา ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
hadezz
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

ขอขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิริยะ
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Boon.J
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

หัวข้อดีมากๆ ครับขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คุณ
วันที่ 25 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ