ความสำคัญของศีล

 
WS202398
วันที่  24 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14848
อ่าน  9,136

ผมพึ่งซาบซื้งครับว่า ศีล มีคุณมากอย่างไร ขอเชิญท่านผู้รู้ช่วยเสริม ให้เห็นคุณแห่งศีลด้วยครับ

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่...

โพชฌงคสังยุต [หิมวันตสุตร]

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
WS202398
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

จากคุณ paderm

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 425

๑. สีลวเถรคาถา

ศีลเป็นกำลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะอันน่าอัศจรรย์ ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอำนาจ เป็นกลิ่นหอม อย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ศีลเป็นเสบียงอันเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่ว

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
WS202398
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค - หน้าที่ 198

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฏฐิสัมปทา สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ

[๒๙๐] โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่หนึ่ง ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีล มีศีล วิบัติ ย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สอง ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัทเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขินเข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สาม ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคนหลงทำกาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สี่ ฯ

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่ห้า ฯ

[๒๙๑] อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมประสบกองแห่งโภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง ฯ โภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีลถึงพร้อมแล้ว ด้วยศีล ย่อมระบือไป นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง ฯ ด้วยศีล ย่อมระบือไป นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลเข้าไปหาบริษัท ใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สาม ฯ ไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สาม ฯ

๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่ หลงทำกาละ นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สี่ ฯ

๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อ ที่ห้า ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
hadezz
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 24 ธ.ค. 2552

ศีลเป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ .. เพื่อมิให้ล่วงออกมาทางกายและวาจา แต่วิปัสสนาเป็นการขัดเกลากิเลส ... ที่ลึกลงไปถึงใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 25 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนกฤต
วันที่ 25 ธ.ค. 2552

ขอเสริมครับ

เล่ม 32 หน้า 174

…พระเถระทั้งหลายเกิดสนทนากันขึ้นในที่นั้นว่า ปริยัติเป็นมูล แห่งพระพุทธศาสนา หรือปฏิบัติเป็นมูล พระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร กล่าวว่า ปฏิบัติเป็นมูลแห่งพระศาสนา.
ฝ่ายพระธรรมกถึก (พระนักเทศน์) ทั้งหลาย กล่าวว่า พระปริยัติเป็นมูล ลำดับนั้น พระเถระเหล่านั้นกล่าวว่า เราจะไม่เชื่อโดยเพียงคำของท่านทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ขอพวกท่านจงอ้างพระสูตรที่พระชินเจ้า (พระพุทธเจ้า) ทรงภาษิตไว้.

พระเถระ ๒ พวกนั้นกล่าวว่า การนำพระสูตรมาอ้าง ไม่หนักเลย พระเถระฝ่ายผู้ทรงผ้าบังสุกุล จึงอ้างพระสูตรว่า "ดูก่อนสุภัททะ ก็ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย" ดูก่อนมหาบพิตร พระศาสนาของพระศาสดา มีปฏิบัติเป็นมูล มีการปฏิบัติเป็นสาระ เมื่อทรงอยู่ในการปฏิบัติ ศาสนาก็ชื่อว่ายังคงอยู่.ฝ่ายเหล่าพระธรรมกถึกได้ฟังพระสูตรนั้นแล้ว เพื่อจะรับรองวาทะ (คำกล่าว) ของตน จึงอ้างพระสูตรนี้ว่าพระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่างเหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั้น เมื่อพระสูตรไม่มี และแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป ในโลกก็จักมีแต่ความมืด เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต (ตกไป) เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่ ย่อมเป็นอันรักษาปฏิบัติไว้ด้วย นักปราชญ์ดำรงอยู่ในการปฏิบัติย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ (นิพพาน) ดังนี้

เมื่อพระธรรมกถึก นำพระสูตรนี้มาอ้าง พระเถระผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลายก็นิ่ง คำของพระเถระผู้เป็นธรรมกถึกนั้นแล เชื่อถือได้ เหมือนอย่างว่า ในระหว่างโคตัวผู้ ๑๐๐ ตัว หรือ ๑๐๐๐ ตัว เมื่อไม่มีแม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสาย ก็ไม่สืบต่อกัน ฉันใด เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนา ตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑๐๐๐ รูป มีอยู่ แต่ปริยัติ (คือ การศึกษาพระธรรมคัมภีร์) ไม่มี ชื่อว่าการแทงตลอดอริยมรรคก็ไม่มี ฉันนั้น นั่นแล. อนึ่ง เมื่อเขาจารึกอักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังทรงอยู่เพียงใด ขุมทรัพย์ทั้งหลาย ชื่อว่ายังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด เมื่อปริยัติ ยังทรงอยู่ พระศาสนา ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธานไป ฉันนั้นเหมือนกันแล

ศึกษาเพิ่มเติมจากพระไตรปิฏกนะ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 26 ธ.ค. 2552

ความดีใครทำก็เหมือนกัน คือน่ารัก น่าชื่นชม และน่าอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
bsomsuda
วันที่ 28 ธ.ค. 2552

แม้เป็นผู้ใหม่ ยังมิใช่ผู้รู้ แต่เท่าที่ฟังและอ่านมา ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะคะว่า..การถือศีล สำคัญที่จิตเป็นกุศลมากหรือน้อย หากจิตเป็นกุศลมาก ก็มีอานิสงส์มาก.. หากข้อคิดเห็นนี้ผิดพลาดประการใด รบกวนท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขให้ด้วยนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
รากไม้
วันที่ 21 ม.ค. 2553

อานิสงค์แห่งศีล คือความเข้มงวดกับตัวเอง ถือเป็นกฏเหล็กที่ได้ตั้งไว้ให้กับตนเอง ถือเป็นสัจจะที่ให้ไว้กับตัวเองด้วย เพราะตอนอารธนาศีลอาจไม่มีใครล่วงรู้นอกจากตนเอง สมัยโบราณจะยกย่องผู้มีศีลมากมายเลยทีเดียว เพราะจริงๆ แล้ว กระทำได้ยากยิ่งนัก ยิ่งถือได้นาน 30-40 ปี ได้ผ่านอุปสรรคนานาที่จะทำให้ศีลขาดได้ ก็จะยิ่งน่าเลื่อมใสและสมควรแก่การยกย่องจริงๆ

...อย่าให้ต้องเปรียบกับสมัยนี้เลยนะครับ เพราะบางคน อารธนาศีลมาแล้วถือได้ไม่ถึงชั่วโมงก็มี เพราะขาดสัจจะต่อพระผู้มีพระภาค ซึ่งจะว่าไปก็ถือว่าเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่ง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ