ปลาใหญ่ในพระไตรปิฏก [นิทานสูตรที่๑๐]

 
JANYAPINPARD
วันที่  29 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14910
อ่าน  5,327

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 276

ก็ในมหาสมุทร ปลาใหญ่ชื่อ ติมิ ยาว ๒๐๐ โยชน์ ปลาติมิงคละยาว ๓๐๐ โยชน์ ปลาติเมรปิงคละ ยาว ๕๐๐ โยชน์. ปลา ๔ อย่างเหล่านี้ คือ ปลาอานนท์ ปลาปนันทะ ปลาอัชโฌหาระ ปลามหาติมิยาวตั้งพันโยชน์. ในปลาทั้ง ๔ อย่างนั้น ท่านแสดงด้วยปลาติเมรปิงคละนั่นเอง. เมื่อมันกระดิกหูขวา น้ำในพื้นที่ตั้ง ๕๐๐ โยชน์ ก็จะเคลื่อนไหวหูซ้าย หาง หัว ก็เหมือนกัน. แต่เมื่อมันกระดิกหูทั้ง ๒ ฟาดหางเอียงหัวไปมา เริ่มจะเล่นน้ำที่คนเอาใส่ภาชนะ น้ำในที่ ๗-๘ ร้อยโยชน์ก็กระเพื่อมเหมือนยกขึ้นตั้งบนเตา น้ำในพื้นที่ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ก็ไม่อาจจะท่วมหลัง (ของมัน) มันพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนทั้งหลายกล่าวว่า มหาสมุทรนี้ลึก ความลึกของมหาสมุทรนั้นอยู่ที่ไหน. พวกเราไม่ได้น้ำแม้เพียงที่จะสำหรับปลาเล็กเหล่าอื่น" ปฏิจจสมุปบาทก็เหมือนอย่างนั้นแหละ พึง กล่าวว่า "ง่ายสำหรับพระอานนท์ ผู้เข้าถึงญาณ (ผู้มีปัญญามาก) แต่ไม่พึงกล่าวว่า "ง่ายสำหรับภิกษุเหล่าอื่น"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 10 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ