ธรรมข้อคิด เพื่อชีวิตที่ดีงาม
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรม เป็นเครื่องเตือนที่ดี เป็นประโยชน์ทุกกาลสมัย ไม่มีล้าสมัย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย และจะเป็นประโยชน์เฉพาะสำหรับผู้เห็นประโยชน์และน้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตามเท่านั้น ข้อความที่จะได้อ่านต่อไปนี้ ประมวลจากการได้ฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ซึ่งเป็นข้อคิดเตือนใจที่ดีเป็นอย่างยิ่ง " ทางเดินของชีวิต" ควรที่ทุกคนจะคิดถึงประโยชน์ของการเกิดมามีชีวิตเป็นมนุษย์ในขณะนี้ ทุกคนย่อมจะมีทางเดินของชีวิตซึ่งมี ๒ ทาง คือ ทางหนึ่งเลือกที่จะหมุนเกลียวเข้าให้จมลึกลงในปลักของสังสารวัฏฏ์ต่อไป และ อีกทางหนึ่ง คือ เลือกที่จะหมุนเกลียวออกจากสังสารวัฏฏ์ทีละเล็กทีละน้อย
เพราะฉะนั้น ธรรมต้องพิจารณาทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของโลภะ โทสะ โมหะ โดยพิจารณาตนเองว่าการที่ยังมีความติดข้องยึดมั่นผูกพันในบุคคล ควรที่จะคลายเกลียวออกหรือจะหมุนเกลียวให้แน่นเข้าไปอีก เพราะว่าในภพหนึ่งชาติหนึ่งทุกคนต้องมีความผูกพันมีความยึดมั่นในบุคคลต่างๆ โดยฐานะต่างๆ แต่ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า ควรที่จะคลาย หรือ ยึดมั่นให้มากขึ้น หรือแม้แต่ในเรื่องของโทสะ ความโกรธก็เช่นเดียวกัน ถ้าท่านผู้ใดยังมีความโกรธในบุคคลใด ขณะนั้นเป็นอกุศล จะคลายเกลียวออก คือ ละความโกรธและให้อภัย หรือว่าจะหมุนเกลียวของโทสะให้มากขึ้นแน่นขึ้นไปอีก เป็นความจริงที่ว่าวันหนึ่งๆ หาเรื่องที่จะให้โกรธได้ไม่ยาก (เช่นเดียวกันกับการหาวัตถุที่จะเป็นที่พอใจก็ไม่ยากเช่นกัน) ได้ยินอะไรนิดๆ หน่อยๆ ความโกรธก็เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าจะเป็นผู้พิจารณาหาเหตุผลว่า ผู้พูดอาจจะพูดไปด้วยความไม่รู้ หรือ เป็นการได้ฟังมาเพียงผิวเผิน หรือ ด้วยความเข้าใจผิด ขณะนั้นจิตใจก็จะสบายมากทีเดียว ไม่เดือดร้อน หมดเรื่อง จบเรื่องทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ทุกๆ ขณะในชีวิตเป็นขณะที่จะได้พิจารณาถึงประโยชน์ของความเป็นผู้ตรง ที่จะรู้ว่ากุศลทั้งหลาย ย่อมเป็นประโยชน์กว่าอกุศล
ในขณะนี้มีโมหะ คือ ขณะที่เห็น ก็ไม่รู้สภาพความจริงของนามธรรมและรูปธรรมในขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้เอง หรือแม้ในขณะที่ได้ยินเดี๋ยวนี้ ไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ในขณะที่ได้ยินและเสียงที่ปรากฏ ขณะนี้จะคลายเกลียวจากโมหะ โดยการอบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรม หรือว่าจะพอใจในการหมุนเกลียวของโมหะให้มากขึ้นอีก โดยละเลยการที่จะระลึกศึกษารู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
นี่คือเส้นทางของชีวิตที่ทุกคนจะพิจารณาเลือกเดินต่อไปทุกๆ ขณะ แม้ในขณะนี้เอง
"ฤกษ์งาม ยามดี คือ เวลาที่ได้ทำความดี"
ความตายเป็นสภาพธรรมที่ทุกคนที่เกิดมา ล้วนจะต้องประสบด้วยกันทั้งหมด ไม่มีเว้นแม้แต่คนเดียว (ทรัพย์สินเงินทองไม่สามารถที่จะซื้อให้ตัวเองไม่ต้องตายได้) และไม่อาจจะล่วงรู้ได้ว่าจะมาถึงเมื่อใด กาลเวลาย่อมผ่านไป ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะประมาทในเวลา และไม่ควรประมาทในอกุศล เวลาในชาตินี้เหลือไม่มากนัก
ถ้าจะเป็นคนดีเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมอันงาม ก็ต้องรีบเป็นตั้งแต่บัดนี้ เริ่มได้ในขณะนี้ ไม่ควรที่จะไปรอ ทำดีเวลาใด ก็ย่อมจะดีในเวลานั้น เพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่า ต่อไปข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เช่น ในวันพรุ่งนี้ อาจจะเกิดมีความโลภมากๆ ติดข้องมากๆ อยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือ อาจจะโกรธอย่างรุนแรง ถึงกับล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรม ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นแล้ว การมีโอกาสได้สะสมกุศลคุณงามความดีประการ ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือสะสมปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก โดยอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เป็นปกติในชีวิตประจำวันนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะความดีทั้งหลายเท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องต้านทานเป็นเครื่องยับยั้งในสิ่งที่ไม่ดีที่อาจจะเกิดขึ้นได้.
"อกุศลธรรม ไม่เป็นประโยชน์"
อกุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี ไม่นำประโยชน์อะไรมาให้เลย ให้ผลเป็นทุกข์ เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย อกุศลธรรมก็เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ทั้งโลภะ ความติดข้อง ยินดีพอใจ หรือ โทสะ ความขุ่นเคืองใจ โกรธ ไม่พอใจ เป็นต้น ล้วนเป็นอกุศลธรรมทั้งนั้น ถ้าหากว่าเป็นผู้ประมาทมัวเมาในชีวิต โดยที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ไม่เจริญกุศลทุกๆ ประการ ย่อมจะไม่เห็นโทษของอกุศลที่เกิดขึ้น เมื่อไม่เห็นโทษของอกุศล ก็จะไม่ขัดเกลาอกุศลให้เบาบางลง เมื่อไม่ขัดเกลา ก็นับวันจะมีแต่อกุศลเกิดมากขึ้น สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามีกำลังแรงกล้า ก็สามารถล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอกุศลกรรมบถ สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ขณะที่กระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ นั้น อบายภูมิ มีนรก เป็นต้น รออยู่ข้างหน้าแล้ว อกุศล จึงน่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง จึงเป็นเครื่องเตือนให้ไม่ประมาทในชีวิต เพราะชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ควรอย่างยิ่งที่จะสะสมแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่ควรจะปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์.
"ความละอาย และ ความเกรงกลัวต่อบาป"
หิริ (ความละอายต่ออกุศล) และ โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่ออกุศล) ต่างก็เป็นสภาพธรรมฝ่ายดีด้วยกันทั้งคู่ เกิดพร้อมกันทุกครั้ง เป็นความละอาย และความเกรงกลัวต่ออกุศล กลัวต่อผลของบาปอกุศลที่จะเกิดขึ้น เพราะบาปอกุศลนำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนในภายหลัง ขณะใดที่เว้นจากความชั่ว บาป อกุศล ทุจริตทั้งปวง แม้ว่าจะเล็กน้อยสักเพียงใด ขณะนั้นก็เป็นเพราะหิริและโอตตัปปะ ซึ่งเป็นสภาพที่รังเกียจ ละอาย กลัว และเกรงโทษของบาป เป็นสิ่งที่พอจะเห็นได้ว่าแม้ว่าทั้งหิริและโอตตัปปะจะเกิดร่วมกันก็จริง แต่ว่าขณะใดที่เกิดละเว้นอกุศลชนิดหนึ่งชนิดใด ขณะนั้นก็พอที่จะสังเกตสภาพของจิตได้ว่าในขณะนั้นจริงๆ ละเว้นเพราะรังเกียจ หรือว่าละเว้นเพราะกลัว เกรงโทษเกรงภัยของอกุศล ถ้าพิจารณาโดยละเอียด จะเห็นระดับของหิริโอตตัปปะว่ามีหลายขั้น ขณะที่ละเว้นจากทุจริต ขณะนั้นก็เป็นหิริโอตตัปปะขั้นหนึ่ง ระดับที่ละเว้นทุจริตกรรมเป็นหิริ โอตตัปปะขั้นหยาบขั้นหนึ่ง แต่ว่าขั้นละเอียดกว่านั้นอีก คือเห็นโทษของอกุศล คือ แม้ว่าจะไม่กระทำทุจริตกรรม แต่ก็ยังเห็นว่าอกุศลจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ควรละอาย ควรรังเกียจ
เพราะฉะนั้น หิริโอตตัปปะของแต่ละบุคคล ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าในระดับไหน ในขั้นไหน ตามกำลังของปัญญา สำหรับผู้ที่ไม่กระทำชั่ว มีเหตุที่จะให้ละเว้นความชั่วซึ่งเป็นภายในเป็นสมุฏฐาน คือ มีตนเป็นใหญ่ ดังต่อไปนี้
ประการที่ ๑ คือ ไม่ทำชั่ว เพราะนึกถึงชาติ คือ การเกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม ย่อมเป็นผลของกุศลกรรม และรู้ได้ว่า บุญญกิริยาวัตถุ (การกระทำความดีประการต่างๆ) เป็นมนุษยธรรม เพราะฉะนั้น ขณะใดที่มีการระลึกถึงชาติ คือ การเกิดเป็นมนุษย์ ในขณะนั้นก็เป็นเหตุที่จะให้ละการกระทำทุจริต เพราะเห็นว่าการกระทำทุจริต การทำชั่ว เป็นการกระทำที่ต่ำทราม ไม่ใช่เป็นธรรมของมนุษย์ เมื่อระลึกได้อย่างนี้ ก็จะไม่ทำทุจริต ไม่ล่วงศีล
ประการที่ ๒ คือ ไม่กระทำชั่วเพราะระลึกถึงวัย เห็นว่าการทำชั่วเป็นเรื่องของเด็กหรือว่าผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่สามารถมีสติปัญญาพิจารณาความถูก ความควรได้โดยละเอียด เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่พ้นจากวัยเด็กเล็กๆ ที่ไม่รู้เรื่องที่ควร ไม่ควรแล้ว ก็ควรจะเป็นผู้ที่ระลึกได้ว่า สิ่งใดไม่ควรจะกระทำ ในขณะนั้นก็เว้นความชั่ว เพราะระลึกถึงวัย รู้ว่า สิ่งใดที่เหมาะ สิ่งใดที่ควรแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทำสิ่งซึ่งเด็กที่เยาว์วัยกระทำได้เลย
ประการที่ ๓ คือ ไม่กระทำชั่วเพราะระลึกถึงความแกล้วกล้า เพราะเหตุว่า คนขลาดย่อมทำอกุศล แต่ว่าคนแกล้วกล้านี้ กล้าที่จะทำกุศลและไม่ทำอกุศล เพราะฉะนั้น ต้องเป็นคนกล้าหาญ ที่จะไม่ทำอกุศล คนขลาดทำอกุศล เพราะเหตุว่ากลัวลำบากบ้าง กลัวยากจนบ้าง กลัวความทุกข์ต่างๆ บ้าง จึงเป็นเหตุให้กระทำทุจริต แต่คนกล้าหาญ แม้ว่าจะลำบาก แม้ว่าจะขัดสน แม้ว่าจะยากจน แต่ก็จะไม่ทำทุจริต คนแกล้วกล้านั้นกล้าละเว้นทุจริตได้ โดยไม่กลัวความลำบากต่างๆ
ประการที่ ๔ คือ ไม่กระทำชั่ว เพราะเห็นว่า คนทำชั่วเป็นคนไม่ฉลาด บุคคลใดก็ตามที่ทำชั่ว บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ฉลาด ถ้าทุกคนคิดได้อย่างนี้ ระลึกได้อย่างนี้ ก็จะไม่มีการทำทุจริตกรรมใดๆ เลย ธรรม ๒ ประการนี้ คือ หิริ และ โอตตัปปะ จึงเป็นธรรมคุ้มครองโลก เป็นเครื่องเกื้อกูลให้สัตว์โลกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สงบร่มเย็น ปราศจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกันโดยประการทั้งปวง ฯลฯ
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ที่อุทิศชีวิตทั้งชีวิตเพื่อประโยชน์ คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ศึกษาธรรม ขออนุโมทนาคณะวิทยากร และท่านผู้ศึกษาธรรมร่วมกัน (สหายธรรม) ทุกๆ ท่าน ครับ
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ที่อุทิศชีวิตทั้งชีวิตเพื่อประโยชน์ คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ศึกษาธรรม
ขออนุโมทนาคณะวิทยากร และท่านผู้ศึกษาธรรมร่วมกัน (สหายธรรม) ทุกๆ ท่าน และขอขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตคุณคำปั่นค่ะ
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ที่อุทิศชีวิตทั้งชีวิต เพื่อประโยชน์ คือ ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ศึกษาธรรม
* * * การมีโอกาสได้สะสมกุศลคุณงามความดีประการ ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสะสมปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก โดยอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวันนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ต่อการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี
* * * เห็นโทษของอกุศล คือ แม้ว่าจะไม่กระทำทุจริตกรรม แต่ก็ยังเห็นว่าอกุศลจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ควรละอายควรรังเกียจ
* * * คนแกล้วกล้านั้นกล้าละเว้นทุจริตได้ โดยไม่กลัวความลำบากต่างๆ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนา ถือเป็นถ้อยคำอันเป็นมงคลยิ่งค่ะ
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ ยอดกัลยาณมิตรของผู้ใฝ่ศึกษาพระธรรม ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ อ.คำปั่น เป็นของขวัญปีใหม่ที่ประเสริฐและมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง
บุคคลที่หาได้ยากในโลกคือ ผู้ที่แสดงธรรมะของพระพุทธเจ้า
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
กินใจมากค่ะ "คนแกล้วกล้านั้นกล้าละเว้นทุจริตได้ โดยไม่กลัวความลำบากต่างๆ "
ขอกราบและอนุโมทนา ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และท่านอาจารย์วิทยากรทุกท่าน ที่แสดงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ด้วยความยากลำบากยิ่ง ด้วยความเคารพอย่างยิ่งครับ
ขอขอบคุณ อ.คำปั่น เป็นอย่างยิ่งที่ได้นำ "ธรรมข้อคิด เพื่อชีวิตที่ดีงาม" มาให้ทุกท่านได้อ่านครับ
ขออนุโมนาครับ
อนุโมทนาในกุศลจิตของอาจารย์คำปัน ที่ได้ (ขอใช้คำว่า) ถอดรหัสธรรม ออกมา ให้อ่านเข้าใจได้โดยง่ายและจะน้อมนำมาเตือนสติในการดำเนินชีวิต (เท่าที่จะระลึกได้ค่ะ)
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดเห็นที่ 5, 7, 15 และ 22 ครับ ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตที่สูงส่งของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ ขออนุโมทนาคณะวิทยากรทุกท่านครับ
ความดีงาม เป็นเครื่องนำทางชีวิต
ชีวิตเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ เพราะเราเกิดมาแล้ว แต่เมื่อได้เกิดมาแล้ว จงหมั่นสร้างกรรมดี สะสมกรรมดี สะสมบารมีเอาไว้ ถึงแม้ไม่สมหวังในปัจจุบัน เพราะกรรมดียังไม่ส่งผล แต่อย่าท้อ อย่าเสียใจ อย่าน้อยใจ จงสร้างกรรมดีต่อไป เพื่อความดีงามในอนาคตของตนเอง ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า เราสามารถเลือกเกิดได้ ดังคำภาษิตที่ว่า "น้ำเน่ายังเป็นเงาจันทน์ ชีวิตมันจะไม่มีดีเชียวหรือ"
ชีวิตคนเราแท้ จงค้นหาความดีของตนเอง เช่น เราดีพอแล้วที่ได้เกิดเป็นมนุษย์และพบคำสอนพระพุทธศาสนา ยังสมบูรณ์อยู่ และยังมีโอกาสกว่าคนทั่วไป ได้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาฯ จงพยายามต่อไปวันสดใส และสมหวังอยู่เบื้องหน้าฯ
ขอเจริญธรรม
ขอนอบน้อมแด่พระผ้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น กราบท่านอจ. ท่านวิทยากร