อินเดีย ... อีกแล้ว 40 อิสิปตนมฤคทายวันวิหาร

 
kanchana.c
วันที่  31 ธ.ค. 2552
หมายเลข  14950
อ่าน  4,170

อิสิปตนมฤคทายวันวิหาร

เมื่อได้พากันชื่นชมพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในโลก และเสาหินอโศกมีรูปหัวสิงห์ครบ ๔ หัวที่สมบูรณ์สวยงามที่สุดที่พิพิธภัณฑ์สารนาถ แล้ว ก็พากันข้ามถนนไปบริเวณอิสิปตนมฤคทายวันวิหาร ก่อนเข้าบริเวณนี้ รถแล่น ผ่านเจาคัณฑีสถูป สถานที่พระผู้มีพระภาคทรงพบกับพระปัญจวัคคีย์ครั้งแรก แต่เราไม่ ได้แวะกราบนมัสการ มากี่ครั้งก็ผ่านเจาคัณฑีสถูปไป มาหยุดที่อิสิปตนมฤคทายวัน วิหารทุกครั้ง ในบริเวณนี้มีสถานที่สำคัญมากมาย เราต้องรีบเข้าไป กราบนมัสการซาก สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาทั้งที่ขุดพบเก่าและใหม่ที่เห็นอยู่มากมายให้ ทั่ว ก่อนที่ท่านอาจารย์จะเริ่มสนทนาธรรม

ธัมเมกสถูป สร้างโดยพระเจ้าอโศก สูง ๓๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๘ เมตร เป็น สถานที่แสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปวัตตนสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญ เดือน ๘ จนท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมว่า “สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา” แล้วขอบรรพชา ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา จึงเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลก และในวันนั้นก็เป็นวันที่มีรัตนะครบทั้งสาม คือ ทั้ง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

พระมูลคันธกุฎี ที่ประทับพรรษาแรกของพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้

ธัมมราชิกสถูป สถานที่แสดงอนัตตลักขณสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์จนบรรลุพระอรหันต์ พระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาค

เสาหินพระเจ้าอโศก ที่เป็นหลักฐานสำคัญ

ยสะสถูป สถานที่ท่านพระยสะได้ฟังอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ จนบรรลุโสดาบัน และเมื่อมารดาบิดาและภรรยาของท่านมาตามหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ท่านพระ ยสะบรรลุพระอรหันต์ ได้รับการอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา บิดาได้บรรลุ โสดาบัน แสดงตนเป็นอุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนา ส่วนมารดาและอดีตภรรยา ได้บรรลุโสดาบัน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสิกาคู่แรกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต แม้สหายของท่านพระยสะ ๕๔ คน ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุ อุปสัมปทาเช่นกัน

บัดนี้ได้มีพระอรหันต์แล้ว ๖๑ รูป เมื่อออกพรรษา พระพุทธเจ้าทรงส่งพระอรหันต์สาวก ๖๐ รูป ไปประกาศพระศาสนา โดยรับสั่งว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก เพื่อ อนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ... ” มีสถานที่มากมายที่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร เมื่อได้มาอ่านหนังสือภาพฯ แล้วจึงได้ทราบ ถ้ามีเวลาอยู่ในอิสิปตนมฤคทายวันวิหารมากกว่าก็จะดีมาก จะได้ค่อยๆ ดูอย่างละเอียด และทั่วถึง

ได้เวลาสนทนาธรรมแล้ว เราเลือกที่ใต้ร่มเงาของธัมเมกสถูปเช่นเคย ท่านอาจารย์ยัง แจ่มใส แสดงธรรมด้วยน้ำเสียงไพเราะ และความจำของเราเกี่ยวกับพระธรรมก็ยังเป็น รอยไม้ที่ขีดในน้ำเช่นเคย ที่เป็นเช่นนี้เพราะสะสมปัญญามาน้อย เมื่อได้ฟังพระธรรมจึง เหมือนเด็กน้อยเริ่มเรียนหนังสือ จำตัว กอไก่ ไม่ได้สักที ท่านอาจารย์ก็พูดย้ำทุกครั้งว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แต่พอฟังจบแล้วก็ลืมทันที ฟังทีไร ก็เหมือนเพิ่งฟังใหม่ทุกครั้งไป ยังไม่ต้องเอากอไก่ไปผสมกับตัวหนังสืออื่นหรอก แค่ตัวกอไก่ตัวเดียวนี้ก็ลืมตลอด บอกแล้วบอกอีก ก็ลืมแล้วลืมเล่า ปัญญาคงอ่อนมากนั่นเอง แต่ก็ยังดีกว่าตอนที่ยังไม่ เคยฟัง เพราะตอนนั้นไม่เคยรู้เลยว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ตอนนี้แม้จะลืม แต่พอได้ยินก็ นึกได้ ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่อดทนพร่ำสอน พร่ำ บอก ซ้ำแล้วซ้ำอีก

เมื่อถึงเวลาพลบค่ำ พวกเราจุดเทียนในโคมประทีปประทักษิณรอบพระเจดีย์ ได้เวียน เทียนรอบพระธัมเมกสถูปในวันเพ็ญเดือน ๑๒ นี้ดีเหลือเกิน พระจันทร์แจ่มกระจ่างท่าม กลางบรรยากาศที่ศักดิ์สิทธิ์ โอกาสที่จะมาพอดีกันอย่างนี้คงหาได้ยาก นึกถึงพระ พุทธคุณ ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีถึงสี่อสงไขยแสนกัป เพื่อจะตรัสรู้อริยสัจธรรมที่จะนำ สัตว์ออกจากทุกข์ ทรงแสดงปฐมเทศนาที่ตรงนี้ จนมีพระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก และ พระสงฆ์ทั้งหลายก็ได้รักษาพระธรรมและเผยแพร่มาถึงปัจจุบัน ๒,๕๐๐ กว่าปี เราจึงมี โอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรม ได้รู้ว่าสิ่งใดเป็นกุศล สิ่งใดเป็นอกุศล และกุศลเป็นสิ่งที่ ควรทำให้เจริญขึ้น และอกุศลนั้นเป็นสิ่งที่ควรละ รู้แค่นี้ตามกำลังปัญญาของตน ก็นับ ว่าเป็นบุญมากแล้วที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม

โคมประทีปได้รับใช้พวกเราครบทุกแห่งแล้ว จะต้องถวายไว้ที่สมาคมมหาโพธิ์ที่ สารนาถในวันนี้ ต้องขออนุโมทนาคุณแก้วตา เอนกพุฒิและคณะที่เป็นเจ้าภาพด้วยค่ะ

วันนี้เป็นวันสำคัญของสมาคมมหาโพธิ์ สารนาถ มีชาวศรีลังกามากมายมาร่วมงานที่ มูลคันธกุฎีวิหาร ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พวกเราต้องคอยนานมากกว่าจะได้ ถวาย ท่านอาจารย์ก็ยังสนทนาธรรมกับผู้มาใหม่อย่างสดชื่น ส่วนเราอายุน้อยกว่า ๒ รอบนั้นฟิวส์ใกล้จะขาดแล้ว รู้สึกอ่อนล้าไปหมด อยากจะนอนเป็นที่สุด (ขณะนั้นต้อง เป็นอกุศลจิตแน่นอน) เข้าใจแล้วว่า พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงแสดงธรรมแก่ผู้เหนื่อย ล้าหรือหิวโหย เพราะขณะนั้นจิตอ่อน ไม่มีกำลังเลย อย่างท่านปุกกุสาติที่มาพบพระผู้มี พระภาคในโรงของนายช่างหม้อ พระองค์ก็ไม่ทรงแสดงธรรมทันที แต่ให้ท่านปุกกุสาติ ได้พักผ่อนจนมีกำลัง จึงทรงแสดงธรรม

กว่าจะได้เข้าโรงแรม Ideal Tower ซึ่งกว้างขวางใหญ่โตมาก และรับประทานอาหาร เย็นเวลาเกือบ ๓ ทุ่ม ก็หมดแรง มีพวกที่ยังแข็งแรงนัดจะไปช๊อปปิ้งต่อ แต่เราต้อง กู๊ดไนท์แล้วค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วิริยะ
วันที่ 1 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
jangthi
วันที่ 1 ม.ค. 2553

ขอกราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pondhip
วันที่ 8 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 9 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
hiriotappa
วันที่ 10 ม.ค. 2553

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
dhammanath
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ แต่อยากขอความกรุณาช่วยเพิ่มรายละเอียดว่าสถานที่นั้นๆ อยู่ที่ไหน เพราะท่านที่ไม่เคยไปไม่อาจจะรู้ได้ว่าเป็นที่ไหนบ้าง เช่น ธรรเมกขสถูป หรือธัมเมกขสถูปนี้ อยู่ที่เมืองพาราณสี สารนาถ เป็นต้น

ผมเข้าใจว่า ธัมเมกขสถูป สถูปเห็นธรรม (แปลตามความเข้าของตัวเอง) และธัมมจักกัปปวัตตนสูตร น่าจะถูกกว่าครับ

ขออนุโมทนาอีกครั้งที่กรุณาเขียนให้ความรู้เป็นอย่างดี

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
บอล!!!
วันที่ 7 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
อนุโมทนา
วันที่ 22 ก.พ. 2553
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
อนุโมทนา
วันที่ 29 มี.ค. 2553
ขออนุโมทนาที่ อาจารย์สุจินต์ ท่านมีร่างกายที่แข็งแรง
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
somphop
วันที่ 8 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
dhammanath
วันที่ 3 ธ.ค. 2553

ผมได้อ่านหลายบท และตั้งใจว่าเมื่อมีเวลาจะกลับมาอ่านให้ได้ทั้งหมด ขณะอ่านก็ทำ ให้เกิดความทราบซึ้ง ศรัทธา และข้อคิดที่กระตุ้นเตือนให้หันมาสำรวดูความบกพร่องและกิเลส ของตัวเอง ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่กรุณาอุตส่าห์เขียนให้อ่าน ขออนุญาตเพิ่มเติมจากที่เขึยนไว้ในความเห็นที่ ๖ เพื่อให้เห็นคำสนธิและความหมายให้ ชัดเจนยิ่งขึ้นดังต่อไปนี้ คำว่า "ธัมเมกขสถูป" มีคำสนธิว่า ธัมม + อิกฺข + สถูป = ธัมเมกขสถูป ตามหลักไวยยากรณ์บาลี อิ แปลงเป็น เอ ก็ได้ แปลงเป็น ย ก็ได็ ในที่นี้ท่านแปลงเป็น เอ จึงได้รูปเป็น "ธัมเมกขสถูป" อย่างที่เห็น คำว่า อิกฺข แปลว่า เห็น เช่นในคำว่า (สํสาเร) ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ใดย่อมเห็นภัย ใน (สงสาร) เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า ภิกขุ เพราะฉะนั้น คำว่า ธัมเมกขสถูป จึงน่าจะมีความหมายว่า สถูปเป็นที่เห็นธรรม คือหมายถึง ว่า สถูปนี้สร้างขึ้นไว้เพื่อแสดงให้รู้ว่าสถานที่นี้เป็นที่ที่พระอัญญาโกณฑัญญะได้เห็นธรรม อันเป็นการยืนยันและเป็นสักขีพยานความตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งแรกว่า พระธรรมที่ พระองค์ตรัสรู้นั้นมีจริง และสามารถรู้ตามได้จริง ผิดถูกประการใด ขอฝ่ากไว้ให้ท่านผู้รู้ได้กรุณาช่วยพิจารณาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
guy
วันที่ 25 มี.ค. 2554

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chookasem
วันที่ 27 มี.ค. 2554

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Naza
วันที่ 30 ก.ค. 2566

ขอบคุณและอนุโมทนาเจ้าค่ะ เขียนได้ดีอ่านเพลินจิตดีค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้ธรรม ได้ศรัทธาธรรมเพิ่มขึ้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ