กระเสือกกระสน

 
kanchana.c
วันที่  2 ม.ค. 2553
หมายเลข  14966
อ่าน  1,630

คงเคยเห็นปลาที่ถูกจับขึ้นมาจากน้ำแล้วว่า ถ้ายังไม่ตายมันจะพยายามกระเสือกกระสนลงไปในน้ำอีก แม้บางทีน้ำนั้นจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตาม อย่างปลาที่ถูกจับมาขายในตลาด ก็พยายามดิ้นกระเสือกกระสนเหมือนกัน ซึ่งเราก็รู้ว่า มันอยากไปหาที่ๆ มีน้ำถึงจะหยุดกระเสือกกระสน และดำผุดดำว่ายอย่างมีความสุข

วันนี้ท่านอาจารย์พูดในระหว่างรับประทานอาหารกลางวันว่า จิตที่มีความเห็นถูกเพียงชั่วขณะหนึ่งนั้น ก็เหมือนปลาที่ถูกจับขึ้นมาบนบก จะพยายามกระเสือกกระสนลงน้ำไปอีก น้ำนั้นคือห้วงน้ำ (โอฆะ) คือ ความความยินดีในกาม ความเห็นผิด ความยินดีในภพ และความไม่รู้

ใช่เลย เมื่อฟังธรรม มีความเข้าใจ มีความเห็นถูกว่า ทุกอย่างเป็นธรรมเพียงชั่วขณะที่ได้ยิน แล้วก็อยากจะให้มีความเข้าใจนานขึ้น มากขึ้นไปอีก ก็กระเสือกกระสนลงน้ำทันที ทุกขณะที่ได้ยินได้ฟังธรรม พอเข้าใจ แล้วก็หลงลืมทันที ก็เพราะยังพอใจที่จะอยู่ในห้วงน้ำใหญ่นั้นต่อไป ดำผุดดำว่ายเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏฏ์เช่นที่ผ่านมาแล้วนานแสนนาน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Pinyapachaya
วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 389

"ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกอันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาจรยกขึ้นจากอาลัย คือ กามคุณ ๕ แล้ว ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมารย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันพรานเบ็ด ยกขึ้นจาก (ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น."

จิตเป็นสภาพธรรมที่รักษายากเพราะย่อมไหลไปสู่ที่ต่ำในอารมณ์ต่างๆ ด้วยจิตที่เป็นอกุศล เมื่อได้มีโอกาสฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้นทีละเล็กละน้อย แต่ยังมีความไม่รู้และกิเลสอื่นๆ อีกมากมาย ยังอยู่ในห้วงน้ำ (โอฆะ) ทั้ง 4 คือ

1. กามโอฆะ ห้วงน้ำคือความยินดี พอใจในรูปเสียง กลิ่น รส เป็นต้น

2. ภโวฆะ ห้วงน้ำคือความยินดีพอใจในอัตภาพนี้ ในภพ

3. ทิฎโฐฆะ ห้วงน้ำคือความเห็นผิดประการต่างๆ

4. อวิชโชฆะ ห้วงน้ำคือความไม่รู้ตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 3 ม.ค. 2553

สัตว์โลกย่อมจมอยู่ในห้วงน้ำ ดั่งปลาในห้วงน้ำ เมื่อมีโอกาสเจริญปัญญาในหนทางที่ถูก แต่เป็นเพียงปัญญาขั้นการฟังก็ยังจมอยู่ในห้วงน้ำ เมื่อเข้าใจขึ้นก็เหมือนปลาที่ถูกซัดไว้บนบก ย่อมดิ้นรนที่จะลงไปสู่ห้วงน้ำคือกิเลสประการต่างๆ อีก ยังอยากรู้มากๆ ยังอยากได้ผลเร็ว หรือต้องการลาภ สักการะ เป็นต้น

ผู้มีปัญญาจึงพิจารณาตามความเป็นจริง อดทนที่จะฟังธรรมต่อไป ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น แต่เพื่อรู้ความจริงในขณะนี้และไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ

[เล่มที่ 40] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑-หน้าที่ 392

ปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำย่อมดิ้นรนฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อมทำจิตนั้นให้ตรง คือให้ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารลือกิเลสวัฏฏ์ไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อมดิ้นรนดุจปลานั้นฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสียคือควรละบ่วงมารกล่าวคือกิเลสวัฏฏ์อันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 3 ม.ค. 2553

ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน เช่น ความสำคัญตนว่ารู้แล้ว เมื่อบุคคลอื่นแสดงธรรมก็ไม่ฟังธรรมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Sam
วันที่ 4 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
h_peijen
วันที่ 4 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 4 ม.ค. 2553

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ฉะนั้น สัตว์โลกอันจิตย่อมนำไป ย่อมกระเสือกกระสนไปเพราะจิต สัตว์ทั้งหมดทีเดียว ย่อมเป็นไปตามอำนาจของธรรมอัน หนึ่งคือจิต ดังนี้.

ตราบใดที่ยังมีกิเลส ก็เหมือนปลาซึ่งเป็นสัตว์เดรัชฉานที่มีธรรมชาติดิ้นรนกระเสือกกระสนหนีภัยอันตรายต่างๆ

เชิญคลิกอ่าน...

ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสน [ธรรมปริยายสูตร]

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วิริยะ
วันที่ 4 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
orawan.c
วันที่ 5 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สิริพรรณ
วันที่ 5 ก.ค. 2560

กราบอนุโมทนาขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
panasda
วันที่ 5 ก.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ