เวทนาขันธ์ และ ผัสสเจตสิก

 
พุทธรักษา
วันที่  4 ม.ค. 2553
หมายเลข  14991
อ่าน  1,056

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เวทนาขันธ์ จำแนกเป็น ๖ โดยนัยของ ทวาร ๖ คือ เวทนา (ความรู้สึก) ที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ เวทนาทั้ง ๖ นี้ ต่างกัน เพราะเกิดจากปัจจัยที่ต่างกัน เวทนาเกิดขึ้นและดับไปพร้อมกับจิตที่เวทนานั้นๆ เกิดร่วมด้วยเสมอฉะนั้น ทุกขณะ (จิต) จึงไม่ใช่เวทนาเดียวกันเลย

ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เคสัญญสูตรที่ ๒ มีข้อความว่า

"ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำของเรา สั่งสอนพวกเธอฯ ถ้าเมื่อภิกษุ มีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ ว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็สุขเวทนานี้แล อาศัย จึงเกิดขึ้น ไม่อาศัย ก็ไม่เกิดขึ้นอาศัยอะไร อาศัย "ผัสสะ" นี้เอง ก็แต่ว่า "ผัสสะ" นี้ ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย จึงเกิดขึ้น

ก็สุขเวทนา ซึ่งอาศัยผัสสะ อันไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัย จึงเกิดขึ้น (เวทนาและผัสสะ) เกิดขึ้นแล้วแก่เรา จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้

เธอย่อมพิจารณา เห็นความไม่เที่ยงเธอย่อมพิจารณา เห็นความเสื่อมไปเธอย่อมพิจารณา เห็นความคลายไปเธอย่อมพิจารณา เห็นความดับไปเธอย่อมพิจารณา เห็นความสละคืนในผัสสะ และ สุขเวทนา อยู่ ย่อมละ "ราคานุสัย" ใน ผัสสะ และ สุขเวทนา เสียได้ฯ
ข้อความเกี่ยวกับ ผัสสะและทุกขเวทนา ผัสสะและอทุกขมสุขเวทนา ก็โดยนัยเดียวกัน

ข้อความบางตอนจากหนังสือ พระอภิธรรมในชีวิตประจำวันโดย Nina Van Gorkorm แปลโดย อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
bsomsuda
วันที่ 14 ม.ค. 2553

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ