สันโดษ ๑๒ ประเภท (2)

 
sutta
วันที่  7 ม.ค. 2553
หมายเลข  15043
อ่าน  919

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

อรรถกถาสามัญญผลสูตร

ก็บริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม ไม้ชําระฟัน เข็ม ประคดเอว และผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยความยินดีปัจจัยตามมีตาม ได้ ๑๒ อย่างนี้. สมจริงดังที่ ท่านกล่าวไว้ว่า ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม ประคดเอว รวมทั้งผ้ากรองน้ำ เป็น ๘ เหล่านี้ เป็นบริขารของภิกษุผู้ประกอบความเพียร. ก็เครื่องปูลาดซึ่งปูไว้ในที่นั้น หรือกุญแจ ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มี บริขาร ๙ อย่าง เข้าไปสู่ที่นอน. ผ้าปูนั่งหรือท่อนหนัง ย่อมควรแก่ ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๐ อย่าง. ไม้เท้าหรือหลอดน้ำมัน ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๑ อย่าง ร่มหรือรองเท้า ย่อมควรแก่ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๒ อย่าง. ก็บรรดาภิกษุเหล่านี้ ภิกษุผู้มี บริขาร ๘ เท่านั้น ชื่อว่าผู้สันโดษ นอกนี้ชื่อว่าไม่สันโดษ แต่ไม่ควรเรียกว่า มักมาก เลี้ยงยาก. เมื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีความประพฤติเบาพร้อมด้วยประการ ฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ภิกษุนี้เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเครื่องบริหารกาย เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า กายปริหาริเกน ได้แก่ จีวรพอเป็นเครื่องบริหารกาย. บทว่า กุจฺฉิปริหาริเกน ได้แก่จีวรพอเป็นเครื่องบริหารท้อง. บทว่า สมาทาเยว ปกฺกมติ ความว่า ถือเอาเพียงบริขาร ๘ นั้น ทั้งหมดเท่านั้น ทําให้ติดตัวไป. ไม่มีความห่วงใยหรือ ผูกพันว่าวิหาร บริเวณ อุปฏฐากของเรา. เธอเหมือนลูกศรที่หลุดจากแล่ง และ เหมือนช้างซับมัน หลีกออกจากโขลง บริโภคเสนาสนะตามที่ปรารถนา เป็นราวป่า โคนไม้ เงื้อมเขาในป่า รูปเดียวเท่านั้นยืน รูปเดียวเท่านั้นนั่งรูปเดียว ไม่มีเพื่อนในอิริยาบถทั้งปวง ย่อมถึงความเป็นผู้เหมือนนอแรด ที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุ ยินดีอยู่ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ย่อมไปได้ ๔ ทิศ ไม่ติดขัด อดกลั้นต่ออันตราย ทั้งหลาย ไม่หวาดหวั่น คนเดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด ดังนี้.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 25 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ