สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"สังขารขันธ์" คือ "เจตสิก ๕๐ ประเภท" (เว้นเวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก) สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง สามารถรู้ว่าสังขารขันธ์มีจริง ในขณะต่างๆ เช่น ลักษณะของ "โสภณเจตสิก" ปรากฏ เมื่อสติ ระลึก รู้ ลักษณะของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตา ความกรุณา เป็นต้น หรือ ขณะที่มีลักษณะของ "อกุศลจิตเจตสิก" กำลังเกิดกับจิต เช่น ลักษณะของโทสเจตสิก มัจฉริยะ เป็นต้น
สังขารขันธ์ เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะมีปัจจัย แล้วดับไปสังขารขันธ์ จึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
"วิญญาณขันธ์" หมายถึง "จิตทุกประเภท" คือ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท (โดยพิศดาร)
จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง สามารถรู้ว่า จิต มีจริง เมื่อมีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสทางกาย และ มีการคิดนึก
วิญญาณขันธ์ หรือ จิตทุกประเภท เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะมีปัจจัย แล้วดับไปวิญญาณขันธ์ จึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ (รวมอยู่ในขันธ์ ๕) เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วดับไปเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
ข้อความบางตอนจากหนังสือ พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน โดย Nina Van Gorkorm แปลโดย อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม
ขออนุโมทนา