ระงับกายสังขาร (มหาวิภังค์)
[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๔๕
ข้อความบางตอนจาก
อรรถกถา อธิบายอานาปานสติ
ข้อว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ ฯ เป ฯ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้สงบคือระงับ ดับ ได้แก่ ให้กายสังขารที่หยาบสงบไป หายใจเข้าหายใจออก ในคำว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขารที่หยาบนั้น พึงทราบความที่ลมเป็นของหยาบและละเอียด และความระงับอย่างนี้ คือ :-
ก็ในกาลก่อนคือ ในเวลาที่ภิกษุนี้ยังความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้สงบคือ ระงับ ดับได้แก่ ให้กายสังขารที่หยาบสงบไป หายใจเข้าหายใจออก ในคำว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขารที่หยาบ นั้นพึงทราบความที่ลมเป็นของหยาบและละเอียด และความระงับอย่างนี้ คือ :-
ก็ในกาลก่อนคือในเวลาที่ภิกษุนี้ ยังไม่ได้กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ยังมีความกระวนกระวาย ยังหยาบ เมื่อเมื่อกายและจิตซึ่งเป็นของหยาบ ยังไม่สงบ แม้ลมหายใจเข้าและหายใจออกก็เป็นของหยาบ คือเป็นไปเกินกำลัง จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้างหายใจออกบ้างทางปาก ต่อเมื่อใด กายก็ดี จิตก็ดี เป็นของอันเธอกำหนดแล้ว เมื่อนั้น กายและจิตนั้นจึงเป็นของสงบระงับ ครั้นเมื่อกายและจิตนั้นสงบแล้ว ลมหายใจเข้าและหายใจออกย่อมเป็นไปละเอียด คือเป็นสภาพถึงอาการที่จะต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่หนอ เปรียบเหมือนลมหายใจเข้าและหายใจออก ของบุรุษผู้วิ่งลงจากภูเขา หรือผู้ปลงของหนักลงจากศีรษะแล้วยืนอยู่ย่อมเป็นของหยาบ จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างทางปาก ต่อเมื่อใด เขาบรรเทาความกระวนกระวายนั้นเสีย อาบและดื่มน้ำแล้ว เอาผ้าเปียกคลุมที่หน้าอกนอนพักที่ร่มไม้เย็นๆ เมื่อนั้น ลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้นของเขา จึงเป็นของละเอียด คือถึงอาการที่จะต้องค้นหาว่ามีอยู่หรือไม่หนอ
แม้ฉันใด ในกาลก่อน คือในเวลาที่ภิกษุนี้ยังไม่ได้กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ฯลฯ คือ ถึงอาการที่ต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่หนอ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะความจริงเป็นอย่างนั้น
ในกาลก่อน คือในเวลาที่เธอยังมิได้กำหนดกรรมฐาน การคำนึง การประมวลมา การมนสิการและการพิจารณาว่า เราจะระงับกายสังขารส่วนหยาบๆ ดังนี้ หามีแก่เธอนั้นไม่ แต่ในเวลาที่เธอกำหนดแล้ว จึงมีได้ เพราะเหตุนั้นในเวลาที่กำหนดกรรมฐาน กายสังขารของเธอนั้น จึงเป็นของละเอียดกว่าเวลาที่ยังไม่ได้กำหนด ฯลฯ
เรียนถาม
ดิฉันกำลังพยายามศึกษา เริ่มจากคำว่า อุปธิและอภิสังขาร ซึ่งก็ยากมาก ยังไม่เข้าใจนัก ค้นหาไปมาก็มาพบหัวข้อนี้เข้า เพราะกายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร ก็อยู่ในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน แต่ที่อยากทราบคือ ข้อความข้างบนทั้งหมด น่าจะเกี่ยวข้องกับผู้ที่เจริญฌาณ หรือผู้ที่มีอุปนิสัยที่จะเจริญฌาณ ใช่หรือไม่
ขอบพระคุณอย่างสูง