พิจารณาดูกายโดยอิริยาบถ

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  18 ม.ค. 2553
หมายเลข  15161
อ่าน  1,348

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ -หน้าที่ 684 - 686 พิจารณาดูกายโดยอิริยาบถ

[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจําแนกการพิจารณาดูกาย โดยอัสสาสะและป้ส-สาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจําแนกโดยอิริยาบถ จึงได้ตรัสคํามีอาทิไว้ว่า ปุน จ ปร. จะวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป :- ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา ถึงสุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอก เมื่อเดินไปก็รู้โดยแท้ว่า เรากําลัง เดิน. แต่การรู้นั่น พระองค์มิได้ตรัสหมายเอาการรู้แบบนี้. เพราะว่าการรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิ (การยึดถือว่าเป็นสัตว์) ไม่ได้. ถอนอัตตสัญญา (ความสําคัญว่าเป็นอัตตา) ไม่ออก. ไม่เป็นกรรมฐาน หรือสติปัฏฐาน- ภาวนา. แต่การรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูลัทธิได้ ถอนอัตตสัญญาได้ เป็น กรรมฐาน หรือเป็นสติปัฏฐานภาวนา. ความจริง การรู้นี้ พระองค์ตรัสหมายเอาการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่าใครเดิน? การเดินของใคร? เดินเพราะเหตุอะไร? ถึงในการยืน ก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์ตัวไหน หรือคนคนไหนเดิน. บทว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่มีการเดินของสัตว์ตัวไหน บทว่า เดินเพราะเหตุอะไร ความว่า เดินไป โดยการแผ่ขยาย ของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต. วาโยธาตุเกิดจากจิต เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้ จะรู้ชัด (อิริยาบถ) อย่างนี้ว่า จิต (ความคิด) เกิดขึ้นว่า เราจักเดิน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหววาโยเกิด. การเคลื่อนไหวกายทั้งหมดไปข้างหน้า โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุอัน เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การเดิน. แม้ในการยืนเป็นต้น ก็มีนัยนี้ เหมือนกัน. แม้ในบรรดาการยืนเป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยต่อไป จิต (ความคิด) เกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหววาโยเกิด. ภาวะที่กายทั้งหมดตั้งแต่ที่สุด (คือศีรษะถึงปลายเท้า) ยึดขึ้น โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การยืน. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหว วาโยเกิด การย่อกายตอนล่างลง การยึดกายตอนบนขึ้น โดยการแผ่ขยาย ของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การนั่ง. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตจะให้วาโยนั้นเกิด จะให้การเคลื่อนไหววาโยเกิด. การเหยียดร่างกายทั้งหมดออกไปตามทางขวาง โดยการ แผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การนอน อาการ ของเขาผู้รู้เห็นอยู่อย่างนี้ เรียกว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน. ถามว่า มีสัตว์อะไรเดินหรือยืนหรือ? ตอบว่า ไม่มี. แต่เหมือนคําที่เรียกว่า เกวียนไป เกวียนหยุด. ก็ไม่มีอะไรที่ชื่อว่า เกวียนจะไปหรือจะหยุด. แต่เมื่อสารถีผู้ฉลาด เทียมโค ๔ ตัวขับไป จะมีก็แต่เพียงการเรียกขานกันว่าเกวียนไป เกวียนหยุด ฉันใด. กาย เหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิตเหมือนโค จิตเหมือนสารถี เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน วาโยธาตุที่จะให้เกิดวิญญัติ ก็จะ เกิดขึ้น การเดินเป็นต้น จะเป็นไปโดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต จะมีแต่เพียงการเรียกขานกันว่าสัตว์เดิน สัตว์ยืน ฉันไป ฉันยืน ฉันนั้นเหมือนกัน. เรือวิ่งไปได้ เพราะกําลังของลม ลูกศรวิ่งไปได้ เพราะกําลังของสาย ฉันใด ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น เดินไปได้ เพราะลม (ภายใน) พัดผัน. แม้กายยนต์นี้ ที่ (นายช่างคือตัณหาประกอบไว้) เดิน ยิน นั่ง ได้ ด้วยอํานาจของสายชัก คือจิต เหมือน หุ่นยนต์ เคลื่อนไหวได้ ด้วยอํานาจของสายชัก ในเรื่องนี้ จะมีสัตว์อะไร นอกจากเหตุ ปัจจัย ที่ยืน หรือเดินไป ด้วยอานุภาพของตน. เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนั้นกําหนดอยู่ซึ่งอิริยาบถเดิน เป็นต้น ที่เป็นไปโดยเหตุและปัจจัยเท่านั้นอย่างนี้ พึงทราบเถิดว่า บุคคลนั้นเมื่อ เดิน ก็รู้ชัดว่า เราเดิน (เมื่อยืน นั่ง หรือนอน) ก็รู้ชัดว่า เรายืน นั่งหรือนอน.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ