ขอคำอธิบายค่ะ พระไตรปิฎกฉบับบมูลนิธิมหามกุฏฯ

 
คนรักธรรมะ
วันที่  19 ม.ค. 2553
หมายเลข  15191
อ่าน  1,637

คำอธิบายโดยละเอียดอยู่ในอรรถกถา พระไตรปิฎกฉบับบมูลนิธิมหามกุฏฯ

เล่มที่ ๔๐ ตั้งหน้า ๓๘๗ เป็นต้นไปครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 387


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 20 ม.ค. 2553

คำอธิบายโดยละเอียดอยู่ในอรรถกถา พระไตรปิฎกฉบับบมูลนิธิมหามกฏ ฯ

เล่มที่ ๔๐ ตั้งหน้า ๓๘๗ เป็นต้นไปครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 387

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 20 ม.ค. 2553

ขอบคุณค่ะ คุณ prachern.s

จะขอรบกวนถามต่อ ตามความสงสัยในแต่ละข้อนะคะ

ข้อ ๒ การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ จากข้อหนึ่ง ผู้มีปัญญาย่อมเห็นภัยในวัฏฏะ และฝึกจิตตนด้วยการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อต้องการหลุดจากบ่วงมาร เสมือนปลาที่ติดเบ็ดของนายพราน ย่อมไม่อยู่เฉย แต่พยายามดิ้นรนเพื่อความหลุดพ้น เช่นกัน (เข้าใจอย่างนี้ ถูกต้องหรือไม่คะ)

จนมาสู่ข้อ ๒ การฝึกจิตอันข่มได้ยาก น่าจะหมายถึง การฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน (หรือว่า ฝึกสมถะ คะ) และ ที่ว่า เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี หมายความว่าอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 20 ม.ค. 2553

เรียน ความเห็นที่ 2 ครับ

การฝึกจิตต้องเป็นเรื่องของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็ฝึกไม่ได้ ในสมัยครั้งพุทธกาล พระภิกษุท่านฝึกจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา และธรรมชาติของจิตเกิดดับรวดเร็ว และกลับกลอก และยินดีในกามเป็นปกติ แต่การฝึกจิต เป็นการดี

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 20 ม.ค. 2553

ขอบคุณมากค่ะ

(นี่ล่ะค่ะปัญหา เพราะอ่านแล้ว แปลความหมายไม่ค่อยได้ เลยทำให้เข้าใจได้ยาก ถ้าเอาความคิดตัวเองล้วนๆ ก็ผิดหมด)

เข้าใจขึ้นแล้วค่ะ สำหรับข้อ ๒ เพราะ จิตมีธรรมชาติที่เกิดดับรวดเร็วและกลับกลอก มีความยินดีในกามเป็นปรกติ ผู้มีปัญญาย่อมฝึกจิต จึงเป็นการดี

ข้อ ๓ ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้

ขอรบกวนถามต่อค่ะ ตรงข้อความที่ว่า พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก หมายถึงว่า อย่างไรคะ ไม่เข้าใจตรงที่ว่า ทำไมต้องรักษาจิต และที่ว่า เห็นได้แสนยาก คือ เห็นการเกิดดับของจิตได้ยาก หรืออย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 21 ม.ค. 2553

การอบรมเจริญสมถและวิปัสสนา ชื่อว่า การรักษาจิต ถ้าไม่รักษาจิต จิตก็เป็นไปกับอกุศล จิตที่เป็นไปกับอกุศลมีโทษ จิตที่เป็นไปกับกุศลมีคุณ ควรอบรมให้มี ให้เกิดขึ้น การเห็นจิตตามความเป็นจริงว่า เป็นธัมมะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นได้แสนยาก ถ้าไม่มีปัญญา เห็นตามเป็นจริงไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คุณ
วันที่ 21 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 21 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 22 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 22 ม.ค. 2553

ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อ ๓ เข้าใจยิ่งขึ้นแล้วค่ะ จะขอถามข้อต่อมาค่ะว่า

๔. ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียวไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ที่กล่าวว่า ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต เข้าใจว่าน่าจะหมายถึง ผู้ที่อบรมจิต แต่ไม่เข้าใจตรงที่ว่า (จิต) อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว หมายถึงอะไรคะ โดยเฉพาะที่ว่า เที่ยวไปดวงเดียว

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 22 ม.ค. 2553

เวลาที่จิตเกิดขึ้นแต่ละครั้ง เกิดขึ้นที่ละดวงหรือหลายดวงพร้อมๆ กันค่ะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prachern.s
วันที่ 23 ม.ค. 2553

เรียน ความเห็นที่ 9

เสริมความเห็นที่ 1 ครับ จิตเกิดขึ้นทีละขณะ ชื่อว่า เที่ยวไปดวงเดียว เมื่อจิตเกิดขึ้นคิดไปในสถานที่ต่างๆ ชื่อว่า ไปในที่ไกล

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 24 ม.ค. 2553

ตอบคุณ ไตรสรณคมน์ ค่ะ จากที่ทราบมาก็คือ จิต เกิด ทีละดวง ค่ะ ขอบคุณค่ะ ถามมาในลักษณะนี้ ก็เข้าใจความหมายของคำนี้ได้แล้วค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 24 ม.ค. 2553

เรียนคุณ prachern.s ในความเห็นที่ 11 ขอขอบคุณมากค่ะ และได้ความชัดเจนขึ้นแล้วค่ะ

ส่วนในข้อต่อมา ข้อ ๕ ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอันราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะกระทบ ละบุญและบาปได้ ตื่นอยู่ เข้าใจว่า ผู้ที่ฝึกตน (อบรมจิตแล้ว) ย่อมมีปัญญารู้แจ้งในพระสัทธรรม ไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ (แต่ไม่แน่ใจว่า ท่านหมายถึง เฉพาะพระอรหันต์ หรือเปล่า หรือ ตั้งแต่พระอริยะขึ้นไปคะ)

ข้อ ๖ (บัณฑิต) ผู้รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อกั้นจิต อันเปรียบด้วยนคร พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญา พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่ น่าจะหมายถึง กาย (อันเปรียบเหมือน หม้อ) ที่กั้น จิต (เปรียบเหมือน นคร) ผู้ฝึกตน ย่อมต่อสู้กับมาร (คือ กิเลสทั้งหลาย) ด้วยปัญญาที่เกิดจากการอบรมจิตไว้ดีแล้ว และรักษาปัญญาความรู้แจ้งนั้นไว้ แต่ไม่ยึดติด เพราะปัญญาความรู้แจ้งนั้นก็เป็นอนัตตา

ถ้ามีจุดไหนที่ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง รบกวนช่วยชี้แจงแก้ไขเพิ่มเติมด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 24 ม.ค. 2553

อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนาที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว....

ข้อความส่วนหนึ่งจากพระสูตร (ที่นำมาตั้งกระทู้นี้)

ตรุณวิปัสสนา ที่ตนชนะแล้ว ถ้าเช่นนั้น ก็แสดงว่า ยังไม่ใช่ทั้งพระอริยะ และ พระอรหันต์ (อย่างที่เข้าใจในความเห็นที่ 13) แต่หมายถึง ผู้ที่ได้วิปัสสนาญาณขั้นต้นแล้ว ใช่หรือไม่คะ

เห็นปัญหาของตัวเองว่า ไม่อาจศึกษาพระสูตรโดยไม่มีคำอธิบายเพิ่มได้ เพราะอาจจะแบ่งวรรคตอน และแปลคลาดเคลื่อนจากเนื้อความได้ ซึ่งในอรรถกถา ท่านแบ่งว่า

....อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนาที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย จบในวรรคหนึ่ง

แต่ถ้าแปลเอง จะแบ่งว่า

....อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนาที่ตนชนะแล้ว ---> จบวรรค และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว.... --->และนี่ คือ ประโยคแรกของวรรคถัดไป

แต่ยังมีผู้ทียังยึดเฉพาะพระสูตร และ ปฎิเสธพระอภิธรรม ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการเข้าใจพระธรรมที่คลาดเคลื่อนได้ง่ายมาก โดยเฉพาะในข้อ ๔ ...จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ... ซึ่งหมายถึง จิตที่เกิดทีละดวง แต่กลับแปลเป็นจิต มีดวงเดียว (จิตเที่ยง) ไปได้

ต้องขอขอบคุณและขออนุโมทนาท่านทั้งหลายในที่นี้ ที่นำพระธรรมที่ถูกต้องมาเผยแผ่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
prachern.s
วันที่ 25 ม.ค. 2553

เรียน ความเห็นที่ 13

ข้อ ๕ ส่วนใหญ่ท่านจะมุ่งหมายถึงพระอรหันต์

ข้อ ๖ เช่นเดียวกัน บัณฑิต ขั้นสูงก็คือพระอรหันต์ เป็นผู้ฝึกอบรมจิตแล้ว

และ ความเห็นที่ 14

ในรายละเอียดของอรรถกถา หน้า ๔๓๓ - ๓๔ มีว่า ในกาลจบเทศนา ภิกษุ ผู้ฟังบรรลุความเป็นพระอรหันต์ แต่พระพุทธองค์ผู้แสดง ทรงมุ่งหมายโดยนัยสูงสุด

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 26 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
sunshine
วันที่ 26 ม.ค. 2553

พุทธพจน์ "ดูก่อนอานนท์ เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือ ปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิต) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิง เหมือนความยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะอย่างนี้ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสงสาร ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้"

จำได้ว่าเมื่อสมัยที่ปฏิบัติธรรมครั้งแรก ได้เปิดอ่านพระไตยปิฏกฉบับประชาชนของมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นฉบับที่แปลและเรียบเรียงใหม่พร้อมคำอธิบาย ให้อ่านง่ายขึ้น (ขนาดอ่านง่ายแล้วนะ)

ทั้งหมดมี 1,164 หน้า ตอนนั้นก็เปิดอ่านดูอยู่สักพัก พระเจ้าช่วย ไม่รู้เรื่องเลย ก็เปิดอ่านอีกสักพักใหญ่ จนมาเข้าใจความหมายอยู่เพียงแค่บรรทัดเดียว บรรทัดเดียวเท่านั้น จาก หนึ่งพันหนึ่งร้อยหกสิบสี่หน้า จนกระทั่งปัจจุบันอ่านได้ทั้งเล่ม และรวมถึงพระไตยปิฏกทั้งสามปิฏก

ก็อ่านไป ปฏิบัติไป ฟังเทศจากวิทยุประกอบด้วย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังปฏิบัติอยู่และอ่านน้อยลง เจริญสติมากขึ้น ไปตามลำดับ คือ อยากจะบอกว่าลองทบทวนดูว่าเราข้ามขั้นข้ามลำดับไหนไปบ้างหรือป่าว อันนี้ไม่กล้ากล่าวเอง จึงยกพุทธพจน์ประกอบ คำแนะนำว่าพระองค์ก็ทรงแนะนำอย่างนี้

ดูก่อนภิษุทั้งหลาย "ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่เมื่อคบสัปบุรุษเป็นไปบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการได้ฟังพระสัทธรรมให้บริบูรณ์ การได้ฟังพระสัทธรรมบริบูรณ์แล้ว..ย่อมทำศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์ โยนิโสมนสิการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้มีสติสัมปัชญญะบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสุจริตทั้งหลายสามประการให้บริบูรณ์ สุจริตทั้งหลายสามประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานสี่ประการให้บริบูรณ์ สติปัฏฐานทั้งหลายสี่ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งหลายเจ็ดประการให้บริบูรณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหารแห่งวิชาและวิมุตตินี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้"

หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2553

เรียนคุณ prachern.s ค่ะ

ข้อ ๕ ส่วนใหญ่ท่านจะมุ่งหมายถึงพระอรหันต์

เหตุใดจึงใช้คำว่า ตรุณวิปัสสนา คะ คือเข้าใจว่า ตรุณวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาอ่อนๆ เป็นเพียงขั้นเริ่มต้นของวิปัสสนาญาณ ก็เลยเกิดความสงสัยค่ะ

ขอต่อในข้อ ๗-๙ เลยนะคะ

๗ ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว ราวกับท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น

ข้อ ๗ อธิบายค่อนข้างชัดเจน คือ ทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ร่างกายซึ่งเป็นเพียงรูปที่ไม่รู้อารมณ์ เมื่อไม่มีจิตครอง (คือ ตายแล้ว) ก็ทำอะไรไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ ร่างนี้ก็ถูกทิ้งไว้

๘ จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา (บุคคล) นั้นให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหาย ที่โจรเห็นโจร หรือคนจองเวร (ทำแก่กัน) นั้น (เสียอีก)

ข้อนี้ เข้าใจว่า น่าจะหมายถึง ผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิ นั้นสร้างความเสียหายร้ายแรงให้แก่ตน มากเสียยิ่งกว่า โจรเห็นโจร หรือ คนจองเวรทำกัน เพราะการกระทำของโจรต่อโจรหรือผู้จองเวรกันนั้น มันก็จบลงในภพชาติหนึ่งๆ เท่านั้น แต่ผู้มีมิจฉาทิฏฐินั้นมีโอกาสที่จะต้องวนเวียนอยู่ในอบายภูมิอย่างยาวนาน ซึ่งร้ายแรงกว่ามาก

๙ บิดามารดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้น (ให้ได้) แต่จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น

การตั้งจิตไว้ชอบ (สัมมาทิฏฐิ) นั้นบุคคลต้องทำเอง บิดามารดา หรือญาติทำให้ไม่ได้ และการตั้งจิตไว้ชอบย่อมประเสริฐกว่าการตั้งจิตไว้ผิด (มิจฉาทิฏฐิ)

ไม่ทราบว่า ตีความไว้อย่างนี้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือยังคะ ถ้ายังรบกวนช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 28 ม.ค. 2553

เรียน คุณ sunshine ค่ะ

โดยปกติก็ปฏิบัติบ้างค่ะ แต่ก็ให้ความสำคัญกับการศึกษาพระธรรมด้วย เพราะถ้าเข้าใจถูก รู้จุดประสงค์และขั้นตอนของการปฏิบัติดีแล้ว การปฏิบัติก็จะถูกต้อง

เพิ่งเริ่มๆ ค่ะ อาจจะต้องศึกษาให้มากหน่อย ค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ ค่ะ (พระธรรมเข้าใจยากจริงๆ ค่ะ)

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
prachern.s
วันที่ 28 ม.ค. 2553

เรียน ความเห็นที่ 18

ข้อที่ ๕ ข้อความที่ว่า ... ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอันราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะกระทบ ละบุญและบาปได้ ตื่นอยู่..

ท่อนนี้หมายถึงพระอรหันต์ แต่คำว่า ตรุณวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อนยังไม่ถึงพระอรหันต์ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 29 ม.ค. 2553

เรียน คุณ prachern.s ค่ะ

ขออภัยค่ะ อาจจะถามสับสนเอง คำว่า ตรุณวิปัสสนา นั้นน่าจะมีอธิบายอยู่ใน ข้อ ๖ ไม่ใช่ ข้อ ๕ อย่างที่เรียนถามในตอนแรก

จากข้อ ๖ ในอรรถกถา

ข้อ ๖ (บัณฑิต) ผู้รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อกั้นจิต อันเปรียบด้วยนคร พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญา พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่

น่าจะเป็นคำอธิบายพระสูตรในท่อนนี้

กุลบุตรทราบกายนี้ว่า เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย

ถ้าเช่นนั้นแสดงว่า กุลบุตรในที่นี้น่าจะเพิ่งจะได้ตรุณวิปัสสนา ยังไม่ถึงขั้นพระอริยะหรือพระอรหันต์

ส่วนที่คุณ prachern.s ยกข้อความมาแสดงในความเห็นที่ 20 ข้อ ๕ หมายถึงพระอรหันต์ ก็เข้าใจแล้วค่ะ

ขอขอบคุณสำหรับคำอธิบายทั้งหมดและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
chatchai.k
วันที่ 23 มิ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
chatchai.k
วันที่ 23 มิ.ย. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ