เห็นตนมีรูป
ชีวิตคนเราวันๆ หนึ่่ง ทำแต่เรื่องของคนอื่น บางทีตลอดชีวิตที่ผ่านมา ไม่เคยมีเวลานึกถึงตัวเอง ไม่มีเวลานึกถึงพ่อแม่ บางครั้งก้ท้อแท้รำพึงว่าไม่รู้ว่าเิกิดมาทำไม พอได้สัมผัสทัสนานุตริยะ สวนานุตริย สงบกาย สงบใจ้ ก็น้ำตาไหล รำพึงถึงตน รำพึงถึงพ่อแม่ที่ถนอมกล่อมขวัญ ให้กำเนิดตนมา
ถ้าคนเราเกิดปัญญาเห็นว่าชีวิตคือขณะจิตที่เกิดดับสืบต่อกัน กายคือรูปที่เกิดดับสืบต่อกัน คนเราจะเป็นอย่างไรครับ?
เมื่อ เกิดปัญญาที่ทำให้รู้แจ้งใน อริยะสัจจธรรมแล้ว
จิตใจจะละคลายจากสิ่งที่เคยยึดเกาะไว้ทั้งหมดในทันที
แล้วจะเสมือนมี กำแพงใหญ่ๆ มากั้นกระแสกิเลสไว้ ไม่ให้มาประทะจิตเราโดยตรง กำแพงนี้จะเป็นสติ คือรู้ทันกิเลสในทันที่ ...แต่เพราะว่า ยังมีกิเลสภายในอยู่อีกพอสมควร จึงอาจเผลอปล่อยกิเลสบางส่วน ให้ข้ามกำแพงเข้ามาได้อีก หากไม่ได้เจริญสติปัฏฐานอยู่เป็นนิจ
แล้วเมื่อพิจารณาด้วยปัญญาต่อเนื่องเรื่อยๆ ไป ก็จะเกิดความปล่อยวางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับขั้น ...จะเกิดสภาพ โปร่ง โล่ง สบาย ...โดยไร้ซึ่งสิ่งใดจะมาเปรียบ หรืออธิบายความรู้สึกนี้ได้เลย
ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น กับจิต เป็นนามธรรม จึงไม่อาจล่วงรู้ด้วยการมองจากภายนอกได้เลย
แล้วก็ไม่ใช่ว่า ร่างกายจะต้องผ่องใสขึ้น ผิวพรรณสวยงาม โรคร้ายหายไป มีแสงออร่า หรือเกิดพลังอะไรพวกนั้นเลยครับ (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด อาจจะมีเหล่านี้ได้ ก็ต้องเป็นพระอรหันต์แล้วเท่านั้น) ...ภายนอก จะเป็นอย่างไร ก็เป็นแบบเดิมอยู่อย่างนั้น
ขออนุโมทนา จิตผู้ใฝ่ธรรม
เรียนถามเจ้าของกระทู้ค่ะ
คำว่า ทัสนานุตริยะ และสวนานุตริย หมายความว่าอย่างไรคะ
ขอบพระคุณค่ะ
เรียนความเห็นที่ ๔ ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดที่ อนุตริยสูตร .. สิ่งยอดเยี่ยม ๖
ขณะที่ประเสริฐที่สุดในชีวิตคือ ขณะที่ได้ฟังธรรมะแล้วเข้าใจ มีความเห็นถูกค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าขณะที่ประเสริฐที่สุดในชีวิตคือ การได้ฟังข้อธรรม-คำสอนต่างๆ แล้วเข้าใจ และนำสิ่งที่เข้าใจนั้นไปพิจารณาขณะทำสมาธิ จนจิตเกิดความสงบนิ่งในที่สุด
ผมเรียกว่าเป็นความประเสริฐและมีความสุขที่สุดแล้วครับ หากเทียบกับสมัยที่ยังไม่เคยได้ศึกษาข้อธรรม-คำสอน จิตจะดิ้นรนเร่าร้อน เพ้อเจ้อมีแต่ความอยากโดยไม่รู้จักจบสิ้นจนทุกวันนี้เข้าใจแล้วว่า
การไม่อยู่อย่างอยาก
มันเป็นสุขอย่างไร ผมไม่ทราบถึงศัพท์ที่ใช้เท่าไหร่นะ แต่ว่าเป็นความรู้สึกที่ได้รับจากศึกษาและปฎิบัติครับ