การหลับไม่จำเป็นอีกต่อไปเมื่อเกิดสติปัฏฐาน

 
สามารถ
วันที่  25 ม.ค. 2553
หมายเลข  15261
อ่าน  3,403

ผมเห็นว่าจริงๆ แล้วชีวิตเราไม่จำเป็นต้องหลับครับด้วยผมเห็นว่า ร่างกายไม่ใช่จิตใจ จิตใจไม่ใช่ร่างกายที่เราเรียกว่า “หลับ” นั้นเป็นการพักผ่อนของร่างกายหรือจิตใจกันแน่...ก็ด้วยกายที่ไม่รู้อะไรนั้น จะเมื่อย ปวดอย่างไร ร่างกายก็ไม่รู้เรื่องหากจะพักกายก็เพียงมีการเคลื่อนไหวและหยุดพักที่เหมาะสมก็น่าเพียงพอส่วนใจนั้น ด้วยเป็นนามธรรมที่รู้ ไม่มีตัวตน เป็นโลกทั้งหมดในขณะนี้การพักใจนั้นคือการที่ใจได้สงบจากอกุศล ความกังวล ความทุกข์ ความต้องการทั้งปวงการนอนหลับพร้อมกับความกังวล ร่างกายอาจได้พักผ่อนแต่ใจไม่การเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอด้วยสติที่รู้ธรรมเฉพาะหน้า จิตใจไม่หม่นหมองกังวล กายที่ไหวตามใจที่สงบย่อมไม่ทำความลำบากให้กายเอง นี้คือการพักผ่อนที่แท้จริงดังนี้ผมเห็นว่า หากเราเป็นผู้ที่มีศรัทธา สมาธิ ความเพียร สติ ปัญญา ไม่ห่วงความตื่น-หลับ ไม่กังวลว่าเรานอนมากไป น้อยไป ร่างกายควรพักผ่อนอีก ฯลฯ ...แล้ว ความหลับไหลด้วยอำนาจแห่งกิเลสก็จะไม่ครอบงำเราได้ เป็นผู้ตื่นเสมอด้วยสติปัญญา (สติปัฏฐาน) ท่านอื่นเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ตะวัน
วันที่ 26 ม.ค. 2553

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

จริงหรือครับ ผมรู้แค่เพียงว่าขณะอยู่ในสมาธินั้น จิตจะนิ่งสงบไม่ดิ้นรนเร่าร้อน แต่ผมไม่เคยรู้เลยว่าร่างกายไม่ต้องการการพักผ่อนก็สามารถทำได้ วิธีการไม่หลับไม่นอน เรียกว่า เรากำลังเดินทางสายตึงเกินไปหรือเปล่าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
รากไม้
วันที่ 26 ม.ค. 2553

เรียนคุณ สามารถ

จริงๆ แล้วร่างกายก็ง่วงนะครับเหมือนปกติดังเช่น ความหิวเกิดเมื่อร่างกายต้องการพลังงานเพิ่ม เกิดอาการเมื่อยเมื่อกล้ามเนื้อเหนื่อยล้า เกิดความเจ็บปวดเมื่อเป็นโรค รู้สึกรู้หนาวรู้ร้อน แต่ว่าจิตรับทราบความเป็นจริง แต่จิตไม่ใส่ใจ (ไม่ใช่การคิดว่าไม่ใส่ใจ หรือ กำลังคิดว่าต้องไม่ใส่ใจ หรือ จะไม่ใส่ใจ กับสภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริงเหล่านั้น) เนื่องด้วยปัญญา "รู้ทันทีในขณะนั้น ว่าทั้งหมดนั้น" แท้จริงแล้วเป็นนามธรรม ที่เกิดจากรูปธรรม และกรรม เท่านั้น ไม่มีอะไรสาระอะไรเลย ...จึงเกิดการละคลาย จากทุกสิ่งที่เป็นรูปธรรมเหล่านั้นได้ ทั้งหมดเลย...ที่กล่าวข้างต้นนี้ี้ เพราะกำลังเจริญสติปัฏฐานอยู่นั่นเอง แต่ขณะที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ขณะง่วงของร่างกายเกิด ก็จะเคลิ้มๆ ด้วยความง่วง ถ้าฝืนมากๆ ก็จะหลับในไปเลย หรือขณะที่เจ็บปวด ก็จะทรมานอยากหายเร็วๆ หรือขณะที่คัน ก็อยากเอามือไปเกา เป็นต้นจิตรู้สภาพความง่วงของร่างกาย รู้ว่าร่างกายง่วงแล้ว-กำลังง่วงอยู่ แต่จิตไม่รับอารมณ์ของความง่วงนั้นๆ เลย จึงไม่ต้องนอนก็ได้ แต่ว่า ถ้าไม่นอนเสียบ้างเลย ร่างกายก็จะเสื่อมโทรมเร็ว อวัยวะภายในไม่ได้พักผ่อน และอายุสั้นครับอย่างไรก็ตาม เมื่อมีสติอยู่นั้น สติก็จะวนเวียนอยู่กับ ผัสสะทั้ง 6 ทาง ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา ดังนั้นจิตจะไม่เคลิ้มไป ตามความง่วงนั้นเลย ผู้นั้นก็ไม่นอนเป็นเวลาหลายๆ วัน ต่อเนื่องกันได้สบายๆ แต่จะนอนก็ต่อเมื่อถึงเวลาที่สมควรแก่การนอนจริงๆ เท่านั้น ...ข้อความท่อนใดที่ ผิดพลาด ในความหมาย ขอความกรุณาท่านผู้รู้ กรุณาเข้ามาพิจารณาให้ด้วยนะครับ ด้วยเกรงว่าอาจเกิดเป็นความรู้ที่ผิด เผยแพร่ออกไปได้ครับ เพราะเรื่องสติปัฏฐาน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นนามธรรมที่ลึกซึ้งขออนุโมทนา ดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สามารถ
วันที่ 26 ม.ค. 2553

เรียนคุณตะวัน คุณรากไม้ และทุกๆ ท่าน
ผมรู้สึกยินดีอย่างยิ่งกับการสนทนาครั้งนี้ครับ
ผมตระหนักไว้แล้วครับว่าหัวข้อที่ผมเขียนจะทำให้ผู้ที่ได้อ่านเกิดข้อคำถามอย่างแน่นอน และจะต้องมีการสนทนาเกิดขึ้นความจริงอย่างหนึ่งที่ผมขอเรียนคือกระทู้นี้ไม่ใช่การส่งเสริมให้บุคคลผู้ได้อ่านมีการไม่หลับไม่นอนกัน ไปทำอะไร อย่างไรที่แปลกไปจากชีวิตประจำวันครับ
แต่ทุกท่านที่อ่านแล้วก็เป็นผู้หลับตื่นตามปกติตามอัธยาศัยเช่นเดิมครับ

ในประเด็นของคุณตะวันที่เสนอว่า
"..วิธีการไม่หลับไม่นอน
เรียกว่าเรากำลังเดินทางสายตึงเกินไปหรือเปล่าครับ.."
ผมอธิบายอย่างเบื้องต้นครับ คือ ไม่ได้เป็นการเสนอให้มีการไปทำไม่หลับไม่นอน เป็นข้อควรพิจารณาที่ว่า เมื่อมีสติความง่วงเหงาหาวนอนก็ไม่มี ก็ด้วยแม้สติก็ทำการระลึกไปในสภาพธรรมความง่วงเหงานั้น ความกังวลเป็นห่วงถึงว่าเป็นเวลาใกล้นอนร่างกายควรพักผ่อนก็จะไม่มี ก็ด้วยสติได้ระลึกไปในความกังวลนั้นว่านี้เป็นความเยื่อใยอาวรณ์ในกลุ่มที่ประชุมของดินน้ำลมไฟ ยึดถือว่านี้คือร่างกายและเป็นร่างกายของเรา เป็นของๆ เรา ...ฯลฯ ต่างๆ นาๆ ตามอัธยาศัย เป็นต้นครับ
ทุกท่านมีการดำเนินชีวิตปกติตามความเป็นจริงดังเดิม เพียงเป็นข้อให้ได้พิจารณาขึ้น

ในประเด็นของคุณ รากไม้ที่เสนอว่า
จริงๆ แล้ว ร่างกายก็ง่วงนะครับ เหมือนปกติดัง เช่น
ความหิวเกิดเมื่อร่างกายต้องการพลังงานเพิ่ม ,
เกิดอาการเมื่อยเมื่อกล้ามเนื้อเหนื่อยล้า ,
เกิดความเจ็บปวดเมื่อเป็นโรค ,
รู้สึกรู้หนาวรู้ร้อน
แต่ว่าจิตรับทราบความเป็นจริง แต่จิตไม่ใส่ใจ (ไม่ใช่การคิดว่าไม่ใส่ใจ ...เหล่านั้น)
เนื่องด้วยปัญญา "รู้ทันทีในขณะนั้น ว่าทั้งหมดนั้น"
แท้จริงแล้วเป็นนามธรรม ที่เกิดจากรูปธรรมและกรรม เท่านั้น ไม่มีอะไรสาระอะไรเลย ...จึงเกิดการละคลายจากทุกสิ่งที่เป็นรูปธรรมเหล่านั้นได้ ทั้งหมดเลย
ในข้อนี้ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับว่า
ที่ว่า "...จริงๆ แล้ว ร่างกายก็ง่วง..." นั้นเป็นความเข้าใจผิดครับ (ขออภัยที่พูดตรง)
แต่จำเป็นต้องกล่าวอย่างนี้ ด้วยเหตุผลที่ว่า ร่างกายนั้นเป็นรูป ประกอบขึ้นด้วยรูปมีมหาภูตรูปสี่เป็นพื้นฐาน ดังนี้แล้วร่างกายจะรู้อะไรไม่ได้เลยครับ (อาจพลิกความเข้าใจของท่าน) หากพิจารณาตามความเป็นจริง จริงๆ แล้วจะทราบได้เลยว่า
ร่างกายนั้นมีฐานะไม่ต่างอะไรเลยจากก้อนหิน ก้อนดิน ภูเขา แม่น้ำ ท้องฟ้า อากาศ สายลม ต้นไม้ ...ครับ เพียงแต่เป็นที่อาศัยของนามธรรมได้เท่านั้นเองครับ ดังนั้นร่างกายจะต้องไม่ง่วง ไม่รู้สึกอะไรได้เลยครับ
(ลองพิจารณาดูว่า เส้นผม เศษเล็บ เศษผิวหนัง รังแค น้ำมูก น้ำหนอง...ที่มีอยู่เป็นส่วนหนึ่งในร่างกาย และเราบอกว่าเป็นของเรานั้น รู้อะไรบ้าง ถ้าพิจารณาดีๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ก็จะทราบความจริงเองว่าอะไรคืออะไร)
รูปไม่ใช่นาม (เชิญฟัง เทปวิทยุแผ่นที่สอง ครั้งที่ประมาณ 95)

และในตอนที่ว่า
เช่น
ความหิวเกิด
ข้อนี้ควรเปลี่ยนเป็นอย่างนี้ว่า
เช่น โลภะที่ใคร่ในอาหารเกิดเมื่อธาตุไฟ (การแสบท้อง) ในกายส่วนท้องได้กำเริบปรากฎขึ้น (ซึ่งทำให้เกิดทุกเวทนา) เมื่อร่างกายต้องการพลังงานเพิ่ม ,
ข้อนี้เป็นการเห็นว่า มีร่างกายที่ต้องการ
ข้อนี้เป็นความจริงหรือไม่ ร่างกายจะต้องการอะไร (ได้)
เราควรพิจารณาอย่างนี้ว่า
มีร่างกายอยู่ มีธาตุที่กำเริบแก่เวทนาอยู่ มีโลภะที่ต้องการอยู่

เกิดอาการเมื่อยเมื่อกล้ามเนื้อเหนื่อยล้า ,
>มีธาตุลมอยู่ มีความเห็นว่าชื่อว่า"กล้ามเนื้อ" อยู่ มีความไม่ยินดีในอารมณ์ (วาโยธาตุ) อยู่ มีความยึดถือ หวั่นไหว คล้อยตามความอ่อนเหนื่อยในธาตุลมอยู่เกิดความเจ็บปวดเมื่อเป็นโรค ,
>มีทุกขเวทนาอยู่ เมื่อธาตุทั้งสี่ ที่ดูแลยากกำเริบ ไม่สมดุลอยู่
(เหมือนอสรพิศทั้งสี่ อ่านใน อสีวสสูตร)
รู้สึกรู้หนาวรู้ร้อน
>มีนามธรรมที่รู้ในธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ตั้งชื่อกันว่า ความเย็น ,ความเย็นรู้อะไรหรือไม่?
มีนามธรรมที่รู้ในธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ตั้งชื่อกันว่า ความร้อน ,ความร้อนรู้อะไรหรือไม่?

แต่ว่าจิตรับทราบความเป็นจริง แต่จิตไม่ใส่ใจ (ไม่ใช่การคิดว่าไม่ใส่ใจ ...เหล่านั้น)
>ข้อนี้คล้ายกับมีการเห็นว่า มีตัวจิตที่ทำหน้าที่อย่างนั้น อย่างนี้ (อัตตานุทิฏฐิ ความเห็นในสิ่งใดๆ ว่า เป็นตัวเป็นตน) (ขออภันนะครับที่กล่าวตรง ถือว่าเป็นการศึกษาร่วมกันของเรา)
ผมเห็นว่าเราควรมีการพิจารณาว่า อะไรที่รู้นั้นรู้อย่างไรหนอ, อย่างไรจึงเรียกว่ารู้หนอ..

ขณะง่วงของร่างกายเกิดก็จะเคลิ้มๆ ด้วยความง่วง ถ้าฝืนมากๆ ก็จะหลับในไปเลย
>ขณะง่วงเป็นอกุศลจิต ร่างกายย่อมไหวไปด้วยธาตุลมแห่งอกุศลจิตนั้น
และด้วยความยึดถือในธาตุลมนั้น ความยินดียินร้ายเกิดขึ้น จิตย่อมหวั่นไหวไปด้วย
อำนาจแห่งโลภะ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมจิตที่รู้อารมณ์ทางทวารหกดับไป วิถีจิตทาง
ภวังจิตเกิดสืบต่อ (หลับลึก)
หน้าที่ของเราคือ ระลึกในลักษณะของความง่วง ธาตุลม ความยินดีในธาตุลม...ทุกๆ
อย่างที่ปรากฏ เป็นผู้รู้ทุกๆ อย่าง (ความง่วงคือกิเลสย่อมจะไม่ครอบงำเราได้)

จิตรู้สภาพความง่วงของร่างกาย
> ความง่วงเป็นนามธรรม ร่างกายเป็นรูปธรรม
มีความง่วง มีร่างกาย แต่ไม่มีความง่วงที่เป็นของร่างกายและของใคร

แต่ว่า ถ้าไม่นอนเสียบ้างเลย ร่างกายก็จะเสื่อมโทรมเร็ว
อวัยวะภายในไม่ได้พักผ่อน และอายุสั้นครับ
> ข้อนี้สำคัญมากครับ ผมเห็นว่าเราทุกๆ คนต่างคิดอย่างนี้
ถ้าไม่พิจารณาให้ดี เหมือนเป็นสิ่งที่จะเป็นประโยชน์
ทางร่างกายอาจเป็นประโยชน์จริงๆ แต่ทางใจแล้วผมเห็นว่าเป็นหลักฐานสำคัญว่า
"มีเราที่ห่วงกังวลในรูปร่างกายที่ไม่รู้อะไร
กลัวว่าร่างกายจะเสียหายอะไร อย่างไร
เรากลัวอายุสั้น เพราะยังยินดีในความมีชีวิต (ภวตันหา) "

อย่างนั้นเราไม่ต้องสนใจใยดีในรูปร่างกายเลยหรือ?
ผมเคยอ่านครับมีข้อหนึ่งที่พระพุทธองค์ได้แสดงไว้ว่า
ร่างกายเป็นสิ่งที่ต้องดูแล รักษา ปกป้อง คุ้มครอง และหากเราเป็นผู้คุ้มครองได้ทั้ง
ร่างกาย (อิริยาบถที่เหมาะสม พอดี, ความสะอาด, การบำรุงพอประมาณ) และ
จิตใจ (ความเป็นผู้สติ หมดความเยื่อใย,กังวล) ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าครับ


ผมใคร่เรียนให้ท่านลองพิจารณาอย่างนี้ครับว่า

หากเป็นไปได้ชีวิตเราควรที่จะเป็นผู้มีสติตลอดหรือไม่?
หรือพักไว้ก่อนเมื่อเวลาเข้านอน?

บุคคลไม่หลับ แต่เป็นผู้นอนหลับตาพิจารณาธรรมเฉพาะหน้าได้หรือไม่?
แต่เมื่อปัจจัยถึงพร้อมที่จะเกิดวิถีจิตของภวังคจิตก็จะเป็นไปตามปัจจัย บุคคลผู้มีสติปัญญากล้า จะเลือกได้หรือไม่ว่า
เราจะหลับนอนต่อด้วยอำนาจของกิเลส (โลภะที่พอใจในการนอน) ที่เรารู้อยู่ หรือ
เราจะตื่นจากการนอนนี้ เป็นผู้ตื่นเสมอ เป็นผู้มีสติ
ด้วยการที่เราไม่เห็นประโยชน์อะไร
หากจะเป็นผู้มีจิตถูกครอบงำด้วยกิเลส ความต้องการ
เราไม่ควร เพ่ง ใส่ใจ สนใจ ยินดี ในความคิดที่ชั่วคราวนี้
พิจารณาว่า นี้ความคิด นี้ความใคร่นอน การพักผ่อนของพระพุทธองค์ เป็นอย่างไร?
พระอรหันต์หลับอย่างไร?

ข้อผู้สนใจร่วมสนทนาครับ
เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
อย่าได้คิดไกลอื่น

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 27 ม.ค. 2553

ในแต่ละวัน พระพุทธเจ้า ท่านก็ยังมีช่วงเวลา ที่ท่านปล่อยให้ร่างกายได้หลับนะครับผมเคยได้ฟังมาว่า หากเจริญสติปัฏฐานจนถึงระดับนึงแล้วแม้หลับก็หลับอย่างมีสติอยู่ตลอด อย่างเช่นพระอรหันต์

แม้หลับก็จะเป็นผู้ที่ไม่มีทางฝันได้เลย เพราะกำจัดวิปลาสได้เสียสิ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
รากไม้
วันที่ 27 ม.ค. 2553

เรียน คุณตะวัน

การอดหลับอดนอน มิใช่หนทางไปสู่ความพ้นทุกข์ใดๆ ได้เลย กลับจะเป็นการทำให้ตนเองเป็นทุกข์เสียมากกว่า ...เพียงแต่ว่า สติฯ จะทำให้สามารถอดนอนเพื่อทำกิจต่างๆ ได้ มากกว่าคนปกติ เท่านั้นครับ มิได้หมายถึงว่า ผู้เจริญสติฯไม่ต้องนอนก็ได้หรือ ผู้่เจริญสติ ต้องนอนน้อยกว่าคนปกติ ...เพราะว่า ผู้เจริญสติฯ ก็เป็นคนทั่วไปครับไม่ได้เป็นผู้วิเศษ แต่อย่างใด (แต่ว่า มีจิตและปัญญา ต่างจากคนปกติ)

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
รากไม้
วันที่ 27 ม.ค. 2553

ขอบพระคุณ คุณสามารถครับ

ผมจะพิจารณาให้ละเอียดอีกทีนึง ตามที่คุณสามารถได้ช่วย ชี้แนะมาให้ ...ผมจะลองอ่านดูใหม่ อีกหลายครั้ง ในขณะที่เจริญสติปัฏฐานครับ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่กระจ่าง แต่ผมก็ต้องชี้แจงหน่อยนึงครับว่า มีบางส่วนที่มีการอ่านความหมายของรูปประโยค ไปจากความหมายที่ผมตั้งใจจะสื่อครับ

อนึ่ง อาจเป็นเพราะว่า ตอนที่ผมพิมพ์ข้อความนั้น ผมยังมิได้กระจ่าง ในการใช้คำ ที่เป็นบัญญัติ ในการเรียกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญสติปัฏฐาน ...ด้วยเหตุว่า ผมยังเป็นผู้รู้น้อย เกี่ยวกับปรมัตถธรรม จึงเรียกผิดเรียกถูก ประมาณนี้ ซึ่งก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย หากทำให้ผู้อ่านท่านใดท่านหนึ่ง เกิดความรู้ผิดหรือเข้าใจผิด

ขออนุโมทนา ทุกดวงจิตที่ใกล้พระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 27 ม.ค. 2553


บางช่วงขณะ พระพุทธเจ้าจะหลับ มีมารมากระซิบข้างหู ยั่วยุบอกประมาณว่าทำไมมามัวนอนขี้เกียจ ง่วงเหงาหาวนอน นอนหลับทำไม หลงใหลในความสบายหรือ? ท่านตอบว่าอย่างไร ลองไปค้นดูเองนะครับ (ผมจำไม่ได้ว่าพระสูตรไหน?)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สามารถ
วันที่ 27 ม.ค. 2553


ขอบพระคุณทุกท่าน
ในกระทู้นี้ผมมีเจตนาที่จะแสดงความเห็นดังกล่าวนี้โดยตรง
ซึ่งผมได้พิจารณา ทบทวน สอบสวนเนื้อความก่อนแล้ว

ที่มีการประกาศลงไว้ในที่แห่งนี้
เพราะผมตั้งใจไว้ว่า
๑. ผมได้ประสบมา และผ่านการพิจารณาแล้ว และเห็นว่าเป็นประโยชน์
๒. หากข้อความเห็นนี้ไม่เป็นความจริง ผู้รู้จะได้แก้ไขให้

ขอบพระคุณทุกท่านครับ
ทั้งหมดนี้แสดงให้เราเห็นว่าเรา (สหายธรรม) สามารถคุยกันได้ทุกเรื่องจริงๆ
เราไม่เป็นผู้เห็นความคิดของตนเองเป็นใหญ่
แต่เห็นประโยชน์คือความเข้าใจเป็นใหญ่
เป็นผู้สละความถือตัวทีละน้อย

และถึงคุณ ธรรมทาน
ผมมีความสนใจในพระสูตรนั้นเช่นกันครับ

ถึงคุณ รากไม้
ผมต้องขออภัยครับหากพิมพ์ หรือตีความในข้อความคุณผิด ถึงทุกท่าน
หากความเห็นนี้คลาดเคลื่อนอย่างไร
ขออย่าได้นิ่งเฉย ขอแสดงความจริงเหล่านั้นจะดีครับ
เพื่อที่เราจะได้พิจารณาให้ถึงที่สุด
เนื่องด้วยตอนนี้ผมเองไม่สงสัยเลยว่าความเห็นนี้จะไม่จริง

ขอขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
rajapol
วันที่ 27 ม.ค. 2553

ขอติดตามต่อไปครับขอบพระคุณทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ตะวัน
วันที่ 27 ม.ค. 2553

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

ขอบพระคุณ คุณสามารถและคุณรากไม้ครับ

ทั้งสองท่านมีข้อคิดเห็นต่างกัน แต่ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งน่าศึกษาครับ ผมจะใช้ความพยายามพิจารณา ข้อต่างและข้อเหมือนของทั้งสองท่านครับ ผมเป็นผู้เริ่มศึกษาในธรรม จึงมิมีข้อโต้แย้งใดๆ มีแต่เพียงความสงสัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สามารถ
วันที่ 28 ม.ค. 2553


เรียนคุณ ตะวันครับ ผมไม่อยากเรียกว่า "ข้อโต้แย้ง" ครับ คุณตะวัน และไม่อยาก ให้เป็นข้อโต้แย้งอะไรด้วยครับ ความเห็นในโลกนี้มีหลากหลาย แต่ความเห็นที่ถูกมีอยู่หนึ่ง ความเห็นที่เกิดประโยชน์ มีอยู่หนึ่ง ดังนั้นการแสดงความเห็นตนเอง การเสนอเหตุผล ในขณะเดียวกัน ที่เรารับฟัง พิจารณาความเห็นและเหตุผลของผู้อื่น จะทำให้เรามองเห็นอะไรได้มากครับ นี้เป็นความเห็นของผม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเห็นนั้น เป็นความเห็นของ พระผู้มีพระภาค อยากบอกตัวเองว่า ยังศึกษาไม่มากพอ แล้วยังไม่มีคำถามเลยครับ เพราะทุกๆ คน ต่างต้องศึกษาด้วยกันทั้งสิ้น ทุกคนเสมอกันด้วยความไม่รู้ครับ ขอเชิญร่วมสนทนาครับขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
รากไม้
วันที่ 28 ม.ค. 2553

เรียน คุณสามารถ และท่านอื่นๆ ที่สนใจ

ขอเรียน ให้พิจารณาง่ายๆ นะครับว่า ...ถ้าเราปวดอุจจาระ หรือปัสสาวะ แล้วเราไม่ถ่ายของเสียออกไป ความทุกข์ทางกายนั้น จะหายไปเองได้หรือไม่ ...เรื่องนี้ น่าจะทำให้เห็นภาพชัดเจนที่สุด คือ ถ้ากินแล้วไม่ถ่ายอุจจาระเลย อุจจาระก็ยังอยู่ในตัวเราอย่างนั้น ไม่ได้หายไปไหน มันหายไปเองไม่ได้เลย แล้วหากเราฝืนมากๆ ในที่สุดก็็ต้องตาย (ถ้ายังไม่ตาย แล้วอั้นไว้จนถึงที่สุด ร่างกายก็ต้องปล่อยออกมาเองอยู่ดี ตามธรรมชาติ)

ถ้าหากได้เจริญสติปัฏฐาน แล้วพิจารณาขันธ์ 5 ไปพร้อมกันแล้ว จะพบว่ายังมีอื่นๆ อีกมากมาย เช่น การปวดฟัน การเจ็บแผล การปวดกระเพาะ การแน่นหน้าอก การคัน การเมื่อย (กล้ามเนื้อตึง) การรู้สึกร้อนเย็น การรู้สึกจักจี้ การรู้สึกถึงการลูบไล้ การรู้สึกเสียว การรู้สึกช็อต (ไฟดูด) การรู้สึกถึงการสั่นจากสิ่งที่มาสัมผัส การปวดในอวัยวะภายใน (กล้ามเนื้อลาย) รวมถึง การหิว และ ง่วงนอนด้วยครับ

เหล่านี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราควบคุมไม่ให้เกิดไม่ได้เลย เราระงับความรู้สึกทางร่างกายก็ไม่ได้ ...เพียงแต่ เราระงับความรู้สึกที่รับรู้ทางใจได้ เราระงับอารมณ์ที่เิกิดจากสิ่งเหล่านี้ได้ เช่น ไม่หงุดหงิด ไม่เพลินเพลิน ไม่ตื่นเต้น ไม่ทุกข์ร้อนใจเพราะอยากหายไวๆ ไม่เกิดความอยากกินว่าต้องกินเดี๋ยวนี้ ไม่เกิดความอยากนอนในตอนนี้ (สรุปอีกนัยหนึ่งว่า เราทำได้แค่เพียง ไม่ให้กิเลสโลภะนั้นเกิดขึ้น)

เหล่านี้ คือทุกข์ทางกาย ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ดับไปเอง โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะว่ามันมีเหตุจากรูปธรรม ....เพียงแต่ว่าไม่รับอารมณ์ได้ เราจึงไม่ต้องเกิดโลภะ และไม่มีทุกข์

สรุปว่า การง่วง การหิว การหายใจ การถ่าย เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากกายที่ยังมีชีวิต , 4 อย่างนี้ไม่มีสภาพรู้ ไม่มีอารมณ์ , ตราบใดที่เราไม่คิดถึงมันแล้วเกิดความอยากปลดปล่อยมัีน โลภะก็ไม่เกิด (ตัวอย่างเช่นบางทีเราไม่คิดถึงมัน โดยการแกล้งลืม หรือกำลังอยู่ในสมาธิ หรือกำลังทำอย่างอื่นๆ เพลินๆ ...โลภะก็ไม่เกิด) ...แต่ยังไงก็ต้อง เราต้องทำกิจเพื่อปลดปล่อยสิ่งเหล่านี้อยู่ดี แม้พระอรหันต์ ก็ยังต้องทำสิ่งเหล่านี้ครับ

...ส่วนในระดับโสดาบันขึ้นไปนั้น (ที่พวกเราๆ ไม่มีทางเข้าถึง) แต่ผมก็เข้าใจว่า การบำเพ็ญเพียร จะเข้าถึงการข่มไว้ได้ การระงับอาการไว้ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายถึงว่า จะดับทุกข์ทางกายไปโดยสิ้นเชิงครับ ....คือหิวมี แต่อยากกินนั้นไม่มี , ง่วงมี แต่ความอยากนอนนั้นไม่มี , การปวดอุจจาระมี แต่ความอยากถ่ายนั้นไม่มี , การเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส นั้นมี แต่ความอยากเห็นอีก ไม่อยากเห็นอีก อยากได้ยินอีก ไม่อยากได้ยินอีก อยากได้กลิ่นอีก ไม่อยากได้กลิ่นอีก อยากได้ลิ้มรสอีก ไม่อยากลิ้มรสอีก อยากได้สัมผัสอีก ไ่ม่อยากได้สัมผัสอีก ...นั้นไม่มีเลย

ถ้าไม่กินเลยก็ตาย ถ้าไม่นอนเลยก็ตาย ถ้าไม่หายใจเลยก็ตาย ถ้าไม่ถ่ายเลยก็ตาย ...สรุปคือเราต้องรู้ว่า กิน นอน หายใจ ถ่ายของเสีย ต้องมีเพื่อการดำรงค์ชีวิต

สุดท้ายในระดับ พระอรหันต์ นั้นเลยระดับของความอยากไปหมดสิ้นแล้ว คงไม่มีความต้องการแม้จะมีชีิวิตอยู่ นั่นก็คือ รู้ชัดแล้วว่าเหตุของความทุกข์นั้นคือการมีชีวิต ...ปัญญาจึงทำหน้าที่ ทำให้ไม่ต้องการต่อชีวิตให้ยืนยาว จะมีชีวิตอยู่เพียงทำหน้าที่เผยแพร่พระธรรม จนร่างกายหยุดทำงานไป ...ดังนั้น พระอรหันต์ จึงยังต้องกิน นอน หายใจ ถ่ายของเสีย เพื่อให้ชีวิตอยู่ต่อเพื่อที่จะเผยแพร่พระธรรม

ที่พระอรหันต์ต้องกิน ต้องนอน ต้องหายใจ ต้องถ่ายของเสีย ฝืนไม่ได้เลยครับ ... ไม่ใช่ว่าอยากมีชีวิตหรือไม่อยากมีชีวิต ไม่ใช่กลัวตาย ไม่ใช่กลัวอายุสั้น ไม่ใช่ห่วงสุขภาพ ไม่ใช่ว่าห่วงว่าอารมณ์-กิเลสจะเกิด ...แต่ดำรงค์ชีวิตเพื่อ สัตว์โลก .......โดยที่พระอรหันต์ จะกินเท่าที่จำเป็น (กินเท่าที่มีให้กิน กินเท่าที่ต้องใช้พลังงานพอเหมาะแก่ร่างกาย) นอนเท่าที่จำเป็น (หลับเมื่อหมดธุระ หลับด้วยสติ แล้วตื่นเมื่อร่างกายพักผ่อนพอแล้ว) หายใจตลอดเวลาตามธรรมชาติ และถ่ายของเสียเมื่อถึงเวลา (ไม่อั้นไว้จนท้องผูก ถ่ายไม่ออกจนเกิดทุกข์อื่นๆ ตามมา ด้วยความโง่เขลา่)

ยกเว้นข้าวทิพย์นะครับ อันนี้ผมไม่รู้จักจริงๆ ว่ากินแล้วจะต้องถ่ายของเสียออกด้วยไหม น่าจะไม่ต้องถ่าย เพราะเหตุว่า จริงๆ แล้ว ไม่มีการกินจริงๆ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเพิ่ม เพียงแต่ คิดรู้ว่ากินอาหารแล้วเท่านั้น มีการดึงพลังงานสะสมในร่างกายมาใช้แทน จึงไม่อ่อนเพลีย ...แต่ถ้า เทวดามาใส่บาตรนี่ไม่รู้จริงๆ ครับ ว่าคืออะไรแน่ เพราะเป็นอาหารจากภพภูมิอื่น

ขออธิบาย อีกแง่นึงนะครับ ในแง่วิทยาศาสตร์

คือว่า ในร่างกายที่ปกติครบ 32 , ในร่างกายเรามีอวัยวะและระบบร่างกายที่เราควบคุมไม่ได้ เราจะไปควบคุมหรือระงับหรือดับการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบต่างๆ ไม่ได้เลย เช่น การเต้นของหัวใจ การทำงานของปอด การทำงานของกระเพาะ ตับ ไต ไส้ ม้าม เราจะไประงับไม่ได้ และประสาทรับรู้ต่างๆ ทั้ง 6 ทาง นั้นเราก็สั่งให้หยุดได้เลย (หยุดเห็นเมื่อลืมตา หยุดได้ยินทั้งๆ ที่ยังไม่หลับ ฯลฯ) ถ้าหยุดก็คือตายแล้วเท่านั้นครับ จะมีก็เพียงสมอง ส่วนที่ทำหน้าที่คิด และจำอารมณ์ เท่านั้นครับ ที่เราจะระงับได้ กล่าวคือ พระพุทธองค์ ทรงทราบว่า สมองส่วนที่คิด และจำอารมณ์ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งหมด จึงหาวิธีระงับเหตุเหล่านั้น ด้วยการ ระงับ โลภะ โทสะ โมหะ ให้หมดสิ้น ด้วยวิธีการที่แยบยลมาก ละเอียดมาก ลึกซึ้งมาก (เป็นวิธี ระงับทุกข์ที่เกิดได้ทั้งหมด โดยที่ไม่ต้องดับชีวิตตัวเราเอง ด้วยการดับการทำงานของสมองแค่ส่วนนี้ส่วนเดียว) ซึ่งไม่มีใครอีกแล้วในโลกนี้ ทั้งในอดีต และอนาคต ที่จะตรัสรู้เพื่อทราบสิ่งเหล่านี้ พร้อมกับหาวิธีการนั้นได้เลย ....นี่คือความเป็นที่สุดของพระพุทธเจ้า

เมื่อสมองส่วนนี้ ถูกใช้งานน้อยลงๆ ไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ หยุดการทำงานทีละเซลล์ จนในที่สุด ก็จะดับหมด กลายเป็นพระอรหันต์ คือเป็นผู้ที่ดับสมองส่วนนี้ไปเลย ดับโดยสิ้นเชิง กลับมาไม่ได้อีกแล้ว (ดับส่วนที่คิด และจำอารมณ์) ดังนั้น จึงไร้อารมณ์สิ้นเชิง ...ถามว่า แล้วจะเอาอะไรมาคิดแทน ส่วนที่สมองคิดกันล่ะ .......ก็ปัญญาไงครับ ปัญญาอยู่ที่จิต ไม่ใช่สมอง (ปัญญาเจตสิกเกิดร่วมกับจิต , จิตที่เป็นนามธรรม) ยิ่งใช้อารมณ์น้อยลง สติก็จะเพิ่ม ปัญญาก็จะเพิ่ม เรียกได้ว่า พลังจิตเพิ่มก็น่าจะได้

ดังนั้น ยิ่งเราใช้อารมณ์น้อยลงมากเท่าใด พลังจิตก็จะมากขึ้นเท่านั้น ...ก่อนที่พลังจิตจะเพิ่มถึงขีดสุด ก็จะมี วิปัสสนาญาณ (แยก-รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) , วิชาญาณ (รักษาโรค รู้กาลข้างหน้า ระลึกชาติ) เกิดขึ้นไล่ขึ้นมาเป็นลำดัีบครับ ...แล้วก็เข้าสู่ ฌาณ (สมาธิลึก ซึ่งมีอีกหลายขึ้น กว่าจะถึงขั้นสูงสุด) ...สรุปว่า พลังปัญญาหรือพลังจิตนั้น ดีกว่าสมองหลายเท่านัก เพราะสมองเอาแต่คิด และจำอารมณ์ ซ้ำๆ วนๆ ทุกวัน ทำเราเรามีทุกข์อยู่ทุกวันนี้

ขออภัยครับ นอกเรื่องไปไกลมากแล้ว

เอาเป็นว่า ในปัจจุบัน เรามีเรียนรู้มาแค่ไหน จำมาได้แค่ไหน มีภูมิแค่ไหน ก็พิจารณาเพื่อให้รู้จริงไปตามนั้นครับ ไม่ต้องคิดไปไกล เพราะเสียเวลา ยิ่งคิดไปไกลๆ ก็ยิ่งไปไม่ถึง เพราะการที่จะไปให้ไกลได้จริงๆ นั้นจะต้องไม่มีคิด ยิ่งไม่คิดยิ่งไปได้ไกลครับผม

...เอาแค่ปัจจุบันนะครับ ค่อยๆ ไต่ระดับไปครับ สะสมกุศลจิตให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะกุศลจิตทำให้จิตสงบ ...ถ้าจิตไม่สงบ เรียนรู้อะไรมาก็เอามาใช้ไม่ได้ครับ ต่อให้อ่านพระไตรปิฎกหมดตู้ 10 รอบ แล้วจิตไม่สงบ ก็ไม่มีทางแตกฉานในพระธรรมได้เลยจริงๆ

ผู้ที่ทำงานมาก ย่อมสำเร็จน้อย , ผู้ที่ศึกษามาก ย่อมรู้จริงได้น้อย ...เราจึงควร ศึกษาแต่เพียงพอดี เพื่อให้รู้จริงตามนั้น ถ้าเข้าใจแล้วค่อยศึกษาต่อเพิ่มอีกเป็นลำดับ

แต่ก็ต้องขอกราบอนุโมทนา ทุกท่านที่ศึกษาพระธรรมมากๆ เพื่อเอาไว้สอนผู้อื่น ...พุทธศาสนิกชนเหล่านี้ ผมถือว่าเป็นผู้ที่เสียสละเป็นอย่างยิ่ง เพราะเอาเวลาไปท่องจำ จึงต้องเสียเวลาที่จะไตร่ตรอง และเสียเวลาไปสร้างกุศลจิตเพื่อให้จิตสงบ ...แม้ว่าจะมีโอกาสน้อยที่จะได้เข้าถึงพระธรรมจริงๆ แต่ก็ได้กุศลทานมหาศาลหาที่เปรียบไม่ได้เลยครับ

ผมขอฝากไว้อีกนิดนึงนะครับ ด้วยเหตุว่า หลายคนยังสับสนกับคำว่า กุศลและอกุศล ผมจึงพิจารณาแล้ว ได้ข้อสรุปที่เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า....กุศล คือ สิ่งที่ทำเพื่อ ผู้อื่น เพื่อสัตว์โลก เพื่อโลก เพื่อความเจริญของทุกสรรพสิ่งในโลก ไม่ใช่เพื่อตนเอง , อกุศล คือ ทุกสิ่งที่ทำเพื่อตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสนองกิเลสตนเอง

ขออนุโมทนา ดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม

ปล. เข้ามาตอบกระทู้ในเวปนี้ แล้วคิดไปพิมพ์ไป ไม่ดีเลย เจริญสติปัฏฐานไม่ได้เลย เพราะมันคิดเพลิน พิมพ์เพลิน (สติฯ ไปแล้วกลับมาไม่ง่ายเสียด้วยสิ) ...คราวหน้าผมว่าจะไม่มาตอบคำถามยากๆ พวกนี้อีกแล้วครับ เอาไว้เป็นภาระท่านผู้ดูแลเวปไซต์น่าจะดีกว่า

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
สามารถ
วันที่ 28 ม.ค. 2553


ขออนุโมทนาในความวิริยะในการพิมพ์ครับ
เป็นสิ่งที่น่ายินดีครับ ยาวมาก ผมมีความเห็นว่า สติปัฏฐานไม่ใช่เพียงการระลึกในโลภะโทสะ...เท่านั้น
แต่ผมมีความเห็นว่า "เป็นสติที่ระลึกไปในการรับรู้ทั้งหมดที่มีขณะนี้" ครับ เราอาจแบ่งเป็นว่า นี้ร่างกายเจ็บ, นี้ระบบประสาทอัตโนมัติ, นี้เป็นการทำงานของสมอง, นี้เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยระบบประสาทไขสันหลัง, นี้โดยก้านสมอง, นี้เป็น Reflex, นี้เป็นการทำงานของเซลล์รับความร้อน, นี้เป็นผลจากการทำงานของเซลล์เรติน่าในด้วตา (ที่ทำหน้าที่รับแสง) , ....หลายสิ่งหลายอย่างตามความรู้ทางวิทยาศาสตร์
แต่เรากำลังหลงลืมที่จะพิจารณาอะไรไปหรือไม่ครับว่า

"นี้เป็นการรู้ทางมโนทวาร นี้เป็นความคิด นี้เป็นนามธรรม"
ที่คิด ที่รู้ ที่แล่นไปในอารมณ์แห่งบัญญัติ

พระพุทธศาสนาเป็นที่สุดของความจริงแล้วครับ การอธิบายด้วยศาสตร์ใดๆ เราสามารถทำได้ แต่ยังไม่ใช่การศึกษาลักษณะอย่างพระพุทธศาสนา ไม่ใช่การอธิบายให้เข้าถึงลักษณะอย่างพระพทธศาสนา
พระพุทธศาสนาอธิบายความจริงด้วยลักษณะที่สติรู้ ที่กำลังปรากฎ
ผู้รู้จึงรู้ได้เฉพาะตน ไม่ว่าเราจะคิดอะไร อย่างไร ด้วยศาสตร์ใด้ พระพุทธศานาสนใจอย่างเดียวที่จะรู้จักลักษณะธรรมที่เป็นความคิดนั้น
มีลักษณะหยาบที่สามารถรู้ได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ธาตุ (แต่ก็เป็นสิ่งที่รู้ได้ยากที่ต้องเพียร)
เห็น, สี, ดม, กลิ่น, ลิ้ม, รส, ได้ยิน, เสียง, สัมผัส, เย็น แข็ง เต่ง, คิด, เรื่องราว (เรื่องราวนี้ไม่ใช่ธาตุ) ผมเห็นว่าเราควร

เป็นผู้รู้ทุกทุกอย่าง
เป็นผู้รู้ทุกทุกอย่าง ไม่เว้น
ไม่ยกยอดไปว่า "เป็นเซลล์ประสาทที่กำลังรู้ ไม่ใช่เรา"
เพราะนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิว่ามีเซล์ประสาทของเราที่กำลังรับรู้
ซึ่งที่จริงเป็นนามธรรมที่คิดทั้งหมด
ทำไมเราไม่เอะใจกันบ้างเลยว่า ไม่ว่าจะเป็นอะไรรู้
ก็เป็นการรู้ ไม่ใช่หรือ? เป็นลักษณะรู้ไม่ใช่หรือ?
และถ้าเป็นการรู้แล้ว จะให้เป็นอะไรต่อ?
ก็ควรจะหยุดตรงนั้นแล้วหรือยัง ว่ามีรู้ ขณะนี้มีรู้ เพียงรู้ หากมีความคิดต่อว่า
"นี้มันเป็นสมองที่คิดนะ เราเรียนมา"
ทำไมเราไม่พิจารณาตามต่อไปว่า
">นี้ความคิด นี้รู้คิด นี้นามธรรมคิดว่า นี้มันเป็นสมองที่คิดนะ เราเรียนมา<"หากมีความคิดต่อว่า
"ที่คิดว่า >นี้ความคิด นี้รู้คิด นี้นามธรรมคิดว่า นี้มันเป็นสมองที่คิดนะ เราเรียนมา< ทั้งหมดนี้เป็นสมองแน่นอน เราเรียนมา พิสูจณ์มาจริงๆ "
ทำไมเราไม่ทำการพิสูจณ์ที่ยิ่งกว่าโดยการรู้ในลักษณะปัจจุบันนี้ว่า
"นี้ความคิด นี้มโนทวาร นี้นามธรรมอย่างหนึ่งหรือไม่ ที่มีไปว่า... ...ทั้งหมดนี้เป็นสมองแน่นอน... พิสูจณ์มาจริงๆ "
หากมีการรู้ต่อว่า
...... ฯลฯหากมีนามธรรมที่รู้ในอารมณ์อะไรต่อไปว่า
...... ฯลฯ
(ด้วยอัธยาศัย)

เนืองๆ ๆ
เพราะหน้าที่ของผู้ที่มีชีวิตทุกคนคือศึกษาและรู้ในลักษณะปัจจุบัน
รู้ความจริงในปัจจุบัน นอกนั้นไม่ใช่ความจริง ไม่ใช่หรือ?ความเป็นผู้เห็นธรรมเฉพาะหน้าไม่ควรมีวันหยุด ไม่ควรมีการหยุด
ควรเพียรมีสติเท่าที่จะเกิดได้ ควรยินดีในสติในการรู้ความจริง
หากเราเห็นว่าควรมีการหยุด (บ้าง)
ก็เหมือนเรากำลังบอกว่า
"เราจงไม่ศึกษาต่อไป จงไม่กินยารักษาโรค จงตาบอดต่อไป ... จงเป็นคนโรคต่อไป"

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 28 ม.ค. 2553

รู้อะไรก็ไม่สู้ รู้สิ่งที่มีในขณะนี้..............................ได้อย่างถูกต้อง

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
wannee.s
วันที่ 28 ม.ค. 2553
ขณะที่กุศลจิตเกิด เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ตะวัน
วันที่ 28 ม.ค. 2553

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

ปกติผมจะพิจารณาขันธ์ห้า ตามที่คุณรากไม้บอกมาครับ และสังเกต การเกิด-ดับของความคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยตลอด จึงแปลกใจตัวเองว่า ทั้งที่ปกติเป็นเวลาต้องพักผ่อนแล้ว แต่เมื่อจิตดำรงอยู่ในสมาธิ ความง่วงหรืออ่อนเพลียกลับไม่ปรากฎให้เห็นเลย แต่กลับรู้สึกว่า มีความสุขจากความสงบครับ

จึงมาสังเกตตัวเองว่า กำลังติดอยู่ในอารมณ์สงบหรือเปล่า และลักษณะของการติดอยู่ในอารมณ์สงบนั้นเป็นอย่างไร จึงขอรบกวนผู้รู้ ช่วยไขข้อข้องใจด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
รากไม้
วันที่ 29 ม.ค. 2553

ทุกคนย่อมรู้สึกว่า สิ่งที่ตนเองคิด เป็นสิ่งที่จริง.. ถ้าไม่คิดว่าจริงก็คงไม่คิดอย่างนั้น

เพราะความคิด เป็นสิ่งที่ ถูกกรรมปรุงแต่งมา กรรมเป็นของใครก็เป็นของคนนั้น แลกเปลี่ยนกันไม่ได้ ดังนั้น ความคิดแต่ละคนจึงไม่ซ้ำกันเลย

การแลกเปลี่ยนความคิด เป็นเพียงการที่ฟังหรืออ่าน เพื่อรับรู้ทางตา ทางหู ว่าผู้อื่นมีความคิดอย่างไร...แต่ก็ไม่มีทางเข้าใจตรงกันได้ไปเสียทั้งหมด เพราะว่าแม้แต่การที่เห็นมา ฟังมา ก็ยังต้องผ่านกระบวนการคิด ซึ่งก็ถูก กรรมปรุงแต่งให้คิดอยู่ดี

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
รากไม้
วันที่ 29 ม.ค. 2553

เรียนคุณสามารถ

เรื่องสติปัฏฐาน เป็นการระลึกรู้ "ตลอดเวลาทุกขณะจิต" ว่าเราอยู่ในโลกที่เป็น ประมัตถธรรม ...ทั้งนี้ถ้าเข้าใจผิด ตีความผิดไปเสียตั้งแต่แรกแล้วว่า โลกุตรธรรมที่พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้นั้น เป็นอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว เราก็จะอยู่คนละโลกกัน

ส่วนการระลึกรู้ถึงการรับรู้ โลกทั้ง 6 ทาง เป็นเหมือนการตัดความคิดตนเองไม่ให้ไปจนจ่อหรือรับอารมณ์จากสิ่งที่รับมาทางประสารูป6 แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องรู้ีสภาพธรรมะ (รู้จริงๆ ) ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ประกอบด้วย จึงจะเป็นสติปัฏฐาน เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว ก็จะเป็นเพียง มิจฉาทิฏฐิ ...คือแบบว่า พอตีความผิด ก็เข้าใจผิด ทำให้ โลกที่เราเห็น ไม่ตรงกับเนื้อหาใน ปรมัตถธรรม

เรื่องวิทยาศาสตร์ ผมเพียงยกมาเปรียบ เพื่อให้เห็นภาพ จากในมุมของ โลกิยธรรม แค่นั้นน่ะครับ ...จริงๆ ลึกซึ้งไปกว่านั้นมากมาย

นอกจากนี้แล้ว ผมยังรู้แบบลางๆ ว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะมาสอนพวกเราได้นั้น พระองค์รู้ไปหมดทุกอย่างจริงๆ ....คือรู้ย้อนไปจนกระทั่งว่า แท้จริงแล้ว ในอดีตอันไกลโพ้น หาที่สุดไม่ได้นั้น เราไม่ได้มีร่างกายอย่างนี้ ไม่ได้มี ตา หู จมูก ปาก สมอง หัวใจ อวัยวะต่างๆ แบบนี้ ...ทุกอย่างถูกกิเลสปรุงแต่ง ให้เกิดมีกรรมขึ้นมา แล้วกรรมก็วนซ้ำทำให้เกิดกรรมและกิเลสอีก วนซ้ำอยู่อย่างนั้นนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งเมื่อกิเลสทำให้เราอยาก เราก็จึงมีวิวัฒนาการซึ่งเป็นผลของกรรม ด้วยเช่นกัน ....ในอดีตเรามีเพียงก้อนเนื้อ หรืออาจจะเป็นก้อนอะไรซักอย่างที่ไม่ใช่เนื้อนุ่มๆ แบบนี้ก็ได้ ...มีเพียงจิตเท่านั้นที่เป็นคงอยู่ในรูปของนามธรรม ทั้งนี้สสารตั้งต้นที่จะเป็นมนุษย์เราในอดีตนั้น ตอนนี้คงหมดไปแล้ว โดยเกิดจากการวิวัฒนาการนั้นแหละ เปลี่ยนสสารนั้นให้เป็นอินทรีย์สาร ที่เป็นเซลล์ในร่างกายเราทุกวันนี้

ผมคิดไปไกลเกิดอีกแล้วสินะ ต้องขออภัย ...แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ผมคิดฟุ้งซ่านหรอกครับ เพียงแต่จำได้ว่าหนังสือบางเล่มเขียนไว้ว่าอย่างนี้ ผมจึงจำมาเล่าสู่กันฟัง จริงเท็จไ่ม่รู้ และไม่มีทางรู้ได้ด้วย ยกเว้นว่าเราเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง

ผมจะไม่พูดเรื่องนี้แล้ว เพราะมันพิสูจน์ไม่ได้ พระพุทธองค์ถึงได้ทรงแสดงว่า กรรมเป็นอจิญไตย ไม่ควรคิด เพราะคิดแล้วก็ฟุ้ง ....เอาเป็นว่า ให้ถือว่าผมว่าคิดเล่นๆ แล้วเอามาเล่าสู่กันฟัง ท่านๆ ผู้อ่านไม่ต้องคิดตามหรือจำหรอกครับ

แล้วเราก็มาอยู่กับ "ปัจจุบัน" ของเราดีกว่า ....อยู่เพื่อ ขัดเกลากิเลสให้หมดไป แค่นั้นพอ ถ้าวินาทีนี้ เรายังมีกิเลส วินาทีต่อไปก็จะมีกิเลสแน่นอน

เรียนคุณตะวัน

ผมกลับเห็นว่า การที่เราเพลินอยู่ในความสงบ ที่เราเรียกว่าความสุขนั้น ทำให้เราลืมการรับรู้ความง่วงที่ร่างกายกำลังบอกเรา

แต่จริงๆ แล้ว ความง่วงมี ซึ่งผมขอเรียกว่าธรรมชาติ คือเหมือนกับการที่ต้นไม้ ต้องมีความเปลี่ยนแปลงต่างๆ นาๆ ไปตามธรรมชาติ ที่ไม่มีใครบังคับบัญชาได้เลย ...เราห้ามการเจริญเติบโตของต้นไม่ได้ ห้ามไ่ม่ให้ต้นไม้ตาย ไม่ได้เลย ฉันใด

ร่างกายคนเรา ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาล โดยธรรมชาติเช่นเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงระหว่างนั้นก็คือ การง่วง การหิว ...แต่ว่าต้นไม้ไม่มีจิต เลยไม่มีกิเลส พอต้นไม้ง่วง หิว ก็ไม่มีกรรม , พอไม่มีผลของกรรม ก็ย่อมไม่มีกิเลส

เราติดในความสงบ เพราะจิตเราชอบความสงบ จิตเราจึงอมความสงบไว้แล้วจมดิ่งอยู่อย่างนั้น , ถึงแตกต่างกับโทสะ เพราะจิตเราไม่ชอบโทสะ พอมันเกิดแล้วจึงรีบๆ สลัดออก , เหนือความสงบขึ้นไปอีก ก็เรียกว่า ความว่างเปล่า หรือสุญญตา หรือฌาณ หรือสมาธิลึก ก็ได้ครับ แล้วแต่จะเรียก

จะว่าไป ถ้าจิตใครชอบความสงบ ก็ถือว่าวิเศษแล้วนะครับ โชคดีแล้วที่เกิดมามีจิตที่ฝ่ความสงบ ก็เพราะสะสมกุศลมาดีมาก , จิตบางคนชอบกิเลส สลัดยังไงก็ไม่หลุด จมดิ่งลงอยู่อย่างนั้น
จะเอาความสงบไปให้ เขาก็รังเกียจ หาว่าชีวิตไม่ีสีสัน ไม่สนุก ไม่ตื่นเต้น ฯลฯ

เรียนคุณ ไตรสรณาคมน์ และคุณ wannee.s

อย่าเข้าใจผิดนะครับ คือว่า ขณะนี้ผมกำลังแลกเปลี่ยนความคิดกันเฉยๆ น่ะครับ อย่าคิดว่ากำลังฟุ้งซ่าน แล้วจะเตลิดไปไกล ...พอแลกเปลี่ยนเสร็จ ก็จะไปปฏิบัตธรรม เหมือนเดิมครับ (ผมเข้าใจไปเองหรือเปล่านะ ว่าท่านทั้งสอง คิดอย่างนี้)

มันเป็นการดีมาก ที่ได้แลกเปลี่ยน เพราะเราจะได้มั่นใจขึ้นได้อีกว่า สิ่งที่เราคิด จะมีคนคิดอย่างเราไหม , ถ้าไม่มีแล้ว เขาคิดอย่างไรกัน , "พระธรรมที่อ่านเล่มเดียวกัน สามารถตีความได้ หลายสิบมุมมอง" ผมว่าอย่างนั้นนะครับ

ผมก็ยังฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยายทุกวันเหมือนเดิมครับ เพื่อไม่ให้ออกนอกกรอบ แล้วหลงทาง ...ท่านเป็น ตู้พระไตรกิฎกเคลื่อนที่ของผม จะว่าอย่างนั้นก็ได้

การศึกษาพระธรรม นั้นยากมาก เหมือนเอา จิ๊กซอว์ ซัก 100 ชุด มาเทรวมกัน ...แล้วค้นหาตัวจิ๊กซอว์มาต่อเป็นภาพให้ได้ ซักภาพหนึ่ง แล้วไล่ไป จนครบทั้ง 100 ชุดนั้น ยากกว่าเกมส์ลับสมองใดๆ ในโลกนี้ ...ถ้าไม่มีผู้ชี้แนะแนวทาง ย่อมไม่มีวันสำเร็จได้เลย ไ่ม่ว่าชาติไหนๆ

ทิ้งท้ายครับ

พอดีผมเพิ่งทราบมาว่า จริงแล้ว พระไตรปิฎก นั้นมีมากกว่านี้ กล่าวคือ หายไป 2 เล่ม ในสมัย ร.5 ...มีใครพอทราบเรื่องนี้ไหมครับ ขอช่วยอนุเคราะห์ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
รากไม้
วันที่ 29 ม.ค. 2553

แม้แต่ สติปัฏฐาน ของเรา ...เราก็ไม่อาจยึดถือได้ว่า ถูกจริงๆ

เพราะ ความคิด ความเข้าใจ เกิดจากกรรมปรุงแต่ง ...แม้ว่า อ่านหนังสือเล่มเดียวกัน ฟังจากเสียงบรรยายเดียวกัน ก็ตาม ความต่างย่อมมีดังนั้น โลกที่เราเห็น ในสภาวะที่ตั้งอยู่ใน สติปัฏฐาน ของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกันด้วย ไม่มีใครซ้ำกับใครเลย ต่อให้ฟังโดยตรงจากพระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า แต่กรรมปรุงแต่งไปอีกทาง ก็ไม่มีวันเข้าใจได้ถูกเลย ถ้ากรรมปรุงให้เข้าใจผิด แล้วเราเอาไปตั้งเป็นว่า เป็นปัญญาที่ถูกต้อง ตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแล้ว ก็จะเป็น มิจฉาทิฏฐิทันที แม้แต่คำนิยามของคำว่า "กรรม"ในปัญญาแต่ละคน ก็แตกต่างกันด้วย

ดังนี้แล้ว จะมีอะไรที่ยึดถือได้เล่า ว่าจริง นอกจาก......." " (ว่างเปล่า) !!??

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
รากไม้
วันที่ 29 ม.ค. 2553

นี่เป็นครั้งที่ 3 ที่ผมจะขอกล่าวว่า

ขอเรียนเชิญ ท่านผู้ที่ได้เคยเจริญสติปัฏฐานได้แล้ว ...ได้โปรดมาแเลกเปลี่ยนกัน มาแนะนำกันหน่อย ด้วยเหตุว่า "โลกในสภาวะสติปัฏฐาน" ของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน ผมไม่เชื่อหรอกว่า ในเว็บนี้ จะไม่มีใครเลย ที่เคยเข้าถึงโลกนั้นเลย ...โลกที่ปลดปล่อยจากการยึดติด (ชั่วขณะ เมื่อจิตว่าง) ที่เกิดขึ้น เมื่อปัญญาพร้อม สติพร้อม และระงับอารมณ์ ได้ทั้งหมด แล้วรู้สึกว่า แท้จริงแล้ว โลกนี้ว่างเปล่า โล่ง โปร่ง สบาย และไม่มีเรา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 ม.ค. 2553


อารมณ์ของสติปัฏฐานที่เกิดแต่ละครั้ง ในแต่ละคน......ย่อมต่างกันแน่นอนค่ะ

แต่ถ้ากล่าวโดยสภาวะของสติปัฏฐานแล้ว.....ไม่ต่างกันเลย เพราะเป็นการ "รู้ชัด"
ส่วนเรื่องที่กล่าวว่า "พระไตรปิฎกขาดหายไป ๒ เล่มในสมัย ร. ๕ " ก็เพิ่งได้ยินเนี่ย

แหละค่ะ ต้องไม่ลืมนะคะว่า พระไตรปิฎกเป็นหลักธรรมคำสอนของชาวพุทธทั้งหมด

ไม่ได้มุ่งเฉพาะ พุทธศาสนิกชนคนไทยเท่านั้น ซึ่งมีทั้ง ฉบับสากล ศรีลังกา พม่า

อินเดีย ฯลฯ ทุกฉบับต้องมีอรรถและพยัญชนะที่ตรงกันค่ะ.....จึงยาก ที่จะบิดเบือนได้

สำหรับเรื่องความสงบ....

ต้องเป็นความสงบจาก.....อกุศลเท่านั้น

ขณะที่ "พอใจ" "ติด" ในความสงบ......ขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศลคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
รากไม้
วันที่ 29 ม.ค. 2553

ขอบคุณครับ ที่นำความรู้ ความเข้าใจมาเพิ่มเติมให้

ผมไม่ได้สงสัยว่า สิ่งที่หายคืออะไรนะครับ เพราะผมไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก โดยตรง ..แต่สงสัยว่า ทำไมต้องหาย สิ่งในนั้นไม่จำเป็นหรืออย่างไร หรือว่ามีใครจงใจทำหาย เพื่อบดบังสิ่งใดหรือเปล่า

ถ้าไม่ได้หายจริง ค่อยโล่งใจ ...แต่ถ้าหายจริง ก็คงเสียดายมาก เพราะพระธรรมมีค่ามหาศาล ไม่น่าทำหายกันเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
สามารถ
วันที่ 30 ม.ค. 2553

เป็นการสนทนาที่ยาวมากครับ
ขออนุโมทนาในความสนใจของทุกๆ ท่าน เรียนคุณ รากไม้ ครับ
ด้วยความเป็นกัลยณมิตร ผมอยากให้คุณรากไม้ลองพิจารณาถึง
ความแตกต่างของรูปและนามครับ

อีกส่วนหนึ่งผมกำลังพยายามทำความเข้าใจที่
คุณรากไม้ได้อธิบายครับ (แต่ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจผิดไหม)

เช่นในข้อความส่วนที่ว่า
"...ส่วนการระลึกรู้ถึงการรับรู้ โลกทั้ง 6 ทาง เป็นเหมือนการตัดความคิดตนเองไม่ให้
ไปจนจ่อหรือรับอารมณ์จากสิ่งที่รับมาทางประสารูป6..."
ผมฟังดูไม่ใช่การพิจารณาในสติปัฏฐานนะครับ เนื่องจากข้อความทำให้ผมเข้าใจได้ว่า "เราเอาความคิดของเราไปทำอะไร..." ฟังดูเป็นเรา เป็นของเราทั้งหมดเลยครับ ด้วยสติปัฏฐานควรทำให้บุคคลรู้จักความเป็นลักษณะธรรมเพิ่มขึ้น เข้าใจความเป็นเรามากขึ้น จึงอยากให้ช่วยอธิบายหน่อยครับ ผมอาจเข้าใจผิดและในส่วนข้อความดังต่อไปนี้เช่นกันที่ว่า
"...ในอดีตเรามีเพียงก้อนเนื้อ หรืออาจจะเป็นก้อนอะไรซักอย่างที่ไม่ใช่เนื้อนุ่มๆ แบบ
นี้ก็ได้..."
ผมมีความเห็นว่า แม้ในปัจจุบันขณะนี้ทุกๆ คนต่างพยายามสละความเป็นเราด้วยการพิจารณาให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้น พยายามเข้าใจว่าพรุ่งนี้ยังไม่มีอย่างไร เมื่อวานไม่มีแล้วอย่างไร ...แล้วอดีตที่ผ่านไปนานแสนนานแล้วนั้น เราจะยังนึกย้อน ยึดถือ เข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าไปครอบครองว่านี้เป็นเรา เป็นของๆ เราอีกทำไม
นี้เป็นความเห็นของผมนะครับ อยากให้ลองพิจารณาดู เรียนคุณ ตะวัน
ในข้อความของคุณตะวันที่ว่า
"...กำลังติดอยู่ในอารมณ์สงบหรือเปล่าและลักษณะของการติดอยู่ในอารมณ์สงบนั้นเป็นอย่างไร..."
ผมมีความเห็นอย่างนี้ครับว่า
เราควรพิจารณาให้เห็น ให้รู้จัก ภาวะตอนนั้นครับว่า เป็นอย่างไร, ที่เป็นอยู่ขณะนี้เป็นอย่างไร หรือที่เราพูดกันซ้ำๆ บ่อยๆ นั้นแหละครับว่า มีลักษณะเป็นอย่างไร


ถ้าคุณตะวันสังเกตุข้อความการสนทนาในพระไตรปิฎก
จะลักษณะการพิจารณาที่พระพุทธองค์ตรัสถามบุคคลในสมัยโน้นครับ เช่น
รูปเที่ยงหรือหนอ?
...
เธอได้กล่าวเช่นนั้นจริงหรือไม่?
เหตุใดเธอจึงกล่าวเช่นนั้น ...?

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน...? (เธอคิดว่าคำพูดนี้จะมีความหมายอย่างไร)
จะเห็นว่า จะเป็นลักษณะของคำถามทั้งหมด
(คืออะไร เป็นอย่างไร มีเหตุคืออะไร เหตุไฉน....)
เป็นการสอบถามเหตุผลทั้งหมดเพื่อยืนยัน...จนประจักษ์ความจริง
คือ สิ่งที่แยกไม่ได้อีกต่อไป คุณตะวันอาจพิจารณาภาวะตอนนั้นก็ได้ครับว่า
เช่น ขณะนี้เป็นอย่างไรหนอ (นะ)
นี้หรือที่เรียกว่าสุข อย่างนี้หรือที่เรียกว่าสุข
อย่างไรหนอที่เรียกว่าติดข้อง
นี้เรียกว่าติดข้องหรือไม่นะ นี้เรียกว่าชอบหรือไม่นะ
เรากำลังพอใจอยู่หรือ นี้เรียกว่าความพอใจหรือ
ความทุกข์จะเกิดแก่เราหรือไม่หนอหากเราพลักพรากจากสิ่งนี้ ภาวะนี้ ...
เป็นต้น
(ตามอัธยาศัยด้วยนะครับ) สุดท้ายก็เพื่อสิ่งเดียวครับคือ เพื่อรู้จักภาวะที่แท้จริงขณะนั้น เพื่อรู้จักลักษณะของสิ่งที่ปรากฎขณะนั้น เพื่อรู้จักตนเองตามความเป็นจริง ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขออนุโมทนา ในความสนใจที่จะเข้าใจพระธรรมนะครับ ก็ขอเรียนสนทนาด้วยนะครับ

กับสหายธรรมทุกๆ ท่าน การศึกษาพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้อง

สอดคล้องทั้ง 3 ปิฎกคือพระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรม หมายความว่าเมื่อศึกษา

พระสูตรแล้วก็ต้องเข้าใจพระอภิธรรมด้วย เช่น พระสูตรบอกให้ทำ ไม่เห็นแก่นอน แต่

ธรรมก็ได้แสดงไว้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สติเป็นธรรมใช่ไหมครับ เมื่อสติเป็น

ธรรม สติต้องเป็นอนัตตาด้วยหรือเปล่าครับ

คำว่าสติ เป็นอนัตตา หมายความว่าอย่างไร สติเมื่อมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น บังคับไมได้

ด้วยความเป็นตัวตนหรือต้องการ หากจะกล่าวว่าเราควรให้สติเกิดใช่ไหม ดีกว่าพักผ่อน

มากๆ ซึ่งแน่นอนครับว่า สติเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ควรเกิดใช่ไหมครับ แล้วเกิดได้ไหม

ครับ บ่อยๆ ตามที่อยากจะให้ควรเกิด เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา รู้ว่าดี รู้ว่าควรเกิด

แต่ปัญญาขั้นการฟังไม่มีกำลังพอ ก็เกิดบ่อยไม่ได้ ถ้าทำได้ก็ทำขณะนี้เลยครับ ให้สติ

เกิดบ่อยๆ ที่สำคัญเราเข้าใจสติปัฏฐานถูกต้องหรือยังว่าคืออะไร ขณะที่สติเกิดและ

หลงลืมสติต่างกันอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2553


ขณะที่หลับสนิท เป็นภวังคจิตเป็นวิบากจิต เราบังคับให้หลับ หรือไม่หลับตามใจชอบ

ได้ไหมครับ ในเมื่อทุกอย่างเป็นธรรม และเป็นอนัตตาและเป็นผลของกรรม (วิบากจิต)

ขณะต่อไปเรารู้ไหมว่า จะเห็นหรือไม่เห็น จะเกิดกุศลจิตหรือไม่เกิดกุศลจิต ธรรมต้อง

สอดคล้องกับคำว่าอนัตตาเป็นสำคัญครับ เห็นว่าดี ควรให้สติเกิดตลอด แต่ไม่เป็นไป

ตามนั้น โกรธเรารู้ว่าไม่ดี ไม่อยากให้เกิด แต่บังคับได้ไหมครับ

พระพุทธเจ้า ก็ทรงบรรทม ทุกคนเมื่อมีเหตุปัจจัยก็หลับ พระอริยสาวกทั้งหลายท่านก็

หลับ เพียงแต่บางรูปไม่เอนกายนอน แต่ท่านก็หลับ การหลับที่ดีที่สุดของพระอริยเจ้า

คือการเข้าสมาบัติ ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา เป็นไปตามเหตุ

ปัจจัยแม้การหลับ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2553


ต้องเข้าใจว่า สติปัฏฐาน ไม่ใช่ขั้นการพิจารณา ไม่ใช่การคิดนึกถึง สภาพธรรมที่ดับไป

แล้ว ขณะใดที่จะพยายามพิจารณาที่จะรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น นั่นก็ผิดแล้วครับเพราะเป็นความ

ต้องการที่จะดูสภาพธรรม แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด คือขณะนั้นมี

ลักษณะ ต้องย้ำคำว่ามีลักษณะ ปรากฏให้รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา โดยรู้ขณะที่สภาพ

ธรรมกำลังปรากฏ โดยไม่ใช่ขั้นคิดนึกนะครับ และที่สำคัญที่มีผู้กล่าวว่าพิจารณาการ

เกิดดับของสภาพธรรม ขอกล่าวในประเด็นนี้ครับว่า ปัญญาต้องเป็นไปตามลำดับ

ปัญญาขั้นแรก ไม่ใช่เห็นการเกิด-ดับ ของสภาพธรรม การเห็นการเกิด-ดับ เป็นปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณ ขั้นที่ 4 แล้ว แต่ปัญญาต้องเริ่มจากการฟัง ให้เข้าใจว่า ธรรมคืออะไร และจนเป็นปัจจัยให้เข้าใจสภาพธรรม ที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา โดยไม่ใช่การคิดนึกพิจารณานะครับ ต้องศึกษาด้วยความละเอียด ขอให้เริ่มกลับมา ที่คำว่าธรรมคืออะไรครับ เพราะจะทำให้เข้าใจถูกเป็นเบื้องต้น ก้าวแรกเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าก้าวแรกผิด ก็มีโอกาสเขวไปได้ครับ ขออนุโมทนา เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ......... ก่อนจะถึง...สติ-ปัฏฐาน ! อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 29  
 
daeng
วันที่ 31 ม.ค. 2553

คุณ paderm อธิบายได้ดีมากครับ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ยังไม่เข้า

ใจในการเจริญสติปัฏฐาน หรือเข้าใจว่ากำลังเจริญสติปัฏฐาน เป็นข้อสรุปที่เป็น

ประโยชน์อย่างยิ่งครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
สามารถ
วันที่ 1 ก.พ. 2553

สติมีปัจจัยจึงเกิดผมเห็นว่าบางทีกระทู้นี้อาจจะเป็นปัจจัยให้สติของผู้ที่ได้พิจารณาตามเกิดขึ้นได้เนื่องๆ อย่างที่คุณ paderm ได้กล่าวไว้ครับ จึงพิมพ์ ไว้ ก็ด้วยผู้ที่พิจารณานั้นอาจเห็นได้ว่า ความง่วงเหงาหาวนอนก็เป็นกิเลส สติที่ระลึกไปในความง่วงเหงาหาวนอนเป็นประโยชน์ แม้การคิดจะไปหลับนอนเพราะง่วงนี้ก็ยังทำให้บุคคลเสียประโยชน์แห่งชีวิต ดังนี้ เราพึงเป็นผู้เพียรมีสติเนืองๆ แม้คราจะนอน แม้คราง่วง แม้คราโน้มตัวลง แม้คราตื่นนอนย่อมดีกว่า

หากแม้คราอันน่าใคร่เหล่านั้นเรายังมีสติได้แล้ว ดังนี้ เราจะเพียร เป็นผู้มีสติสุดชีวิต ทั้งกลางวัน และกลางคืน ต่อไปอีก การเป็นผู้ไม่กังวลแม้การนอนของเราจะไม่มีอีกต่อไป ด้วยเหตุที่เราเป็นผู้เห็นแล้วซึ่งโทษ คือ การถูกความง่วงเหงาครอบงำ ว่า ครานั้นเราเหมือนเป็นผู้เสียชีวิต เราจะเป็นผู้ยินดีในการมีสติ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ ด้วยเหตุที่เราเป็นผู้เห็นแล้วซึ่งประโยชน์ คือ การเป็นผู้เห็นแสงสว่างตลอดเวลา

เหล่านี้จะเป็นปัจจัยให้บุคคลผู้พิจารณาเกิดความเห็นว่า "ชีวิตจำเป็นเพียงสติปัญญา" ได้หรือไม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 31  
 
paderm
วันที่ 1 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ตามที่ผมได้เรียนไว้ในความเห็นข้างต้นว่า ไม่ควรลืมคำว่าอนัตตา การเห็นว่าสติมี

ประโยชน์แต่เป็นเพียงขั้นการฟัง แล้วก็มีอกุศลเกิดต่อบ่อยๆ แม้ไม่หลับกุศลก็เกิด

บ่อยกว่ากุศล เพราะสะสมกิเลสมามากครับ เพราะฉะนั้นต้องมั่นคงกับคำว่าอนัตตาและ

เป็นผู้ตรงที่จะยอมรับความจริงว่าในชีวิตประจำวันจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร กุศลเกิดมาก

หรืออกุศลเกิดมากกว่ากัน ถ้ากุศลเกิดมากกว่ากุศลอันเนื่องมาจากความปุถุชนแล้ว

แสดงว่าสติเกิดน้อยกว่าอกุศลใช่ไหมครับ เพราะขณะที่เป็นอกุศลขณะนั้นไม่มีสติ แม้

จะรู้ว่าสติควรเกิดก็ตาม ไม่ต้องพูดถึงตอนหลั บ แม้ไม่หลับกุศลยังเกิดมากกว่ากุศล

ครับ เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นผู้ตรง รับความจริงว่าชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร แสดงให้

เห็นถึงความเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้ายังบรรทมไหม พระองค์ย่อมมีปัญญาเหนือกว่า

บุคคลทั้งหมด พระองค์ย่อมเห็นประโยชน์ของสติและกุศลธรรมกว่าใครในโลกแล้ว

พระองค์ยังหลับไหม หรือว่าพระองค์ไม่หลับแล้ว? และเราก็ต้องเป็นผู้ตรงอีกว่าแม้ตัว

เราเองก็รู้ประโยชน์ของการมีสติว่าควรมี ควรเกิดบ่อยๆ แล้วสติเกิดบ่อยไหมหรือกุศล

เกิดมากกว่า และที่สำคัญเรารู้ว่าสติควรเกิดกว่าหลับ แล้วปัจจุบันยังหลับไหมหรือว่า

ไม่หลับแล้วครับ ต้องมั่นคงกับคำว่าอนัตตานะครับ แม้สติและการหลับก็เป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 32  
 
paderm
วันที่ 1 ก.พ. 2553

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒-หน้าที่ 21

๗. สุปปติสูตร

ว่าด้วยสำเร็จสีหไสยาสน์ [๔๓๕] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระคาถาว่า

ท่านหลับหรือ ท่านหลับเสีย

ทำไมนะ ท่านหลับเป็นตายเทียวหรือนี่ ท่านหลับโดยสำคัญว่า เรือนว่างเปล่า กระนั้นหรือ เมื่อตะวันโด่งแล้ว ท่านยัง จะหลับอยู่หรือนี่. [๔๓๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาปจึงได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า พระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีตัณหาดุจข่าย อันซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ สำหรับจะนำ ไปสู่ภพไหนๆ ย่อมบรรทมหลับ เพราะ ความสิ้นไปแห่งอุปธิทั้งปวง กงการอะไร ของท่านในเรื่องนี้เล่ามารเอ๋ย. อุทิศกุศลให้วสรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 33  
 
ตะวัน
วันที่ 2 ก.พ. 2553

ตามที่คุณสามารถบอกไว้ตามชื่อหัวข้อ คือ การหลับนอนไม่จำเป็นอีกต่อไป

ผมลองใช้สติรู้ตัวตลอดเวลา คือ มีสติรู้ตัวตลอดเวลาทุกอิริยาบถ รวมทั้งรู้ตัวทั้งง่วง หิว เมื่อย การขยับตัว หรือทุกกิริยาที่ร่างกายขยับ

ผลคือ แม้แต่ตอนนอน เหมือนกับว่าความรู้ตัวตลอดเวลานั้นทำให้ไม่ได้หลับนอน เพราะเวลานอนผมมักสูดลมหายใจเข้า-ออกยาวๆ เพื่อจะได้มีสติรู้ตัวก่อนจะหลับไป แต่ว่าสองคืนมานี้ นอนก็เหมือนไม่ได้นอน แต่ไม่อ่อนเพลีย เพราะความมีสติรู้ตัวตลอดเวลานี่เอง

คำถามคือ การรับรู้อารมณ์ต่างๆ เฉยๆ โดยไม่ปรุงแต่งในอารมณ์นั้นๆ กับการเพ่งมองอารมณ์นั้นๆ ต่างกันมากหรือเปล่า เพราะผมรู้สึกว่าการเพ่งมองอารมณ์ต่างๆ เหมือนกับการทำกสิณ ที่เน้นการรู้ตัวโดยไม่ต้องใช้ปัญญา ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะเป็นการทรมานตัวเองเปล่าๆ แต่กับการรับรู้อารมณ์เฉยๆ และปล่อยวางโดยไม่ต้องปรุงแต่ง จึงเห็นการเกิดดับของอารมณ์ต่างๆ ได้ง่ายกว่า และทำความเข้าใจได้ง่ายกว่ามากครับ

จึงเอามาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะมีคำแนะนำจากท่านอื่นๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 34  
 
paderm
วันที่ 2 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 33

ก่อนอื่นคงต้องถามว่า สติคืออะไร ที่กล่าวว่า สติไปรู้ตัว ในทุกอิริยาบถ แต่เราควร

เข้าใจถูกว่าสติคืออะไร สติบังคับให้เกิดตามใจชอบได้ไหมครับ จะให้ตามรู้ ในสิ่งนั้น

สิ่งนี้ และเข้าใจหรือไม่ว่าสติคืออะไ ร ต้องเริ่มจากตรงนี้ก่อน ไม่เช่นนั้นเราก็จะสำคัญ

ในสิ่งที่ไม่ใช่สติว่าเป็นสติครับ สติคืออะไรครับ ขอร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 35  
 
รากไม้
วันที่ 3 ก.พ. 2553

กระทู้นี้ ยังคงเป็นเหตุให้ ผู้อ่านมีความคิดแตกแขนงหลากหลายออกไป ...ตามการสะสมของแต่ละท่าน พอได้อ่านได้ฟัง ก็พบได้ว่ามีประโยชน์มากจริงๆ (การเห็นว่ามีประโยชน์ ก็เป็นธรรมะ เพราะจิตผมปรุงแต่งไปให้เห็นว่าเป็นประโยชน์)

ใคร่ขอเรียนถาม ท่าน paderm หน่อยนึงครับว่า อุปธิ คืออะไร?

เรียนคุณ สามารถ : เมื่อคืน ผมนั่งพิจารณา ความง่วงที่ปรากฎดูแล้ว ...ก็พบว่า การง่วงก็เป็นธรรมะอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฎทางกาย (เช่นเดียวกับการหิว , การปวดอุจจาระ) ซึ่งจัดอยู่ในหมวดที่ว่า ทุกคนมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการง่วง แบบเดียวกัน และ จะมีเหตุที่จะดับการง่วงไปนั้น..เป็นแบบเดียวกัน

กล่าวคือ การง่วง ไม่ได้เกิดจากการปรุงแต่งขึ้นมาเอง , แต่ ความง่วง เกิดจากการปรุงแต่งทางอารมณ์ "อยากนอน" ร่วมด้วย

ซึ่งต่างจาก อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดจากกิเลส ...เพราะนั่นเกิดจากการปรุงแต่ง เช่นว่า สิ่งของอย่างเดียวกัน แต่ว่า แต่ละคน "เห็น" แล้วเกิดอารมณ์ แตกต่างกันออกไป แบบไม่ซ้ำกัน เช่น เพลงเดียวกัน บางคนฟังแล้วเฉยๆ บางคนว่าไพเราะ บางคนว่า ไพเราะสุดๆ บางคนว่าไม่ไพเราะ

...ถึงแม้ว่า การง่วง เกิดจากวิบาก (คือวิบากของการเป็นมนุษย์ , มนุษย์ทุกคนต้องง่วง ต้องหิว ต้องถ่าย) ซึ่งทำให้ดูคล้า่ยๆ ว่าเป็นอารมณ์ ...แต่การง่วงนั้น ถึงแม้เราจะไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมัน มันก็ยังเกิด แล้วต้องดับมันด้วยการหลับ (เช่นเดียวกับการหิว ต้องดับด้วยการกิน , เมื่อกินแล้ว ก็จะต้อง การปวดอุจจาระ แล้วก็ต้อง มีการถ่ายของเสียออก)

ผมยังของสรุปในความเห็นเดิมว่า การง่วง (ไม่ใช่ความง่วง) [ การหิว , การปวดอุจาระ] เมื่อเกิดแล้ว ต้องดับด้วยการหลับ [ การกิน , การถ่าย ] ...แม้ว่าเราจะสามารถข่มมันได้ด้วยสติอันแรงกล้าไว้ได้ก็ตาม แต่ว่าจะไปฝืนมากๆ ก็ไม่ได้ เพราะถ้าฝืนมากๆ ก็จะพ้นจากวิบากของการเป็นมนุษย์ (ก็คือตายนั้นเองครับ) ........ตราบใดที่เรา ไม่ได้ปรุงแต่ง การง่วง ไปเป็น ความง่วง หรือ ความอยากนอน โลภะ ก็ยังไม่เกิดครับ

อนึ่ง... การเจ็บป่วยทางกาย (ที่เกิดจากเชื้อโรค) ก็เช่นเดียวกันนะครับ เป็นวิบากของการเป็นมนุษย์ (คือเมื่อมีกายเนื้อ ย่อมมีเชื้อโรคมาอาศัยอยู่ในกายเนื้อได้ จนเป็นเหตุให้ต้องเจ็บป่วย) และ การเจ็บป่วยทางกาย (ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ..เช่นพวก ข้อเสื่อม มะเร็ง ปวดหลัง รวมถึงเคล็ดขัดยอก) ....อาการพวกนี้ ต้องให้แพทย์รักษาทั้งสิ้นจู่ๆ จะหายไปเองไม่ได้เลย

ถ้าเป็นอารมณ์ที่ดับไปเองได้ หากเราไม่แยแสมัน .....จะต้องเป็นอารมณ์ที่เกิดจากการปรุงแต่ง ผสมกันระหว่างกิเลสที่สะสมอยู่ในจิต กับสิ่งที่มากระทบทางทรวรทั้ง 6

ทั้งนี้ ผมไม่ขอรวมเอา อานุภาพของฌาณจิต เข้ามากล่าวถึง เพราะว่า ผมไม่รู้จักจริงๆ ...แต่เห็นบางที่ มีการกล่าวถึงว่า สามารถรักษาโรคได้ ผมจึงไม่รู้ว่าจะมาดับความง่วงได้ด้วยหรือเปล่า

เรียนคุณ ตะวัน

ผมเข้าใจว่า ที่คุณตะวันปฏิบัติอยู่นั้นคือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ...ไม่ทราบว่าผมจะเข้าใจถูกต้องไม๊? ขอคำตอบด้วยนะครับ

แต่ว่าตอนนอน คุณตะวันไม่ได้ขยับร่างกาย จึงน้อมสติมาระลึกที่ลมหายใจแทน ...ผมก็ว่าดีนะครับ ถ้าทำให้นอนหลับได้สนิทมากขึ้น และใช้เวลานอนน้อยลง

ส่วนการเพ่ง หรือจดจ้องที่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ที่เกิดขึ้นขณะนั้น ...ผมมีความเห็นว่า การที่เพ่งอย่างเดียวโดยที่ไม่ทำให้เกิดปัญญานั้น (ปัญญาในที่นี้คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นในขณะระลึกรู้ สภาพธรรมะ ที่กำลังปรากฎ ว่าเป็นสภาพธรรมะในลักษณะใด แล้วมีการเกิดดับเมื่อไหร่อย่างไร มีสติรู้ตลอดว่าอารมณ์นั้นเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม) ซึ่งก็คงไม่เกิดประโยชน์ด้วยประการทั้งปวง อย่างที่คุณตะวัน ได้กล่าวมาครับ

ส่วนการรับรู้อารมณ์ต่างๆ เฉยๆ โดยไม่ปรุงแต่งอารมณ์นั้นๆ ... ( ผมเข้าใจอย่างนี้ไม่ทราบว่าจะถูกไหม) จริงๆ แล้ว ทำไม่ได้ เพราะว่า การที่เรารับรู้อารมณ์ได้ว่ามันเข้ามาแล้ว นั่นคือมีการถูกปรุงไปแล้ว

....แต่ถ้าหากว่า คุณตะวัน ให้ความหมาย การไม่ปรุงใน ไว้ในที่นี้คือ เอาสติ (คือสติตามรู้ ยังไม่ใช่สติปัฏฐาน) ตามรู้อารมณ์ที่จิต เมื่อรู้ทันแล้วก็มาปล่อยวางทีหลัง นั่นก็เป็นไปได้ยากอีก เพราะว่า เมื่ออารมณ์เข้ามาได้นั้น ก็แสดงว่าไม่มีสติแล้วตอนนั้น ซึ่งกว่าจะตั้งสติได้อีกที เพื่อที่จะปล่อยวางในขั้นตอนต่อไป ก็อาจจะอีกนานโขเลยทีเดียว (หลายวินาที ก็ถือว่านานแล้ว , นานโข นี่คือ หลายนาที)

จะให้ดี ไม่ต้องรับอารมณ์จากสิ่งรอบๆ ตัวเลย ดีที่สุดครับ ...จะได้ไม่มีอกุศลจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 36  
 
รากไม้
วันที่ 3 ก.พ. 2553

เรียน ท่าน paderm

สติ ...ที่ผมเข้าใจนั้น มี 2 อย่าง คือ สติตามรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และ สติปัฏฐาน ที่เป็นการระลึกรู้สภาพธรรมะที่ปรากฎ

สติ อย่างแรกนี่ ใครก็ทำได้ ฝึกฝนเพียงนิดหน่อย , แต่สติปัฏฐานนี่ ต้องมี "สภาพรู้" เสียก่อนจึงจะทำได้ ซึ่งกว่าจะทำได้นี่ ยากแสนยากจริงๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 37  
 
รากไม้
วันที่ 3 ก.พ. 2553

ส่วน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่คนละเรื่องกับการ เอาสติไปตามรู้การเคลื่อนไหวของ

ร่างกาย ...ผมเข้าใจแบบนี้นะครับ ไม่ทราบว่าผิดพลาดประการใด ขอคำชี้แนะด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 38  
 
ตะวัน
วันที่ 3 ก.พ. 2553

ตอบคุณ paderm ครับ

ส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่า สติ คือความรู้ตัว หมายถึง รู้ตัวว่าคิด รู้ตัวว่าทำ รู้และตามในสิ่งที่เกิดและปล่อยวางในที่สุด ผมไม่สามารถบังคับให้สติเกิดตามใจชอบได้ เพียงแต่ผมระลึกในความตื่น หมายถึงตื่นตัว และตื่นรู้หมายถึง รู้ในทุกกิริยาที่ทำ ส่วนรู้ในความคิดต่างๆ นั้น ก็รับรู้แต่ไม่ได้ยึดติดและปรุงแต่งในอารมณ์ครับ

ผมพยายามปฎิบัติในชีวิตประจำวันให้เหมือนเดินจงกรม คือระลึกลึกรู้ตัวทุกอย่างก้าว ทุกลมหายใจเข้าและออก รู้ถึงความคิดแต่ไม่ปรุงแต่งให้เป็นอารมณ์ ปล่อยให้มันเกิดและดับไปโดยตลอด

ผมเป็นผู้ศึกษาหากมีความเข้าใจผิดได้โปรดชี้แนะด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 39  
 
สามารถ
วันที่ 3 ก.พ. 2553

การสนทนานี้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและเพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นดัง

กล่าวผมจึงได้ทบทวนและพิจารณาตามที่คุณ paderm แสดงไว้ครับ แต่มียังมีข้อสงสัย

ที่ต้องขอคำอธิบายครับ ในเรื่องความมั่นคงในความเป็นอนัตตาครับว่า “เราจะมั่นคงใน

ความเป็นอนัตตา ได้อย่างไรและมากน้อยขนาดไหน หากยังเป็นผู้ที่ยังไม่ประจักษ์

ลักษณะของความ เป็นอนัตตาครับ จะเป็นเพียงความเข้าใจขั้นเหตุผลเบื้องต้นหรือไม่

ครับ (เป็นความ เข้าใจขั้นการฟัง) ดังนี้แล้วกล่าวว่า “มั่นคงในความเป็นอนัตตาจะเป็น

การรู้จักตัวเรา ตามความเป็นจริงอย่างไร? เป็นการรู้ว่าตนเองมีความรู้ตามความเป็น

จริงอย่างไร?” หากบุคคลยังเป็นผู้สงสัยลังในความเป็นอนัตตา ด้วยเหตุที่ยังไม่

ประจักษ์ แต่กล่าว แล้วว่ามีความมั่นคงในอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 40  
 
paderm
วันที่ 3 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนความเห็นที่ 36 37 และ 38

เรากำลังที่จะเข้าใจว่าสติคืออะไร สำหรับในเรื่องสติ คงไม่ใช่ภาษาไทยที่เราเข้าใจ

กันว่า สติก็คือความไม่หลงลืม เช่ น ลืมกุญแจแล้วนึกขึ้นได้ว่าวางไว้ที่ไหนก็คือมีสติหรือรู้ว่าขณะนี้กำลังเดินขณะนี้กำลังยืนชื่อว่ามีสตินั่นยังไม่ใช่สติในพระธรรมวินัยนี้ครับพระธรรมต้องสอดคล้องกันทั้ง 3 ปิฎก คือต้องสอดคล้องกับพระอภิธรรมด้วย สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี แสดงว่าจะไม่เป็นอกุศลเลย ขณะใดก็ตามที่กุศลจิตเกิดต้องมีสติเกิดรวมด้วยเสมอ และขณะใดก็ตามที่อกุศลจิตเกิดก็ไม่มีสติเกิดในขณะนั้น ซึ่งเราจะต้องเข้าใจว่าขณะใดเป็นกุศลจิต เพราะเมื่อเข้าใจว่าขณะใดเป็นกุศลจิต ก็แสดงว่าขณะนั้นมีสตินั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 41  
 
paderm
วันที่ 3 ก.พ. 2553

ขณะที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนาเป็นกุศล ต้องมีสติเกิดร่วมด้วยครับ ขณะที่คิดจะให้

ก็มีสติทำหน้าที่ระลึก ไม่ใช่ทำหน้าที่รู้ แต่ทำหน้าที่ระลึก ตรงนี้ต้องเข้าใจตรงกันคือทำ

หน้าที่ระลึก ระลึกที่จะให้นั่นเองครับ ในเมื่อกุศลมีหลายระดับทั้งทาน ศีล ภาวนา สติจึง

มีหลายระดับด้วยครับ ทั้งขั้น ทาน ศีลและการอบรมปัญญ า ดังนั้นสติไม่ใช่การตามรู้

อารมณ์ต่างๆ แต่สติทำหน้าที่ระลึกที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ส่วนสติที่เป็น

สติปัฏฐาน สติไม่เปลี่ยนลักษณะ ทำหน้าที่ระลึก แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดรู้ความจริงใน

ขณะนี้ สติระลึกในสภาพธรรมนั้น ปัญญาทำหน้าที่รู้ความจริงว่าเป้นธรรมไม่ใช่เราครับ สติทำหน้าที่ระลึก ปัญญาทำหน้าที่รู้ความจริง ปัญญาทำหน้าที่ปล่อยวางเพราะ

เข้าใจความจริงครับ ขออธิบายเพิ่มเติมที่เข้าใจกันว่า สติปัฏฐานคือการรู้ตัวว่ากำลัง

ทำอะไร กำลังเดิน กำลังยิน รู้ในอิริยาบถต่างๆ ขณะนั้นไมได้รู้ความจริงว่าเป็นธรรม ยัง

มีความเป็นเรา ซึ่งไม่ใช่สติปัฏฐาน ซึ่งในพระไตรปิฎกได้แสดงถึงการอบรมโดยการรู้ตัว

ว่า ยืนก็รู้ว่ายืน เดินก็รู้ว่าเดินนั้นไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐานเพราะสุนัขบ้านมันก็รู้ว่ามัน

ยืน มันเดิน ซึ่งการอบรมสติปัฏฐานที่ถูกคือ รู้ลักษณะของสภาพธรรม เช่น เมื่อเห็นเกิด

ขึ้นก็รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งขอแสดงข้อความในพระไตรปิฎกในเรื่อง เดินก็รู้ว่าเดิน

รู้การเคลื่อนไหว ไม่ใช่การเจริญสติครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 42  
 
paderm
วันที่ 3 ก.พ. 2553

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

อิริยาบถบรรพ

ในอิริยาบถนั้น พึงทราบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่น สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก

เป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่าตัวเดิน ก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัสหมายเอา

ความรู้เช่นนั้น. เพราะความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจ

ว่าสัตว์ไม่ได้.ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือ สติปัฏฐานภาวนาเลย.

 
  ความคิดเห็นที่ 43  
 
paderm
วันที่ 3 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 39 ประเด็นคือเรื่องความมั่นคงในความเป็นอนัตตา ก่อนอื่นเราก็ต้องเข้าใจว่า การเข้าใจ

ความเป็นอนัตตาด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยอย่างอื่น ปัญญาก็มีหลายระดับตั้งแต่ขั้นการ

ฟัง จนถึงขั้นสติปัฏฐาน เป็นต้น เพราะฉะนั้นแม้ความเข้าใจในความเป็นอนัตตาก็ต้องมี

หลายระดับ ตั้งแต่ขั้นการฟัง จนถึงประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งตามที่ผมได้

กล่าวว่าให้มั่นคงในความเป็นอนัตตานั้น อันหมายถึงความเข้าใจขั้นการฟังที่มั่นคงว่า

ทุกอย่าง เป็นธรรมและบังคับบัญชาไม่ได้ จึงไม่มีตัวตนที่จะทำ ที่จะเลือกสภาพธรรม ที่

จะไม่นอนเพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ความมั่นคงในความเป็นอนัตตาในขั้นการ

ฟังนี่คือสัจจญาณอันเป็นปัญญาที่เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมในขณะนี้จนมั่นคง แม้สติ

ยังไม่เกิดก็ตามแต่ก็มั่นคงขั้นการฟังว่าด้วยความเป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 44  
 
paderm
วันที่ 3 ก.พ. 2553

จึงแล้วแต่ว่าสติจะเกิดไม่เกิดตอนไหนอย่างไร เพราะรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราไปทำ

นั่นเอง เมื่อมีความมั่นคงในความเป็นอนัตตาที่เป็นสัจจญาณแล้วก็ย่อมเป็นปัจจัยให้

สติเกิด (กิจญาณ) ได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นคำว่ามั่นคงในความเป็นอนัตตาจึงต้องเริ่ม

จากขั้นการฟังให้เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมและเป็นอนัตตา ย่อมเป็นสัจจญาณอันเป็น

ปัจจัยให้สติเกิดได้ครับ ความมั่นคงในความเป็นอนัตตาจึงมีหลายระดับ ตามระดับ

ปัญญาที่เจริญขึ้น แต่ต้องเริ่มต้นถูกจากขั้นการฟังให้เข้าใจ มั่นคงว่าทุกอย่างเป็น

อนัตตา สติเป็นอนัตตาด้วย การหลับเป็นอนัตตาด้วย ไม่มีตัวเราที่จะตามดู ตาม

กำหนดลมหายใจ แต่เป็นหน้าที่ของสติว่าจะเกิดเมื่อไหร่ และก็ต้องรู้อกว่าขณะที่สติ

ปัฏฐานเกิดรู้อะไรและมีอะไรเป็นอารมณ์ขณะนั้นครับ ธรรมจึงทำหน้าที่ทั้งหมดครับ หน

ทางที่ถูกต้องอันเป็นปัจจัยให้สติเกิดคือมีความมั่นคงในความเป็นอนัตตา ตามที่กล่าว

มาครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 45  
 
Sam
วันที่ 3 ก.พ. 2553

การหลับไม่จำเป็นอีกต่อไปเมื่อเกิดสติปัฏฐาน

เท่าที่ศึกษามา ผมเข้าใจว่าการหลับหรือขณะที่หลับ ไม่ใช่ขณะที่ง่วง โดย

ความง่วงนั้นเป็นกิเลส ดังนั้น พระอรหันต์ท่านไม่มีความง่วงเลย แต่ขณะที่หลับนั้น

โดยนามธรรมคือภวังคจิตซึ่งเป็นวิบากจิต และสำหรับผู้ที่ปฏิสนธิเป็นมนุษย์ด้วย

โสภณเหตุนั้น ภวังคจิตขณะที่หลับเป็นโสภณจิต เป็นจิตที่ดีงามครับ

และโดยนัยของรูปธรรม ร่างกายเป็นรูปที่มีสมุฏฐานที่เกิด ๔ อย่าง ได้แก่

กรรม จิต อุตตุ และอาหาร ผมเข้าใจว่าการพักผ่อนอิริยาบถ หรือแม้แต่การหลับนั้น

เป็นความจำเป็นสำหรับรูปโดยเฉพาะที่มีอุตตุเป็นสมุฏฐาน ไม่ให้เกิดรูปที่เป็นโทษต่อ

ร่างกายครับ

สติปัฏฐาน เป็นทางสายกลาง ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไป และเป็นไปกับ

ชีวิตประจำวันของแต่ละคนตามปกติ อย่างไรก็ดี แม้ชีวิตแต่ละคนจะต่างกัน เช่น

บางคนแข็งแรง บางคนอ่อนแอ บางคนเป็นผู้ป่วยที่ต้องการการพักผ่อนมาก แต่ทาง

สายกลางนี้ เป็นทางสายเอกซึ่งสิ่งที่ผู้เจริญสติทุกคนต้องมี คือปัญญา ซึ๋งเริ่มต้นจาก

ความเข้าใจขั้นการฟัง หรือความเข้าใจในบัญญัติเรื่องราวคำอธิบายสภาพความเป็น

จริงของธรรมะครับ เพราะถ้าหากขาดความเข้าใจขั้นการฟังที่มั่นคงพอ ปัญญาขั้นสติ

ปัฏฐานก็ไม่มีปัจจัยที่จะเกิดขึ้นได้เลยครับ (เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจก-

พุทธเจ้า)

 
  ความคิดเห็นที่ 46  
 
paderm
วันที่ 3 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 35

ที่ท่านได้ถามว่าอุปธิคืออะไร

อุปธิคือสภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งสุขและทุกข์ ซึ่งสรุปก็คือทรงไว้ซึ่งทุกข์ มี 4 อย่างคือ

1. กามูปธิ (อุปธิคือกาม)

2.ขันธูปธิ (อุปธิคือขันธ์) 3.กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส)

4.อภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร) อุปธิคือกาม กามเป็นสภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งสุขขื่อว่าอุปธิ เพราะอาศัย รูป เสียง กลิ่น

รสอันน่าพอใจ..เป็นต้น ย่อมได้ความโสมนัสอันเป็นความสุขอันอาศัยกาม มี รูป

เสียง..เป็นต้น แต่สภาพธรรมมีกามก็ไม่เที่ยงและนำมาซึ่งความเศร้าโศกจึงเป็นอุปธิ

อุปธิคือขันธ์ ขันธ์เป็นสภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ เพราะอาศัยขันธ์ 5 จึงมีความ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เจ็บป่วยเพราะมีขันธ์ 5 เป็นต้น อุปธิคือกิเลส กิเลสเป็นสภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์ นำมาซึ่งทุกข์เพราะอาศัยกิเลส ทำให้ทำชั่วเพราะกิเลสเป็นเหตุ ทำให้ต้องได้รับความทุกข์ในอบายมีนรก เป็นต้น

อุปธิคืออภิสังขาร อภิสังขารคือเจตนาเจตสิกที่เป็นไปในกุศลกรรมและอกุศลกรรม นำมาซึ่งทุกข์เพราะเมื่อยังมีการทำกรรมที่เป็นกุศลหรือกุศลกรรม ก็ต้องเวียนว่าย ตายเกิดในภพ ได้ประสบทุกข์ต่างๆ มากมาย เพราะการเวียนว่ายตายเกิด เพราะ ฉะนั้นอภิสังขารคือเจตนาเจตสิกที่เป็นไปในกุศลกรรมและอกุศลกรรมจึงเป็นสภาพที่ ทรงไว้ซึ่งทุกข์ (อุปธิ) หรือนำมาซึ่งทุกข์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 47  
 
ตะวัน
วันที่ 4 ก.พ. 2553
ผมยินดีมากที่ได้มีส่วนร่วมในการสนทนาธรรมในที่นี้ ขอบพระคุณมากๆ ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 48  
 
สามารถ
วันที่ 4 ก.พ. 2553
เรียนคุณ paderm ช่วยอธิบายในคำถามที่ 39 ครับ ขอบคุณครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 49  
 
paderm
วันที่ 4 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 48 สำหรับคำถามที่ 39 ได้ตอบในความเห็นที่ 43และ 44 แล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 50  
 
สามารถ
วันที่ 4 ก.พ. 2553

เรียนคุณ paderm ในความเห็นที่ 48 ต้องขออภัยที่ถามซ้ำครับ เนื่องจากเร่งรีบอ่าน

ตอนนี้ทราบคำตอบแล้วครับ (ในความเห็นที่ 44) ขอขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 51  
 
สามารถ
วันที่ 4 ก.พ. 2553

เรียนคุณ K ขอขอบคุณในข้อความร่วมสนทาครับ ทำให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้น และ

ขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ ในหัวข้อของกระทู้นี้ว่าไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้บุคคล

ไม่หลับนอน แต่มีการตระหนักมีการพิจารณาให้มากขึ้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนอน

(ความง่วง, การเพลีย ฯลฯ) ฅซึ่งผมได้เคยอธิบายไว้บางส่วน ในความเห็นที 3 ส่วนต้น

ครับ ขอขอบพระคุณครับ เรียนทุกท่าน จะมีการอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ

ตั้งกระทู้อีกภายหลัง

 
  ความคิดเห็นที่ 52  
 
สามารถ
วันที่ 4 ก.พ. 2553

เรียนคุณ รากไม้ผมได้อ่านข้อความของคุณรากไม้แล้ว มีหลายส่วนที่ผมอยากจะนำมาสนทนาแต่เนื่องจากเยอะมากครับ ผมจึงสรุปคร่าวๆ ครับ

เช่น ในข้อความที่ว่า ผมมีความเห็นว่า ...แม้ว่าเราจะสามารถข่มมันได้ด้วยสติอัน

แรงกล้าไว้ได้ก็ตาม แต่ว่าจะไปฝืนมากๆ ก็ไม่ได้ เพราะถ้าฝืนมากๆ ก็จะพ้น

จากวิบากของการเป็นมนุษย์ (ก็คือตายนั้นเองครับ) ........

ผมมีความเห็นว่า ไม่ใช่แนวทางการเจริญสติปัฏฐานนะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ใช่การระลึกศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีแต่ละลักษณะว่ามี นี้มีลักษณะอย่างไร?แต่เป็นการข่ม, อดทน, กำหนด ซึ่งไม่ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในลักษณะของ

สภาพธรรมได้อยากให้คุณรากไม้ ช่วยอธิบายในประเด็นนี้ให้เกิดความชัดเจนครับว่า

ตอนนี้คุณรากไม้มีความเข้าใจอย่างไร ขอบพระคุณ อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 53  
 
สามารถ
วันที่ 4 ก.พ. 2553

เรียนคุณ ตะวัน ครับ ร่วมสนทนาข้อความที่ 33 โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เคยทำกสิณหรือปฏิบัติตามที่มีการตั้งสำนักปฎิบัติต่างๆ ครับ

และไม่มีความรู้เหล่านี้ด้วยครับ ผมศึกษาอย่างเดียว คือ คำว่า ขณะนี้ (ธรรมเฉพาะ

หน้า) ที่พระพุทธองค์แสดง ด้วยความเห็นที่ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนที่นั่นก็มีชีวิตให้

ศึกษาจะหนีไปไหนจะศึกษาหรือไม่ศึกษา ก็มีชีวิตอยู่ดี เมื่อยังมีปัจจจัยให้ยังมีชีวิต รับรู้

อารมณ์ต่างๆ การมีชีวิตโดยเข้าใจชีวิตเป็นหน้าที่เดียวของ (ผู้มี) ชีวิต ไม่อย่างนั้นย่อม

เรียกได้ว่าเสียชาติเกิด สำหรับคำถามของคุณตะวันนั้น ผมมีความเห็นว่า เราควรมีการ

ทบทวนถึงคำจำกัดความของคำว่ า “สติปัฏฐาน” ครับ (เรื่องการเพ่ง การกสิณ การ

อย่างอื่น ผมไม่มีความรู้จริงๆ ครับ ในคำจำกัดความ “สติปัฏฐาน” ที่ผมจำขึ้นใจคือ

“การมีสติระลึกรู้ลักษณะตามความเป็นจริงของสิ่งที่กำลังปรากฎ” ครับ การรับรู้อารมณ์

ต่างๆ เฉยๆ ที่คุณตะวันได้กล่าวนั้นสอดคล้องกับที่มีกล่าวในพระไตรปิฏกหรือไม่ครับ

เป็นไปเพื่อรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้หรือไม่ เป็นไปเพื่อรู้จักลักษณะธรรมที่ปรากฏหรือไม่ เป็น

ตัวตนที่กำลังพยายามบังคับกำหนดอะไรหรือไม่ ทำให้เกิดความละคลายในการยึดถือ

ขึ้นหรือไม่ ทำให้รู้ลักษณะของธรรมชาติแต่ละอย่างหรือไม่ ทำให้รู้จักตัวเองตามความ

เป็นจริงหรือไม่ เห็นธรรมว่าเพียงมีอยู่หรือไม่ เห็นลักษณะที่ต่างกันของสิ่งที่รู้และสิ่งที่

ถูกรู้หรือไม่ เป็นต้น ครับ ขออนุโมทนาครับ และอย่าไปอดหลับเว้นนอนนะครับ เดี๋ยวจะ

ทำให้เป็นปัจจัยเกิดความกังวลต่างๆ นาๆ (ว่าเราไม่นอนเราเพลียเรา...) ยังคงดำเนิน

ชีวิตตามปกติครับ แต่เป็นผู้มีความเพียร ยินดีในการเป็นผู้มีสติไม่เว้น ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 54  
 
รากไม้
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ผมมีความดีใจ ที่มีการแสดงความเห็น แลกเปลี่ยนกันมากมาย ...ทุกความเห็นมีประโยชน์มากสำหรับผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของท่าน paderm ..ขอขอบพระคุณ "ทุกท่าน" ครับ

เรียนคุณ paderm ...ขอบคุณสำหรับคำตอบ เรื่อง อุปธิ ครับ เป็นความรู้ใหม่สำหรับผม

เรียนคุณ สามารถ ...คือ ตอนนั้น ผมเกรงว่าคุณสามารถ จะไปมุ่งการปฏิบัติไปสู่การอดนอนให้ได้เป็นผลสำเร็จ (เห็นความเห็นก่อนหน้านี้ มีความมุ่งมั่นมากทีี่จะทำอย่างนั้น) ...แต่ถ้าคุณสามารถ ไม่ได้คิดอย่างนั้น ก็ดีแล้วครับ

ช่วงเย็นวันนี้ ผมอ่านหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป ของท่านอาจารย์สุจินต์ ที่ download มา print ไว้อ่านเองที่บ้าน อ่านพบในส่วนของ "บัญญัติ" ที่เป็น "ธัมมารมณ์" (คืออารมณ์ที่จิตรู้) ...บอกตรงๆ ว่า อ่านแล้วท้อจังเลยครับ รู้สึกว่า ผมไกลจากความเข้าใจ และความเห็นถูกออกไปมากเลย ....ไม่ทราบว่า มีใครพอจะชี้แนะได้บ้างครับ

คืออย่างนี้ครับ

ก่อนนี้ ผมเข้าใจว่า การที่เราสามารถ ทำให้ เห็นเป็นเพียงเห็น ได้ยินเป็นเพียงได้ยิน ได้กลิ่นเป็นเพียงได้กลิ่น ฯลฯ โดยที่ไม่มีการคิด (เพราะการคิด เกิดจากจิตชอบ-ติดข้องสิ่งนั้นๆ เราจึงมีคิดถึงสิ่งนั้นๆ ) ไม่มีการจำ (เพราะการจำ เกิดจากจิตที่ชอบ-ติดข้องสิ่งนั้นๆ เราจึงมีจำสิ่งนั้นๆ ) ไม่มีรู้สึก (เพราะการรู้สึก เกิดจากจิตที่ชอบ-ติดข้องสิ่งนั้นๆ เราจึงมีการรู้สึกสิ่งนั้นๆ ) ...จึงไม่มีอารมณ์ไปกับสิ่งที่มากระทบทางปัญจทวาร เป็นผลให้ไม่เกิดกิเลสใดๆ ขึ้นกับจิต เป็นการดับกิเลสได้ทั้งหมด ...แต่ว่าเราเป็นปุถุชน อย่างน้อยที่สุดก็ยังต้องมี "ความพอใจ" หลงเหลืออยู่ เพราะว่าเรายังพอใจกับการที่จะมีการจักษุปสาท (เอาไว้อ่านหนังสือธรรมะ) มีโสตประสาท (เอาไว้ฟังธรรมะ) มีฆานปสาท (เอาไว้ให้มีชีวิตเพื่อศึกษาธรรมะ) มีชิวหาปสาท (ต้องมีเพราะต้องกินอาหารให้มีชีิวิต) มีกายปสาท (เอาไว้ทำกิจศึกษาธรรม)

แล้วมันจะเป็นไปได้ ได้อย่างไร ในเมื่อเราจะหยุดพอใจสิ่งเหล่านี้ได้ ก็ต่อเมื่อเราหมดสงสัยแล้วจริงๆ จึงหมดจะหมดความพอใจกับการมีชีวิตอยู่ต่อ ซึ่งนั้นก็หมายถึงว่า ความสงสัยหมดไปพร้อมๆ กับการบรรลุอรหันตผล (หรือแค่ระดับโสดาบันปติผล ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ)

ถ้ายังไม่หมดความพอใจที่จะมีชีวิต เพื่อทำกิจที่ยังไม่บรรลุผล เราก็ยัีงดับ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัส ไม่ได้อยู่ดี ...มันก็ยังวนเวียนอยู่อย่างนี้ ไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกรอบ ถึงแม้ว่าจิตสงบจากกิเลสแล้วก็ตาม

ผมเข้าใจว่า พระอรหันต์ ท่านมีเห็น แต่เหมือนท่านไม่เห็น (ท่านลืมตาอยู่ มองดูโลกนี้เหมือนคนปกติ แต่ท่านรู้ด้วยสติปัฏฐานว่าไม่มีมีโลกนี้) ...แต่แบบนี้ ท่านจะเดินได้อย่างไร คงจะเดินชนโน่นชนนี่เรื่อยไป เพราะการเห็นที่จะเป็นการไม่เห็นได้นี่ ก็คือไม่สนใจอะไรในสิ่งที่เห็นเลย ก็ในเมื่อมันมีการระลึกรู้ด้วยสติปัฏฐานอยู่ตลอดเวลาว่าทุกสิ่งที่เห็นไม่มีตัวตน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเห็น จึงทำให้การเห็นเป็นเพียงเห็นแบบจุดใดจุดหนึ่งที่ตาเรามองตรงออกไป (การที่ม่านตาเราเปิดขึ้น เพื่อรับภาพต่างๆ เพราะจิตเราต้องการที่จะเห็น) ...แบบนี้แล้วจึงจะเป็นการเห็นแบบที่ไม่มีความต้องการเห็นแบบพระอรหันต์ ซึ่งมันก็คงต้องเดินชนโน่นชนนี่ ทำกิจการงานไม่ได้เลย

อีกอย่างนึง คือเรื่องการจำและคิด คือปกติคนเรา จะมีจำและคิดทุกครั้ง เมื่อเรากระทบสิ่งที่ชอบ ที่ติดข้อง อะไรที่เราเฉยๆ เราจะไม่จำและคิดถึงมันอีกเลย ...แล้วแบบนี้ พระอรหันต์ ท่านคงจะต้องไม่มีจำและคิด เพราะท่านไม่ต้องการมัน ...ซึ่งถ้าไม่มีจำและคิด ก็จะไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่ปัจจุบัน ซึ่งมันก็ทำให้ทำกิจอะไรไม่ได้เลย คงจะนอนนิ่งๆ เฉยๆ เหมือนคนตายแล้ว

หรือว่า พระอรหันต์ สามารถควบคุมการเห็น (รวมถึงทุกสิ่งทาง ทวารทั้ง 6) ได้อย่างมั่นคง รวมถึงการจำและคิดด้วย ....กล่าวคือ เห็นเฉพาะสิ่งที่จำเป็นต้องเห็น จำและคิดเฉพาะในส่วนที่ต้องจำและคิด เช่น เมื่อต้องบิณฑบาตร และ ทำกิจต่างๆ ตามวินัยสงฆ์ รวมถึงตอนที่ มีใครมาถามปัญหาธรรม ...ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว อะไรที่จะไปควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ ในเมื่อทุกสิ่งล้วนเป็น อนัตตา ไม่มีตัวตนจริงๆ ทุกอย่างว่างเปล่าหมด

ทั้งนี้ การคิดและจำที่ว่านี้ ตอนแรกผมเข้าใจว่า มันคือสิ่งที่สะสมอยู่ที่จิต ...แต่ทำไปทำมา มันก็ไม่ได้สะสม มันก็เป็นบัญญัติที่เกิดขึ้นทาง มโนทวาร ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

งง ครับ ...งง จริงๆ ตอนนี้เหมือนอยู่ใน เขาวงกตอันกว้างใหญ่ จับทิศทางไม่ถูกแล้ว ไม่รู้ว่า ไปหลงทางตั้งแต่ตอนไหน

...ทุกครั้งที่ผมมีการคิด ทั้งๆ ที่มีสติฯอยู่ตลอด พอคิดไปคิดมานานๆ เข้า ก็รู้สึกว่าเป็นตัวตนของเราคิดอีกแล้ว วันไหนที่คิดเยอะๆ ทั้งวัน (โดยเฉพาะวันทีต้องทำงานยุ่งๆ ) ...ก็เป็นตัวตนของผมอีกที่เป็นผู้คิด ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่า มันต้องเป็น ปรมัตถธรรม ไม่ใช่ "เรา" ที่คิด

ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ให้ขณะคิด เราจะไม่รู้สึกว่า ตัวเราคิด ตัวเราทำ ...คือทราบว่า จะต้องมีสติปัฏฐานมั่นคงมากพอ ที่จะระลึกรู้อยู่ตลอดว่าเป็นสภาพธรรม ทั้งหมดนั้น

จากเดิมที่เคยคิดว่า สิ่งที่เราปฏิบัติอยู่นั้น เป็นสติปัฏฐานแล้ว แต่ทำไปทำ ... มันก็ไม่ใช่ หรือมันใช่ หรือมันทั้งใช่และไม่ใช่สลับกันไปๆ มาๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว ...หรือว่าผมหลงทางแล้วจริงๆ

คือทุกวันนี้ บางวันจะมีเวลาเกือบทั้งวัน ที่อยู่ใน สภาพที่ระลึกสภาพความเป็นจริงที่กำลังปรากฎทางทวารทั้ง 6 ...เหมือนตัวเราจะลอยๆ อยู่ ไม่รับรู้สิ่งที่มากระทบทางใดเลย เพราะเราไม่คิด ไม่รับอารมณ์จากสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้จิตสงบลงมาก รู้ทันกิเลสละเอียดๆ ได้ เช่นว่า ขณะจะขยับมือไปตักแกงในชามแกง ก็จะรู้ว่าเพราะจิตเราอยากกินอาหารในชามนี้ มากกว่าอาหารอื่นๆ ผมก็จะรอจนกว่า ความอยากหายไปก่อน แล้วค่อยขยับมือไปตักแบบเผลอๆ ไม่คิดอะไร แบบนี้น่ะครับ (จริงๆ ผมอาจจะปฏิบัติผิดก็ได้นะครับ อย่าถือสาผมนะครับ) บางทีอยากจะเทรวมกันแล้วกินทีเดียวเลยด้วยซ้ำ จะได้จ้วงตักข้า่วที่ผสมกับข้าวแล้วกินโดยที่ไม่ต้องมีการเลือก (เพราะเลือกมันต้องมีโลภะจึงจะมีการเลือกเกิดขึ้นได้) แต่ก็เพราะว่านั่งกินกันหลายคน เลยทำไม่ได้ ...แล้วก็มีสภาพรู้แบบนี้ เกิดขึ้นอีกมากมายในชีวิตประจำวัน แต่ขอยกตัวอย่างเพียงแค่นี้นะครับ

หรือว่า ผมหลงลืมสติไปรับรู้ มโนทวาร จึงทำให้เป็นแบบนี้ ...แบบว่า พอคิดอะไรเยอะๆ แล้วสติฯ จะหลุดโดยไม่รู้ตัว ..หรือว่าจริงๆ แล้ว นั่นคือยังไม่มีสติ แต่ผมก็รู้สึกตัวนะว่า ขณะที่มีสติ กับไม่มี มันคนละสภาวะ

ยาวอีกแล้วครับวันนี้ พอลองได้คิด มันก็คิดไม่จบแบบนี้ทุกที ...งั้นขอจบลงแต่เพียงเท่านี้ดีกว่า ...ผู้ใดจะช่วยชี้แนะ ขอความกรุณาด้วยนะครับ ผิดถูกไม่เป็นไรเลย แนะนำเ้ข้ามาเลยครับ เยอะๆ เลยก็ดี ผมฟังทุกคนจริงๆ ถ้าผมผิดก็บอกมาเลยครับว่าผิด ไม่ต้องเกรงใจเลย ตอนนี้ผมมั่นใจว่าผมหลงทางอยู่ ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 55  
 
รากไม้
วันที่ 5 ก.พ. 2553

บางขณะ ที่เป็นปัจจุบันมากๆ นั้น จะรู้ได้เลยว่า ไม่มีอะไรอยู่รอบตัว รวมทั้งกายเรา แม้ว่าตาเรายังเห็นกายเราอยู่ แล้วก็จะขนลุกซู่ (คงเพราะรู้สึกว่ามันน่ากลัว ที่จะรับรู้ว่าไม่ีอะไรอยู่รอบตัวจริงๆ ) ...แล้วก็กลับมาอยู่จุดเดิม คือ สภาวะปกติปุถุชน

วันไหนที่ รู้สึกโปร่งๆ มากๆ ก็ลองนั่งสมาธิ แล้วก็ทำจิตให้ว่าง เพื่อให้สติฯเกิด ระลึกรู้สภาพปรมัติธรรม เมื่อเข้าสู่ภวังค์ มันก็รู้สึกขนลุกซู่แว๊ปนึง เหมือนเราจมดิ่งสู่อะไรซักอย่าง ที่มันนิ่งเข้าไป แบบนี้ซ้ำๆ หลายครั้ง เหมือนมีภวังค์หลายชั้น ...แล้วสุดท้ายก็นิ่งอยู่แบบนั้นอยู่นานๆ ไม่รับรู้เวลา ไม่มีคิด ไม่มีรู้สึก ไม่มีอารมณ์ จนกระทั่งรู้สึกว่าพอแล้ว ก็ล้มตัวลงนอน ...พอตื่นมา ก็รู้สึกว่า ตลอดวันนั้นมีสติมากขึ้น รู้สึกเบาๆ สบายตัวดีทั้งวัน

แต่ผมก็ยังคิดว่า นั่นยังไม่ใช่สติปัฏฐาน อะไรหรอกครับ ...หลังจากที่ทบทวนอยู่หลายๆ วันแล้ว ก็คิดได้ว่า สติปัฏฐาน น่าจะต้องมีการเข้าใจสภาพที่เกิดขึ้นทุกๆ อย่างในนั้นด้วย ไม่ใช่ว่า วูบเข้าไปแล้วมีแต่ความว่างๆ โล่งๆ (แต่มันก็สบายดีนะครับ ที่ไ่ม่ต้องรับรู้อะไรรอบตัวเลย) เหมือนเราหลับอยู่ แต่จริงๆ แล้วตื่นอยู่ ประมาณนั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 56  
 
รากไม้
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ก่อนหน้านี้ ผมเลิกสนใจมันแล้วนะครับ มันจะเป็นอะไรก็ช่าง มันจะเรียกว่าาภาวะไหนก็ช่าง ผมไม่อยากสนใจมันแล้ว จะเป็นก็เป็นไป มันก็สบายตัวดี เบาๆ ตัวดี ไม่เดือดไม่ร้อนกับอะไรทั้งสิ้น ...แต่บางที ก็มานั่งคิดว่า เกิดหลงทางแล้วไปไกล จนสติแตก ไปยึดถือว่ามันเป็นไอ้โน่นไอ้นี่ แล้วมาคิดฟุ้งซ่านต่อยอดมันเข้าไป ก็จะยิ่งไปกันใหญ่

ยังอยากจะศึกษาธรรมะต่อไป ให้รู้มากๆ กว่าเดิม เผื่อเอาไว้สอน-แนะนำคนอื่นๆ บ้าง ผมยังไม่อยากสติแตกครับ

ขณะนี้ จึงใคร่ขอ เรียนถามผู้รู้ทุกท่าน (ผมถือว่า ทุกท่านเป็นผู้รู้มากกว่าผม) ช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบพระคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 57  
 
รากไม้
วันที่ 5 ก.พ. 2553

เมื่อไหร่ที่เรา คิด หรือ นึกถึง ความไม่แยแส ความไม่ใส่ใจ ความสงบ ความว่าง สุญญากาศ นิพพาน ...ก็มีการพยายาม นึกไปให้ถึงว่า มันเป็นรูปธรรม เสียให้ได้

เมื่อไหร่ที่เราคิดถึงสิ่งนั้นสิ่งนี้ (เช่น สุญญตา) แล้วเราคิดออกมาได้ นั่นก็คือขณะนั้นเป็นรูปธรรม ที่เกิดขึ้นในจิตแล้ว

นิพพาน คือความว่าง ที่อยู่เหนือความว่าง เพราะตราบใดที่ยังมีความว่างให้เรารู้ได้ว่าเป็นความว่าง ขณะนั้นคือยังไม่มีความว่างจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 58  
 
สามารถ
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ผู้สนใจทุกท่าน
ผมในฐานะผู้ตั้งกระทู้รู้สึกมีความยินดีจากการสนทนาที่ผ่านมา
และขอขอบคุณและอนุโมทนาในความสนใจของทุกๆ ท่าน
ขอให้ความสนในพระธรรมทั้งหลายนี้เป็นปัจจัยแก่ความสำเร็จในภายหน้าแก่ท่านทั้งหลาย

กระทู้ “การหลับไม่มีความจำเป็นอีกเมื่อเกิดสติปัฏฐาน” นี้ได้ให้ประโยชน์แก่ผู้เขียนเป็นอันมาก
และสำหรับท่านอื่นที่สนใจกระทู้นี้ยังคงต้องการการพิจารณาในทุกถ้อยคำอย่างละเอียด ค้นหา อ้างอิง ให้ครบถ้วนและเช่นกันที่จะต้องสอบถามผู้รู้ด้วย

จากการสนทนาผู้เขียนชื่อว่ากระทู้นี้ทำให้หลายท่านเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดสติที่จะพิจารณาธรรมเฉพาะหน้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งความง่วง) เพิ่มขึ้น บ่อยขึ้น
และในทางตรงข้ามอาจทำให้หลายท่านเกิดความเห็นที่แตกต่าง เกิดแนวทางการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับแนวทางตามที่พระพุทธองค์แสดง
ดังนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาตาม เหตุ ผล ประโยชน์ ตามความเป็นจริง
เพื่อความสงบ เพื่อความตรัสรู้ภายหน้าครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 59  
 
paderm
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนความเห็นที่ 54-57

ขออนุโมทนาที่เป็นผู้ตรงว่ายังไม่เข้าใจและมีความสนใจที่จะเข้าใจครับ การศึกษา

ธรรมที่ถูกต้องนั้น ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจเป็นเบื้องต้นเพระเหตุให้เกิดปัญญาและ

การปฏิบัติที่ถูกคือการฟัง ไม่ใช่การไปนั่ง หรือไปจดจ้องตามดูสภาพธรรมอะไรอย่างนั้น

ขอตอบประเด็นต่างๆ ตามที่คุณถามมาดังนี้

ประเด็นที่คุณอ่านหนังสือปรมัตถธรรมแล้วสับสนในเรื่องการเจริญสติ ที่กล่าวว่า เห็น

ก็เห็นเท่านั้นแล้วก็ไม่ให้คิดอะไรหรือไม่ให้เป็นอกุศล สำหรับประเด็นที่คุณเข้าใจตรงนี้

ไมได้หมายความอย่างนั้นครับ การเจริญสติที่ถูกต้อง ไม่ใช่ให้เห็นแล้วไม่ให้คิดต่อหรือ

เห็นแล้วไม่ให้เป็นอกุศล ทุกอย่างเป้นธรรมและเป็นอนัตตา เห็นแล้วก็คิด เห็นแล้วก็

เป็นอกุศล การเจริญสติก็คือเป็นปรกติอย่างเดิมนั่นแหละครับ ไม่ใช่ไปบังคับให้เห็น

แล้วไม่คิดหรือไม่ให้เป็นอกุศล แต่ปรกติเห็นแล้วเป็นอกุศลใช่ไหมครับ ก็อบรมเหตุคือ

การฟังไปเรื่อยๆ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแทนที่จะเป็นอกุศลหลังจากเห็นก็เป็นสติเกิดรู้ว่า

เป็นธรรมไม่ใช่เรา คือรู้ว่าเห็นเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้นครับ เร็วมาก

แล้วก็คิดนึกต่อ ก็เป็นปรกติเพียงแต่ปัญญาเกิดแทรกขั้นเท่านั้นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 60  
 
paderm
วันที่ 5 ก.พ. 2553

ผมมีความคิดเห็นอย่างนี้ครับ เราต้องเริ่มเข้าใจว่าสติทำไมได้เป็นอนัตตา ซึงเราไม่รู้

หรอกว่าเราถูกเจ้าโลภะ ความต้องการหลอกอยู่ รู้ว่าการเจริญสติเป้นสิ่งที่ดี ก็พยายาม

จะตามดู พยายามให้มีสตินั่นไม่ใช่สติครับ แต่เป็นโลภะ หนทางที่ถูต้องที่ผมอยากจะ

แนะนำจริงๆ คือ ฟังครับ ฟังเท่านั้นไม่ต้องไปทำอะไร ไม่ต้องไปกำหนดว่า ตอนนี้

กำลังอยากกินนะ กำลังมีโลภะนะ ก็เป็นเรื่องของการคิดนึก ไม่ใช่สติปัฏฐานเลยครับ

ขอให้ฟังเท่านั้น ไม่ต้องทำอะไรที่ผิดปรกติหรือจะพยายามให้สติเกิดหรือตามดูอะไร

ต่างๆ ครับ เพราะความเข้าใจเบื้องต้นเป็นสิ่งสำคัญครับ

ส่วนประเด็นเรื่องของพระอรหันต์นั้นที่คุณคิดว่า หากพระอรหันต์มีสติก็คงทำอะไร

ไม่ได้เพราะขณะนั้นก็คงไม่รู้อะไรเลย ซึ่งจริงๆ แล้วการเจริญสติ ขณะที่สติเกิดสั้นมาก

แล้วก็คิดนึกรู้เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่อ ไม่ได้หมายความเมื่อเจริญสติแล้วไม่รู้อะไร แต่เพราะ

อาศัยการเจริญสติที่ถูกต้องนั่นแหละครับ ทำให้รู้ความจริงที่มีในชีวิตประจำวันอย่างถูก

ต้องตามความเป็นจริง ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 61  
 
รากไม้
วันที่ 6 ก.พ. 2553

ผมไม่มีอะไรสงสัยแล้วครับ

ขออนุโมทนา ดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม

ขอนอบน้อม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ...ผู้เบิกตาของหมู่มวลมนุษย์ให้สว่าง จนพ้นจากสังสารวัฏฏ์

 
  ความคิดเห็นที่ 62  
 
ตะวัน
วันที่ 6 ก.พ. 2553

ตอบคุณสามารถครับ

ช่วงก่อนหน้านี้ผมเป็นทุกข์กับเรื่องบางอย่างและบังเอิญได้ฟังธรรม แต่จำไม่ได้ว่าจากที่ไหน เนื้อหาพูดถึงการสนใจในตนเอง มองเห็นจิตตัวเอง ในขณะทำสมาธิให้ตามดูความคิดที่เกิดขึ้นภายในใจของตนเองแต่อย่าปรุงแต่ง แล้วปล่อยให้มันดับไป ทีนี้เขาพูดออกมาคำหนึ่งว่า หากเราเพ่งไปจับไปที่อารมณ์อย่างเดียว โดยยึดอารมณ์ที่เกิดในจิตเป็นที่ตั้ง มันจะไม่ใช่การวิปัสนาแต่เป็นวิปัสนู เพราะมัวแต่ยึดติดในอารมณ์หมายถึงเราจะหลงผิดและอาจคิดจินตนาการถึงสิ่งที่เกิดขึ้นไปต่างๆ นาๆ ได้

และการยึดเอาอารมณ์เป็นสมาธิ มันคล้ายกับการเพ่งกสิณที่เน้นการเพ่งไปสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อให้เกิดสมาธิ แต่ไม่ได้เกิดปัญญา ส่วนตัวผมเองนั้นผมก็ลองทำทั้งสองทางที่กล่าวมา ผลก็คือการเพ่งจับในอารมณ์ที่เกิดนั้นมันได้สมาธิจริง แต่ไม่เกิดปัญญา ซึ่งการรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นแต่ไม่ปรุงแต่งนั้น เราจะเห็นการเกิดและดับของความคิดต่างๆ ตลอดเวลา และเข้าใจถึงการสลัดความคิดที่เป็นอุปาทาน หลังออกจากสมาธินั้นผมได้ความโล่ง-โปร่งกับจิตใจมากกว่าการไปเพ่งมอง จับอารมณ์เป็นสมาธิ

ผมเป็นผู้ศึกษาศัพท์แสงต่างๆ ผมก็ไม่ทราบ แต่ผมเชื่อว่าในยามทุกข์ใจอย่างน้อยขอให้ผมเองสามารถตั้งสติและมีสมาธิคิดไตร่ตรองหาทางออกให้กับตัวเองได้ก่อน ซึ่งการเห็นและตามรู้ในสภาพเป็นจริงที่มีการเกิดดับ ก็พอเข้าใจกับปัญหาซึ่งเป็นทุกข์ของผมเองได้มากขึ้น และไม่จมไปกับความทุกข์ของตัวเองเนื่องจากรู้ชัดว่า ทุกสิ่งมีความเกิดและดับครับ

ผมเป็นผู้กำลังศึกษาและจะไม่หยุดศึกษา เพราะผมเชื่อว่าธรรมะที่พระพุทธองค์สอนนั้นลึกซึ้งและมุ่งเน้นให้เราพ้นทุกข์จริงๆ ครับ แม้ศัพท์แสงจะไม่รู้เลยก็ตาม แต่เข้าใจได้จากการเริ่มปฎิบัติครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 63  
 
ตะวัน
วันที่ 6 ก.พ. 2553

ชี้แจงเพิ่มเติมอีกนิดครับ

ผมใช้คำว่าตามรู้ไม่ใช่ตามติด รู้เฉยๆ และให้มันผ่านไป และพิจารณาตามความเป็นจริงครับ ผมใช้ศัพท์อะไรไม่ค่อยเป็นเลยอธิบายแบบยาวๆ แทนนะครับ ถ้าการตามติด ผมเคยหลงไปกับความคิดครั้งนึงก็เลยส่งผลให้เกิดความไม่สบายใจ เพราะหลงอารมณ์และไม่ได้พิจารณาตามความเป็นจริง

ส่วนเรื่องไม่หลับไม่นอนนั้น ขณะที่หลับตาผมก็ตามรู้อาการต่างๆ ว่า เมื่อย ง่วง ปวดตรงนั้นตรงนี้ ความรู้สึกตอนนั้นคือ เหมือนกับผมยืนดูตัวเองอยู่เฉยๆ แม้แต่เป็นเวลาทีต้องพักผ่อนแล้วแต่ยังไม่นอน ขณะนั่งนั้นความง่วงไม่มีเลย มีแต่สิ่งที่ตามรู้ในอาการของตัวเองเฉยๆ แต่เมื่อออกจากสมาธิมาก็ง่วงมาก แต่นอนได้ไม่นานก็อิ่มแล้ว เหมือนกับหลับมาทั้งคืน ผมเลยคิดเอาเองว่าเป็นผลจากการทำสมาธิหรือเปล่า เป็นข้อข้องใจครับ ผู้รู้ช่วยชี้แจงด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 64  
 
รากไม้
วันที่ 6 ก.พ. 2553

ขอบพระคุณครับ ...คุณ paderm เป็นผู้ละเอียดจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 65  
 
สามารถ
วันที่ 6 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 67  
 
paderm
วันที่ 6 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เรียนความเห็นที่ 62-63

ก่อนอื่นเราก็ต้องเข้าใจว่าปฏิบัติคืออะไร ถ้าเราไม่ศึกษาให้เข้าใจถูกต้องจริงๆ อันเริ่ม

จากขั้นการฟัง ก็จะทำให้เข้าใจว่าปฏิบัติอยู่ ปริยัติต้องสอดคล้องกับปฏิบัติ ไม่ใช่ปริยัติ

อีกอย่าง แต่ปฏิบัติก็ทำอีกอย่างครับ ปริยัติแสดงว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับ

บัญชาไม่ได้ สติเป็นธรรมและเป็นอนัตตาด้วย จึงไม่มีตัวเราที่จะไปตามดู แล้วแต่ว่าสติ

เกิดไม่เกิด อย่างที่กล่าวไว้ในความเห็นก่อนๆ ข้างต้นซึ่งถ้าเข้าใจแม้แต่คำว่าสติผิดแล้ว

เราก็จะปฏิบัติผิดด้วยเพราะสำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่สติว่าเป็นสติครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 68  
 
paderm
วันที่ 6 ก.พ. 2553

ยกตัวอย่างเช่น คำว่าปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่งที่ในความเห็นที่ 62ได้กล่าวไว้ หาก

เราศึกษาโดยไม่ละเอียดเราก็จะเข้าใจว่าคำว่าไม่ปรุงแต่งคือไม่คิดนึกหรือไม่เป็นอกุศล

ก็คือไม่ปรุงแต่งแล้ว เห็นก็ไม่ปรุงแต่ง เป็นอกุศลหรือเป็นคนเป็นสัตว์ หรือรู้สึกเฉยๆ

เป็นต้น นี่คือความหมายที่เข้าใจกันเอาเองว่า การไม่ปรุงแต่งคืออย่างนี้ แต่สำหรับ

ความเข้าใจถูกแล้ว ก็ต้องทราบว่า สภาพธรรมอะไร เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง จิตเกิด

ขึ้นลอยๆ ไม่ได้ ต้องมีสภาพธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้นร่วมด้วยนั่นคือ เจตสิก เพราะฉะนั้น

เจตสิกนั่นเองเป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่ง ให้จิตเกิดขึ้น ดังนั้น แค่เห็นปรุงแต่งหรือยัง

ยังไม่เห็นเป็นอะไร ยังไม่เป็นอกุศล ถ้าเผินๆ เราก็ตอบว่ายังไม่ปรุงแต่งเพราะยังไม่คิด

นึก ยังไม่เป็นอกุศลหรือมีความรู้สึกเฉยๆ คือไม่ปรุงแต่ง แต่ไม่ใช่เช่นนั้นครับ ขณะที่

เห็นเกิดขึ้นก็ปรุงแต่งแล้วเพราะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อย 7 ดวง ปรุงแต่งให้จิต

เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต จะเฉยๆ ก็ต้องปรุงแต่งแล้วเพราะต้องมีจิตเกิดขึ้น เมื่อมีจิต

เกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกที่เป็นสภาพธรรมปรุงแต่งจิตเกิดร่วมด้วยแล้วครับ ธรรมเป็นเรื่อง

ละเอียดต้องศึกษาจริงๆ ก็จะทำให้เข้าใจถูกและปฏิบัติถูกครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ การปฏิบัติธรรม การฟังธรรมกับการปฏิบัติ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 70  
 
tharo
วันที่ 8 ก.พ. 2553

ความง่วงก็เป็นธรรมะครับ

ความไม่ง่วงก็เป็นธรรมะครับ เพราะมันมีจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 71  
 
tharo
วันที่ 8 ก.พ. 2553

ความง่วงก็เป็นธรรมะครับ

ความไม่ง่วงก็เป็นธรรมะครับ เพราะมันมีจริง

ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือเปล่าครับ ขอคำชี้แจงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 72  
 
paderm
วันที่ 8 ก.พ. 2553

ความง่วงมีจริงเป็นสภาพธรรม ความไม่ง่วงก็มีจริง สิ่งใดมีจริงปัญญาสามารถรู้ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 73  
 
สามารถ
วันที่ 9 ก.พ. 2553

เรียนคุณตะวัน
ในความเห็นของผมการศึกษาธรรมคือการพิจารณาในสิ่งที่พระพุทธองค์ได้แสดงนั้น
เทียบเคียงกับชีวิต กับความเข้าใจที่เราเข้าใจครับ
ผลที่ควรได้คือมีความเข้าใจที่สอดคล้องตามที่พระพุทธองค์แสดงไว้ครับ
และความทุกข์ อันเกิดจากการยึดถือลดลง ด้วยเข้าใจความจริงมากขึ้น เกิดการละ

ผมไม่แน่ว่า การรู้อารมณ์ ในของคุณตะวันนั้นเป็นอย่างไร และคงไม่สามารถที่จะรู้ได้
หากไม่มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกันครับ แต่ผมว่าที่สำคัญ หากถูกตรงควรจะต้องมีการเห็นลักษณะของธรรม ว่า
เป็นธรรม เป็นความรู้ใหม่ เป็นความเห็นเกิดขึ้นว่าจริงๆ แล้วหาเราไม่เจอ
จะหาได้จากที่ไหน ไม่มี (เพราะนี้เป็นรู้นี้เป็นสิ่งที่รู้ ยังไม่รวดรัดว่าเป็นใคร อะไร) สิ่งสำคัญอีกอย่างที่เราควรพิจารณาคือความเข้าใจในเรื่อง "อนัตตา" ครับท่านอื่นมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 74  
 
ตะวัน
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ตอบคุณสามารถครับ

ผมพยายามคงสติพิจารณาในความไม่เที่ยง เพื่อเข้าใจในความไม่มีตัวตน และเพื่อลดทิฏฐิยึดมั่นถือมั่น

แรกๆ ที่พิจารณานั้นจิตก็หลงไปกับอารมณ์จนปรุงแต่งสิ่งในอารมณ์นั้นจนกลับไปเป็นทุกข์ เพราะยังไม่มีหลักยึด พอกลับไปศึกษาถึงความไม่เที่ยงและไม่มีตัวตนนั้น ความยึดมั่นในตัวตนจึงคลายออกไป หลังจากนั้นจึงตามรู้จิตโดยตลอดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่เข้ามาทางตาที่ได้มองเห็น เสียงที่ได้ยิน ความคิดผุดขึ้นมานั้น มีความเกิดและดับไปโดยตลอด ผมอธิบายความรู้สึกในขณะนั้นไม่ถูกครับ แต่พอไปนึกถึงสิ่งที่ทำให้ผมเป็นทุกข์ก่อนที่จะเริ่มพิจารณา ความทุกข์เหล่านั้นกลับไม่ใช่ความทุกข์ มีแต่ความโล่งโปร่งและไม่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ครับ

ขออภัยที่ผมอาจใช้คำวกวนไปบ้างเพราะอธิบายเป็นศัพท์ต่างๆ ไม่เป็นครับ....ขอบพระคุณและน้อมรับทุกความเห็นในข้อชี้แนะและแนะนำต่างๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 75  
 
ตะวัน
วันที่ 9 ก.พ. 2553

''ผมอธิบายความรู้สึกในขณะนั้นไม่ถูกครับ แต่พอไปนึกถึงสิ่งที่ทำให้ผมเป็นทุกข์ก่อนที่จะเริ่มพิจารณา ความทุกข์เหล่านั้นกลับไม่ใช่ความทุกข์ มีแต่ความโล่งโปร่งและไม่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ครับ''

ความโล่งโปร่ง ผมหมายถึงความเข้าใจในความไม่เที่ยงแท้และไม่มีตัวตนครับ ซึ่งคือการไม่ยึดถือในอัตตา ทำให้เข้าใจในคำว่า "ความทุกข์ที่ไม่ใช่ความทุกข์"และ"ปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหา" เหมือนกับที่เข้าใจคำว่า "ตัวเราที่ไม่ใช่ของเรา"นั่นเองครับ พอเข้าใจในการไม่ยึดติดในตัวตนจึงได้เข้าใจความหมายของความไม่มีตัวตน ผมถึงได้ใช้คำว่าโล่งโปร่งและไม่เห็นว่าความทุกข์ที่เคยมีเป็นความทุกข์อีกต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 76  
 
booms
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ดิฉัน ไม่ขอแสดงความคิดเห็นใดๆ หรอกค่ะ นอกจาก ขออนุโมทนา แด่..คุณ สามารถ ท่านผู้เริ่ม กระทู้สนทนานี้ ให้ได้เกิด การสนทนาธรรม ในแง่มุมต่างๆ กว้างขวางขึ้น..... และ ขออนุโมทนา แด่ คุณ paderm ด้วย ที่อธิบาย ในประเด็นต่างๆ
อย่างละเอียด แก่ สหายธรรม ทุกท่าน ให้เข้าใจธรรมอย่าง "ถูกต้อง" และอาจ ช่วยให้ สหายธรรม บางท่านได้ เกิด การ พิจารณาธรรม โดย "แยบคาย" มากขึ้น ก็ได้ค่ะ

สุดท้าย ขออนุโมทนา แด่ กุศลศรัทธา ของสหายธรรมทุกๆ ท่าน ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 77  
 
paderm
วันที่ 11 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 74-75

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนครับ ปัญญาต้องเป็นไปตามลำดับ ถ่าไม่ศึกษาก็จะไม่

เข้าใจว่าปัญญาขั้นแรกรู้อะไร กิเลสอะไรที่ละเป็นอันดับแรกครับ ปัญญาขั้นแรกคือรู้

ว่าเป็นธรรม เป็นนามธรรมและรูปธรรม ไม่ใช่การรู้การเกิดดับหรือความไม่เที่ยง ถ้ายังไม่

รู้ว่าเป็นธรรมเป็นนามธรรมและรูปธรรมแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ว่าสภาพธรรมไม่เที่ยงในเมื่อ

ยังไม่รู้ตัวธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แล้วจะไปรู้ในความไม่เที่ยงของตัวธรรม เป็นไป

ไม่ได้เลยเพราะยังไม่รู้จักตัวธรรม ขณะนี้เห็น เห็นเป็นคนเป็นสัตว์ ขณะนั้นปัญญาไม่

เกิดรู้ความจริงว่าเป็นธรรม แต่การรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ก็คือเห็น

เพียงสีเท่านั้น นี่คือปัญญาขั้นแรกก่อนที่จะถึงการรู้การเกิดดับ หากยังเห็นเป็นคน เป็น

สัตว์ ไม่เห็นว่าเป็นเพียงสี (โดยไม่ใช่คิดนึก) ก็ไม่มีทางเห็นความไม่เที่ยง เพราะปัญญา

ต้องเป็นไปตามลำดับครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 79  
 
สามารถ
วันที่ 11 ก.พ. 2553

เรียนคุณตะวันครับ ยินดีในการสนทนาและอนุโมทนาครับผมได้พิจารณาคำอธิบายของคุณตะวันครับ
คำอธิบายนั้นค่อนข้างทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าคุณตะวันประจักษ์การเกิดดับของธรรมครับ
และตามความเห็นของคุณ paderm (77) นั้นปัญญาต้องประจักษ์ลักษณะของแต่ละสภาพธรรมก่อนจึงจะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาขั้นต่อๆ ไปได้ ซึ่งรวมถึงปัญญาขั้นประจักษ์การเกิดดับของธรรมมะได้ครับจึงอยากทราบความเห็นครับว่าคุณตะวันประจักษ์ "ลักษณะ" แต่ละธรรมะแล้วใช่หรือไม่ครับ หรืออย่างไร?
(ไม่ได้ถามแบบเคร่งเครียดนะครับ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนสนทนา)
ขออนุโมทนาในความตั้งใจครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 84  
 
peem
วันที่ 14 ต.ค. 2560

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาทุกๆ ท่านที่ร่วมสนทนาให้เข้าใจเพิ่มขึ้นคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 85  
 
Tongta
วันที่ 21 พ.ย. 2563

ขอบคุณเจ้าของกระทู้และผู้เข้ามาตอบคำถามหลักหลายประเด็นซึ่งใช้ในการประกอบการปฏิบัติได้เป็นอย่างดีแม้เวลาจะผ่านมานานนับ 10 ปีแต่รู้สึกว่าความรู้นั้นยังคงใหม่อยู่เสมอ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ