ฉัปปาณสูตร..อุปมาอายตนะ ๖ เหมือน งู เป็นต้น
prachern.s
วันที่ 27 ม.ค. 2553
หมายเลข 15282
อ่าน 3,908
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 497
๑๐. ฉัปปาณสูตร (นำมาเพียงบางส่วน) ...[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรเป็นอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดชึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่ง อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง.... [๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจร (ที่หากิน) ต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียวคือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียวครั้นแล้วพึงขมวดปมรวมกันไว้ตรงกลางปล่อยไป. ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นแลสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกันเหล่านั้น พึงดึงกันและกันเข้าหาเหยื่อและอารมณ์ของตนๆ ...
ข้อความบางตอนจากอรรถกถามีว่า ....พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอุปมานี้เปรียบเทียบด้วยสิ่งที่จะ พึงเห็นสมกัน หรือด้วยสามารถแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะทั้งหลาย. ในสองอย่างนั้น เมื่อว่าด้วยสิ่งที่เห็นสมกันก่อน กิจแห่งอัปปนาจะไม่มีอีก แผนกหนึ่งต่างหาก ส่วนในบาลีเท่านั้น จึงจัดเป็นอัปปนา.แต่เมื่อว่า โดยการแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ จึงเป็นอัปปนาดังนี้. ธรรมดาว่างูนี้ ไม่ชอบอยู่ในที่เย็นและที่เตียน ในภายนอก....
๑๐. ฉัปปาณสูตร (นำมาเพียงบางส่วน) ...[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรเป็นอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดชึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่ง อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง.... [๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจร (ที่หากิน) ต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียวคือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียวครั้นแล้วพึงขมวดปมรวมกันไว้ตรงกลางปล่อยไป. ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นแลสัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกันเหล่านั้น พึงดึงกันและกันเข้าหาเหยื่อและอารมณ์ของตนๆ ...
ข้อความบางตอนจากอรรถกถามีว่า ....พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอุปมานี้เปรียบเทียบด้วยสิ่งที่จะ พึงเห็นสมกัน หรือด้วยสามารถแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะทั้งหลาย. ในสองอย่างนั้น เมื่อว่าด้วยสิ่งที่เห็นสมกันก่อน กิจแห่งอัปปนาจะไม่มีอีก แผนกหนึ่งต่างหาก ส่วนในบาลีเท่านั้น จึงจัดเป็นอัปปนา.แต่เมื่อว่า โดยการแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ จึงเป็นอัปปนาดังนี้. ธรรมดาว่างูนี้ ไม่ชอบอยู่ในที่เย็นและที่เตียน ในภายนอก....