สติปัฏฐาน

 
รากไม้
วันที่  28 ม.ค. 2553
หมายเลข  15310
อ่าน  1,563

หมั่นทำกุศลจนเป็นนิสัย หมั่นละกิเลสให้หมดไป

หมั่นขัดเกลาูจิตใจให้สงบ หมั่นแยกผัสสะ้ให้ครบหกทาง

เมื่อจิตว่างจึงเข้าสู่้ "สติปัฏฐาน" สภาพรู้จึงเริ่มเบ่งบาน

มาเผาผลาญความรู้ผิด จึงไร้การยึดติดปลอดโปร่ง

เกิดความโล่งว่างสว่างสงบ ทั่วทั้งภพไร้สุขใดเกินนี้

หากชีวีต้องพลีดับในกาลนี้ จะไม่มีคิดเสียดายชาติเกิดเลย

อาจไม่ค่อยถูกสัมผัสนะครับ อย่าถือสากันเลยนะ เพราะไม่เก่งแต่งกลอนนักหรอก เอาแต่เนื้อความเป็นสำคัญก็แล้วกันนะครับ

...ขอเอาใจช่วยผู้ที่ค้นหา สติปัฏฐาน ทุกท่านนะครับ

ไม่ว่าจะอีกกี่สิบปี ก็ต้องหมั่นทำกุศล เพื่อขัดเกลาจิตใจไปเรื่อยๆ นะครับ ถ้าขัดเกลากิเลสไม่หมด สติปัฏฐานก็เกิดไม่ได้ครับ (อาจมีกิเลสเหลือบ้างเล็กน้อยมากๆ แต่ในขณะก่อนจะเกิดสติปัฏฐาน จิตจะต้องว่างจากกิเลสทั้งหมดจริงๆ ครับ มิฉะนั้นแล้ว สภาพรู้ ไม่เกิดครับ)

...เกิดมาชาตินี้แล้ว ได้เป็นคนไทย ที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ พระธรรมก็เป็นภาษาไทย คำบาลีในพระไตรปิฎกเราก็อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก หนังสือก็มี ซีดีก็มี ในทีวีวิทยุก็มี ...และท่านอาจารย์สุจินต์ ก็ได้สละเวลาอุทิศตัวเพื่อสอนธรรมะแก่พวกเรา ด้วยความอุตสาหะมากมายขนาดนี้

"ขอได้โปรด" อย่าได้ละความพยายามเลยนะครับ จนกว่าจะได้พบว่า "ธรรมมะ นั้นเป็นจริงได้อย่างไร" แล้วท่านก็จะซาบซึ้งกับ "พระมหากรุณาคุณ ของพระอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้า" ว่ามีมากมายจนหาที่สุดไม่ได้จริงๆ

แล้วก็คงต้องไม่ลืมว่าต้องกราบขอบพระคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และทุกท่านที่ร่วมกันกับท่าน เพื่อเผยแพร่พระธรรม ด้วยครับ

ส่วนตัวผมซึ่งยังเป็นผู้รู้น้อย เกี่ยวกับพระอภิธรรม ...ก็จะศึกษาพระธรรมเพิ่มเติมให้มากขึ้นเรื่อยๆ ครับ จะไม่หยุด เพราะหยุดไม่ได้จริงๆ ยิ่งศึกษายิ่งได้รู้ ยิ่งรู้ยิ่งต้องศึกษาต่ออีกเพราะรู้ว่า พระธรรมมีค่ามากมายมหาศาล หากปฏิบัติตามได้แล้วใช้ปลดเปลื้องทุกข์ให้หมดจดได้จริงๆ

ขอกราบอนุโมทนา ดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Sam
วันที่ 29 ม.ค. 2553

ผู้ขัดเกลากิเลสหมดแล้ว คือพระอรหันต์ครับ ส่วนปุถุชนผู้กำลังศึกษานั้น ยัง

มีกิเลสอยู่เต็ม และในขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั้นเอง ที่ค่อยๆ ขัดเกลากิเลสทีละน้อยๆ

จนกว่าจะดับกิเลสเป็นสมุทเฉทได้ตามลำดับ ถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 ม.ค. 2553

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 15310 ความคิดเห็นที่ 1 โดย K

ผู้ขัดเกลากิเลสหมดแล้ว คือพระอรหันต์ครับ ส่วนปุถุชนผู้กำลังศึกษานั้น ยัง

มีกิเลสอยู่เต็ม และในขณะที่สติปัฏฐานเกิดนั้นเอง ที่ค่อยๆ ขัดเกลากิเลสทีละน้อยๆ

จนกว่าจะดับกิเลสเป็นสมุทเฉทได้ตามลำดับ ถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ครับ


ขออนุโมทนาคุณ k ค่ะ

".....ถ้าขัดเกลากิเลสไม่หมด สติปัฏฐานก็เกิดไม่ได้ครับ (อาจมีกิเลสเหลือบ้างเล็ก

น้อยมากๆ แต่ในขณะก่อนจะเกิดสติปัฏฐาน จิตจะต้องว่างจากกิเลสทั้งหมดจริงๆ ครับ

มิฉะนั้นแล้ว สภาพรู้ ไม่เกิดครับ) ..."

ถ้าขัดเกลากิเลสหมด.......ก็ไม่จำเป็นต้องเจริญสติปัฏฐานแล้ว ใช่มั้ยค่ะ?

จุดประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐาน........เพื่ออะไร?

อารมณ์ของสติปัฏฐาน.....คืออะไร?

แล้วทำไมจึงต้องทำให้.....จิตว่าง (จากกิเลส) ก่อนล่ะคะ?

จิตประเภทใดบ้างที่.....ว่างจากกิเลส?

อกุศลจิตที่เพิ่งดับไปเป็น......อารมณ์ของสติปัฏฐานได้มั้ยคะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
รากไม้
วันที่ 29 ม.ค. 2553

ถ้าขัดเกลากิเลสหมด.......ก็ไม่จำเป็นต้องเจริญสติปัฏฐานแล้ว ใช่มั้ยค่ะ?

>> ผู้ขัดเกลากิเลสหมด นั้นก็คงเป็นพระอรหันต์ เท่านั้น ...ผมจึงไม่ทราบจริงๆ คือปัญญามีหลายระดับขั้นครับ ปัญญาแต่ละขั้นก็มีความแตกต่างกันพอสมควร ผมจึงมิกล้า ฟันธง ในเรื่องนี้ครับ ....ถ้าหาคำตอบได้ จะมาเรียนให้ทราบครับ หากต้องการรู้จริงๆ หาอ่านเอาตามหนังสือ ก็น่าจะมีนะครับ

จุดประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐาน........เพื่ออะไร?

>> สติปัฏฐาน เป็นประตูสู่ "สภาพรู้" ตาม โลกุตรธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ...อันดับแรก คือจะพบกับสภาพที่ท่านอาจารย์ได้บรรยาย เข้าใจแบบทะลุปรุโปร่ง เกี่ยวกับคำว่า "มีสติตามรู้สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ทุกขณะ" เราจะเห็นตามนั้นจริงๆ ตามที่ท่านอาจารย์บรรยายจริงๆ มันจะชัดเจนมาก ...อันดับต่อมา เมื่อหมั่นเจริญ จนสติตั้งมั่นดีแล้ว ก็จะเอาไปพิจารณา ปรมัตถธรรม ในขั้นละเอียดขึ้นไปได้ครับ จะทำให้รู้จริง รู้ชัด เพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ

>> แต่ว่า "ความเข้าใจ" ในขณะที่ฟัง สำคัญที่สุด เพราะว่า ถ้าเข้าใจสิ่งที่ฟังผิด ก็จะเกิดสติปัฏฐานแบบผิดๆ คือไปจับเอาความเชื่อผิดมาจับมั่นไว้ด้วยสติ เหมือนบางคนไปนั่งสมาธิเอากุศล อะไรแบบนั้นไปเลยครับ

อารมณ์ของสติปัฏฐาน.....คืออะไร?

>> ขณะเจริญสติปัฏฐานนั้น ไม่มีอารมณ์ครับ เพราะกิเลสไม่เกิด ...บางครั้ง จะรู้สึกเหงาๆ (ด้วยกิเลสบางๆ ที่ยังมีเหลืออยู่) เพราะเหมือนอยู่โลกนี้คนเดียวจริงๆ

แล้วทำไมจึงต้องทำให้.....จิตว่าง (จากกิเลส) ก่อนล่ะคะ?

>> ถ้าจิตไม่ว่างจากกิเลส ย่อมมีอารมณ์ทันทีเมื่อผัสสะตกกระทบทางทรารทั้ง 6 จึงไม่เกิดปัญญา แม้ว่าจะมีสติอยู่เต็มร้อยก็ตาม (ในระยะแรก ปัญญายังไม่คมกล้า จึงต้องรอให้มีขณะที่จิตว่างๆ เสียก่อน) ฝึกฝนจนเมื่อปัญญาคมกล้าแล้ว จะมีกำลังเหนืออารมณ์และกิเลส แทรกตัวได้ จึงทำให้สติปัฏฐานเกิดได้บ่อยขึ้นตามลำดับ ครับผม

อนึ่ง... ผู้ที่เจริญสติได้ครั้งแรกๆ จะเกิดความตื่นเต้น ตกใจ แปลกประหลาดใจ ยินดี พอใจในสิ่งที่เกิด อยากให้เกิดอีก กังวลว่าจะเกิดอีกไหม ฯลฯ พวกนี้ต้องระวังให้ดี เพราะว่าเป็น อกุศลจิต ซึ่งเป็นอุปสรรคให้ สติปัฏฐาน อาจไม่เกิดอีกเลย หรืออีกนานกว่าจะเกิดได้อีก

จิตประเภทใดบ้างที่.....ว่างจากกิเลส?

>> ก็โสภณจิตทั้งหมดครับ มีกี่ประเภทไม่รู้ ผมจำไม่ได้จริงๆ ...ต้องหมั่นขัดเกลากิเลสเรื่อยๆ ครับ และต้องเรียนว่า การนั่งสมาธิ ช่วยไม่ได้ดั่งเช่นท่านอาจารย์ได้สอนจริงๆ เพราะ สมาธิเป็นแค่จิตสงบ แต่ไม่ได้ว่างจากกิเลส (เช่นว่า ความยินดีพอใจในความสงบ ความหลงผิดคิดว่านั่งสมาธิแล้วดี นั่งเพื่อหวังผลดีให้เกิดแก่ตัว จิตน้อมไปในอวิชชา เป็นต้น)

อกุศลจิตที่เพิ่งดับไปเป็น......อารมณ์ของสติปัฏฐานได้มั้ยคะ?

>> อกุศลจิต จะไม่เกิดในขณะที่เจริญสติปัฏฐานได้เลยครับ ...ถ้าเกิด มักจะเคลิ้มไปในอารมณ์ของอกุศล แล้วขาดสติไป ...แต่บางทีสติก็กลับมาใหม่ได้ครับ ผู้ที่หมั่นเจริญบ่อยๆ ก็กลับมาได้เร็วและบ่อยกว่าคนที่ ยังไม่เชีี่ยวชาญครับ

>> ผมเข้าใจว่า คุณไตรสรณาคมน์ จะถามว่า ....... ในชีวิตประจำวัน ที่เรารู้อารมณ์ตนเอง อารมณ์ผู้อื่น รู้ว่านั่นเป็นกิเลสตัวโน้นตัวนี้ ในทันทีที่รับมานั้น ใช่สติปัฏฐานหรือเปล่า?? ...นั่นเป็นเพียงสติตามรู้อารมณ์เฉยๆ นะครับ ยังไม่ใช่สติปัฏฐานนะครับ เพราะว่าสติฯ จะทำงานเร็วกว่านั้น เร็วประหนึ่งว่า พอแสงสีมากระทบตา ก็เป็นปัญญาทันทีเลย ยังไม่ทันได้เป็นอารมณ์จึงไม่มีกิเลส , แต่พอเผลอ

เช่นว่า ขณะอ่านเมนูอาหารเพื่อเลือกสั่ง พออ่านชื่ออาหารที่เคยกินเคยชอบปุ๊ป ก็คิดถึงรสอาหารอร่อยๆ ที่ชอบปั๊ป ความอยากเกิดทันที (คือเกิดอารมณ์เกิดกิเลสตามทันที) สติฯ ก็หลุดทันทีครับ

ที่ถููกต้องเป็น อ่านชื่ออาหาร คิดถึงลักษณะอาหาร ไม่คิดถึงรสชาติ (คิดไม่ออกเลย) ก็ในเมื่อเราเห็นเพียงชื่ออาหารในเมนูเท่านั้น สติตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ออกนอกไม่ฟุ้งซ่าน จิตจึงไม่ปรุงจนถึงขั้นรู้รสอาหารเลยครับ ...อ่านชื่ออาหารไหนๆ ก็ไม่เกิดความอยากกินเลย เพราะข้อความบอกรสอาหารไม่ได้ เลยไม่รู้ว่าจะอร่อยไม๊ น่ากินไม๊

ขออนุโมทนา ดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 29 ม.ค. 2553

จิตที่เสพความว่างเป็นอารมณ์

เป็นสมถกรรมฐานนะครับ ไม่ใช่วิปัสสนาและสติปัฏฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 ม.ค. 2553

คุณรากไม้ค่ะ,

ยินดีที่ได้ร่วมสนทนาธรรมด้วยค่ะ

ในฐานะกัลยาณมิตร ขอแนะนำให้คุณรากไม้ใช้เวลาในการฟัง/ศึกษาพระธรรม และ

พิจารณาในสิ่งที่กำลังฟังให้มากๆ นะคะ เพราะสิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยให้

เราเข้าใจสภาพธรรมได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นค่ะ

การศึกษาธรรมไม่ใช่เรื่องรีบร้อน แต่เป็นการสะสม "ความเข้าใจ" ...........นั่นคือการ

เจริญเหตุที่ถูกต้อง

เมื่อเหตุคือความเข้าใจถูก (ปัญญา) ......ผลก็คือความเข้าใจถูก

เมื่อเหตุคือความไม่รู้..........ผลก็คือความไม่รู้ค่ะ

อารมณ์ของสติปัฏฐาน.....คืออะไร?

>> ขณะเจริญสติปัฏฐานนั้น ไม่มีอารมณ์ครับ เพราะกิเลสไม่เกิด ...บางครั้ง จะรู้สึก

เหงาๆ (ด้วยกิเลสบางๆ ที่ยังมีเหลืออยู่) เพราะเหมือนอยู่โลกนี้คนเดียวจริงๆ

จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ การที่จิตเกิดขึ้นในแต่ละขณะ ต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็น

อารมณ์.........อารมณ์หมายถึงสิ่งที่จิตรู้

ดังนั้นขณะที่สติปัฏฐานเกิดจะกล่าวว่า......ไม่มีอารมณ์ไม่ได้ค่ะ แต่อารมณ์ของสติ

ปัฏฐานจะต่างจากอารมณ์ของจิตอื่นตรงที่ว่า....อารมณ์นั้นต้องเป็น "ปรมัตถ์" (หมาย

ถึงนามหรือรูปที่กำลังปรากฎอย่างใดอย่างหนึ่ง) และต้องเกิดร่วมกับปัญญาค่ะ

อกุศลจิตที่เพิ่งดับไปเป็น......อารมณ์ของสติปัฏฐานได้มั้ยคะ?

>> อกุศลจิต จะไม่เกิดในขณะที่เจริญสติปัฏฐานได้เลยครับ

ถูกต้องค่ะ แต่อกุศลที่เพิ่งดับไป เช่น ความโกรธ.....เป็นสิ่งที่มีจริงใช่มั้ยค่ะ สิ่งนี้

สามารถเป็นอารมณ์ เป็นฐานหรือที่ตั้ง ให้สติระลึกและปัญญาก็ศึกษาและพิจารณา

ตามความเป็นจริงได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
รากไม้
วันที่ 30 ม.ค. 2553

จากเท่าที่ดููๆ มา สิ่งที่ผมอธิบายไป ก็เห็นจะมีแต่ผลเสีย หลายด้าน

ถึงแม้ว่า ผมจะอธิบาย สติปัฏฐาน ให้ใครฟังแล้วเข้าใจไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่า สิ่งนั้นไม่มี ...เมื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ผมจะไม่เรียกชื่ออะไรเลย ก็ใช่ว่าจะไม่มี

เรื่องข้อโต้แย้งเหล่านี้ เป็นเรื่องน่ายินดีนะครับ แสดงว่าที่มีสหายธรรม หลายท่าน ที่สนใจเรื่องธรรมะ ....ผมยังศึกษาในเรื่อง "บัญญัติ" น้อยไปจริงๆ อย่าได้ถือสา และเราจงมาช่วยกัน ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดกัน

ความเห็นของ คุณขอธรรมทาน และคุณไตรสรณาคมน์ "น่าจะถูกต้อง" มากกว่าผมนะครับ ...สหายธรรมท่านใดอ่านอยู่ ก็ขอให้เข้าใจตามนี้ครับ

ส่วนความเห็นของ คุณตะวัน ...ขออนุโมทนาครับ และได้โปรดอย่าหยุดศึกษา หรือหยุดขัดเกลากิเลสนะครับ ...ถ้าคุณถือศีลอะไรอยู่ ก็ขอให้เข้าใจว่า ต้องถือศีลจนกระทั่งว่าเป็นความเคยชิน เป็นอุปนิสัย อาจจะเรียกว่า ถือศีลจนไม่มีศีลอีกต่อไปก็ได้ (คือไม่รู้สึกว่าตนเองถือศีลอยู่ แต่จริงๆ แล้วเราอยู่ในศีลตลอดเวลา) แบบนี้จึงจะใช้ได้นะครับ ...ความดีอื่นๆ การเจริญกุศลอื่น ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน คือต้องทำจนชินให้เป็นนิสัยครับ

ขออนุโมทนา ดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 30 ม.ค. 2553

การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ฯลฯ เป็นปกติ ไม่ว่าจะทำ

อะไร หรืออยู่ที่ไหนก็ตาม เพราะการอบรมปัญญาเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในชีวิตค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขอให้กลับไปเริ่มกลับคำว่าธรรมคืออะไรครับ ต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจถูกต้องก่อน

จึงจะเข้าใจสติปัฏฐานได้ ไม่เช่นนั้นก็เป็นเรื่องคิดนึกไปเองและทำให้เข้าใจผิดครับ

ขออนุโมทนา เชิญคลิกอ่านที่นี่... ก่อนจะถึง...สติ-ปัฏฐาน !

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
รากไม้
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขอปิดกระทู้นี้นะครับ

ด้วยเหตุว่า ผมพยายามจะอธิบาย สภาวะของ สติปัฏฐาน แต่ผมยังไม่มีความรู้เรื่องการอธิบาย ...จึงอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดได้

ขอบคุณครับ ....ขออนุโมทนา ทุกดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
booms
วันที่ 31 ม.ค. 2553

เรียน...คุณรากไม้ค่ะ

เมือคุณจะปิด กระทู้ ในเรื่องเกี่ยวกับ สติปัฏฐาน....

ดิฉันใคร่ ขอให้ คุณช่วยทบทวน ความคิดเห็นของท่านต่างๆ ....ตั้งแต่ ควานคิดเห็น ของ คุณ prachern. s , คุณ kulwilai , คุณ ไตรสรณคมณ์ , คุณ พุทธรักษา,
คุณ narong. p ,คุณ thorn ,คุณ wannee s. ,คุณ paderm........

อยากให้ คุณ ได้อ่าน ความคิดเห็นของท่านเหล่านั้น ......ค่อยๆ อ่าน อย่างช้าๆ .....
ค่อยๆ พิจารณา ใน
"ประโยคต่างๆ ในข้อความ "ที่ท่านเหล่านั้นแสดงความคิดเห็นมา........ด้วย ความละเอียด รอบคอบ.....
ดิฉัน คิดว่า....จะเป็นประโยชน์ เกื้อกูล ความรู้ ความเข้าใจที่ ถูกต้อง ต่อคุณ..ได้ดีขึ้นนะคะ.........

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เมตตา
วันที่ 31 ม.ค. 2553
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
รากไม้
วันที่ 1 ก.พ. 2553

หามิได้ครับ คุณ boom

ผมเข้าใจหมดแล้ว ต่างหากครับ

มิได้ กล่าวล่วงเกิน หรือสบประมาทความรู้ใครๆ เลย

อันคำกล่าวใด ที่กล่าวถึงพระธรรม ย่อมเป็นสิ่งสูงค่ายิ่งนัก

พระธรรม เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ จะลบหลู่ได้อย่างไร

ผมกล่าวปิดกระทู้ เพราะว่า เดี๋ยวจะมีคนมาถามคำถามที่ผมตอบไม่ได้อีก

เพราะผมพยายามสื่อเป็นข้อความ แต่ก็มีการเข้าใจไม่ตรงกันทุกทีเลย

จึงไม่ขอต่อความยาว กระทู้นี้อีก แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ต่างๆ ที่ท่านอาจารย์หลายท่าน รวมถึง สหายธรรม ได้เข้ามาร่วมสนทนา ก็ยังคงเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกครั้ง เช่นเดิมครับ

ขออนุโมทนา ทุกดวงจิตผู้ใกล้พระธรรม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ