อธิษฐานในแบบคนไทยเข้าใจ VS อธิษฐานในทางพุทธศาสนา ?
ผมเข้าใจว่ามันต่างกันนะครับ ไม่ทราบจริงเท็จเป็นอย่างไร? แบบชาวบ้านเข้าใจคือ ทำบุญเสร็จแล้ว อธิษฐาน ขอโน่น ขอนี่ ไปไหว้พระพุทธรูป อธิษฐาน ขอโน่น ขอนี่ ไปบนพระพุทธรูปหลวงพ่อโสธร ด้วยไข่ต้มบ้าง ด้วยอามิสต่างๆ บ้าง อธิษฐาน ขอโน่น ขอนี่
ผมเคยอ่านหนังสือ "บารมีในชีวิตประจำวัน" ผมว่าต่างจาก "อธิษฐานบารมี" ของพระโพธิสัตว์มากเลยนะครับ เหมือนกับว่าเป็นการตั้งใจมั่น (แล้วทำเองด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้า) มากกว่าที่จะเป็นการขอๆ ๆ บนๆ ๆ แบบชาวบ้านนะครับ
อยากทราบว่าจุดนี้อาจารย์สมณโคดมเคยตรัสเกี่ยวกับ "อธิษฐาน" VS การ "บนบานขอโน่นขอนี่จากเทพยดา" ไว้บ้างหรือไม่ อย่างไรครับ?
ขอบคุณครับ...
ขอเรียนตามที่เข้าใจครับ อธิษฐานแบบชาวบ้าน ด้วยอกุศลจิต เป็นสมุฏฐาน อธิษฐานบารมี ด้วยกุศลจิตและมีปัญญา เป็นสมุฏฐาน และมีรายละเอียดที่เคยสนทนากันมาแล้วที่ ...
สรุปว่าหมายถึง การตั้งจิตมั่น แล้วทำเองตามที่ได้ตั้งจิตไว้ดีแล้ว ใช่ไหมครับ ส่วนสัจจบารมี หมายถึงการทำตามที่ได้อธิษฐาน (ตั้งจิตมั่น) ไว้ในตอนแรก โดยไม่เปลี่ยนใจไม่บิดพริ้วไม่โลเลไม่ล้มเลิก นี้คือสัจจบารมี่ใช่มั้ยครับ? ส่วนอธิษฐานแบบไทยๆ นี่ ผมรู้สึกเหมือนเขาขอๆ กันเลยนะครับ หลายคนกลายเป็นชาวพุทธขี้ขอไปซะแล้ว
สมัยก่อนผมก็เคยนะครับ ไหว้พระอธิษฐานให้สอบได้ บนไว้ว่าจะวิ่งแก้บน ฯลฯ แทนที่จะอธิษฐานแบบชาวพุทธคือ อธิษฐาน (ตั้งจิตมั่น) ว่าจะอ่านหนังสือสอบให้มาก ตั้งใจติวให้มาก จนกว่าจะสอบเสร็จ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อธิษฐานของความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องคือการขอ เป็นไปด้วยโลภะ อธิษฐานที่เป็นบารมี ต้องเป็นความตั้งใจมั่นที่จะทำในสิ่งที่เป็นกุศลและที่สำคัญ ต้องเป็นเรื่องของปัญญาด้วยที่มีความเห็นถูกว่าทำเพื่อละกิเลส สละกิเลสเพื่อสิ้นการเกิดการตาย ไม่ใช่กุศลที่ศาสนาอื่นทำกันเพื่อไปอยู่สถานที่นิรันดร์อันไม่ใช่ความเห็นถูกครับ ดังนั้น ต้องมีความเห็นถูก (ปัญญา) เป็นสำคัญ ซึ่งตั้งใจมั่นในการทำกุศล จึงอันเป็นไปเพื่อดับกิเลสครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์