ลูกบวช แล้วพ่อแม่ได้บุญจริงหรือ ถ้าได้ ได้ตอนใหน

 
chaiyakit
วันที่  29 ม.ค. 2553
หมายเลข  15314
อ่าน  21,442

ลูกบวช แล้วพ่อแม่ได้บุญจริงหรือ ถ้าได้ ได้ตอนใหน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 29 ม.ค. 2553

ถ้าผู้ศึกษาทราบว่า บุญคืออะไร ได้บุญคืออะไร ท่านก็จะตอบปัญหาได้ต้วยตนเองเพราะบุญคือกุศลจิต ที่เป็นไปในบุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีทาน เป็นต้นถ้างานบวชลูกเลี้ยงแขกด้วยการ ฆ่าไก่ ฆ่าหมู ฆ่าวัว เลี้ยงสุรา หมอลำ เป็นต้น แล้วกุศลจิตอยู่ที่ไหน เมื่อลูกบวชแล้วประพฤติตามพระธรรมวินัยหรือไม่ หรือเข้าไปย่ำยีสิกขาบท ทำลายพระศาสนา บุญอยู่ที่ไหน ... ขอเชิญคลิกอ่าน ความเข้าใจเรื่องการบวช [การบวชด้วยเพศ-การบวชด้วยข้อปฏิบัติ อยากให้ลูกบวช

การบวชอุทิศให้บุพการี


 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 29 ม.ค. 2553

ถ้าพ่อแม่เห็นดีเห็นงามด้วยที่ลูกบวช

สนับสนุนให้ลูกได้บวชเป็นบรรพชิต

ก็เท่ากับพ่อแม่ได้อนุโมทนาบุญจากลูกกลายๆ

นอกจากนี้พอลูกบวชแล้ว

ส่วนใหญ่พ่อแม่ก็จะมาใส่บาตร ถวายสังฆทาน และแวะมาฟังธรรมที่วัดบ่อยขึ้น

จะได้ชื่อว่าพ่อแม่ได้บุญด้วย ก็ต้องเพราะเหตุเหล่านี้...

ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ

^_^

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 29 ม.ค. 2553

แนะนำ review เรื่องบุญญกิริยาวัตถุ 10 ครับ

ที่ถามว่าได้ตอนไหน

ก็ได้ตอนที่ทำบุญญกิริยาวัตถุ 10 ครับ

^_^

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
รากไม้
วันที่ 29 ม.ค. 2553

ขออนุญาต ร่วมแสดงความเห็นนะครับ

ลูกบวช คือการที่ พ่อแม่ซึ่งคิดอยู่ตลอดเวลาว่าเราเป็นดั่งเลือดเนื้อของท่าน (เพราะเราเกิดมาได้ก็จากร่างกายของท่าน แตกแยกแบ่งออกมาเป็นตัวเรา) ...ดังนั้น การที่ลูกบวช ก็เหมือนดั่งท่านได้บวชเสียเอง (แ่ม่จะยินดีกว่าพ่อ เพราะแม่รักเรามากกว่า และแม่บวชเองไม่ได้)

แม้ว่ากุศลจิตของลูก เป็นคนละส่วนกับ กุศลจิตของพ่อแม่ ...แต่ ขณะที่ลูกได้กล่าวเจตนาด้วยวาจา ว่าจะขอบวช ขณะนั้น หากว่าพ่อแม่เป็นผู้เข้าใจในกุศล ก็จะ "ยินดี" ที่ลูกมีเจตนาจะบวช (กุศลจิตเกิดที่พ่อแม่ ณ ขณะนี้ ครั้งแรก นับเป็น 1 ขณะจิต)

หากว่าต่อจากนั้น ทำกิจอื่นๆ ตามมา ที่ไม่ใช่กุศลจิต ....อกุศลจิตก็เกิดตามทันที เช่นไปคิดเรื่องพิธีกรรม ไปคิดเรื่องการจัดงาน ต้องเชิญใครบ้าง ต้องฆ่าเป็ดไก่ ต้องหาวัดที่ดีๆ เกิดห่วงลูก ห่วงตนเอง ฯลฯ

ต่อมา หากลูกได้บำเพ็ญเพียร จนมีความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ พ่อแม่ก็จะยิ่งยินดีกับลูก ก็จะเกิดกุศลจิตที่ไต่ระดับความยินดีมากยิ่งขึ้น เรื่อยไป

โดยปกติแล้ว ถ้าพ่อแม่ที่ยินดี ก็หมายถึงท่านเข้าใจใน อานิสงค์ของการบวช ดังนั้น เมื่อใดที่ท่านคิดถึงลูก ก็จะเกิดความยินดีทุกครั้ง (สรุปว่า ท่านจะเกิดกุศลจิตทุกครั้งที่คิดถึงลูก และยินดีในการบวช อีกนับครั้งไม่ถ้วน)

อนึ่ง... หากว่า ถ้าพ่อแม่ไม่ยินดีในการบวชของลูก อาจเนื่องมาจาก ไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา , คิดว่าลูกจะหนีไปสบายคนเดียว , กลัวว่าลูกจะไม่กลับมาดูแลตน ....แบบนี้ กุศลจิตที่พ่อแม่ จะไม่มีครับ มีแต่อกุศล

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 29 ม.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในสมัยครั้งพุทธกาล จะเห็นได้ว่า บุคคลผู้ที่มีอัธยาศัยในการบวช (ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต) นั้น เพราะท่านได้ฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง มีความเข้าใจ เห็นโทษภัยของกิเลส พร้อมทั้งเห็นโทษของการอยู่ครองเรือน ว่าการที่จะอยู่ครองเรือนแล้วจะขัดเกลากิเลสของตนเองให้หมดจดได้นั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากว่าการอยู่ครองเรือนคับแคบ เป็นที่หลั่งไหลมาของอกุศลธรรมมากมาย ท่านจึงสละทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งสู่เพศบรรพชิต ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น แต่เพื่ออบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลส สูงสุด คือ เพื่อความเป็นพระอรหันต์

แต่สำหรับในยุคปัจจุบันในสังคมไทย ยากที่จะเป็นอย่างนั้น เพราะขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยมากมักจะบวชตามประเพณี ๗ วันบ้าง ๑๕ วัน บ้าง เป็นต้น และก็มักจะได้ยินคำว่า บวชเพื่อทดแทนพระคุณของมารดาบิดา ถ้าหากจะมีคำถามย้อนถามว่าดำรงเพศคฤหัสถ์ทดแทนพระคุณของท่านทั้งสองไม่ได้หรือ (คำตอบคือ ได้ และสามารถกระทำได้อย่างครบถ้วนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เข้าใจพระธรรม) เพราะเหตุว่า "การบวชทดแทนพระคุณของมารดาบิดา" ไม่พบในพระไตรปิฎก มีแต่บวชเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ การบวช คือ อะไร เป็นต้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจ และประการสำคัญที่ควรพิจารณา คือ เป็นคฤหัสถ์ ดำรงตนอยู่ในพระธรรมคำสอนตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง น้อมประพฤติในสิ่งที่ดีงาม พร้อมทั้งมีการอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกในธรรม เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็เป็นคฤหัสถ์ที่ดีได้ (โดยไม่ต้องบวชถือเพศเป็นบรรพชิตก็ได้) ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 29 ม.ค. 2553

การทดแทนพระคุณมารดา บิดา หรือให้ท่านเกิดกุศลจิตก็มีหลายอย่าง เช่น

ชวนท่านมาฟังธรรม ชวนให้ทำบุญทำทาน ชวนให้รักษาศีล ไหว้พระธาตุ ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

บุญหรือกุศลเกิดขึ้นกับใครก็เป็นบุญของคนนั้น ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นก็เป็น

กุศลของคนนั้น ขณะใดที่กุศลจิตไม่เกิด ก็ไม่ใช่บุญในขณะนั้น กุศลหรือบุญไม่ใช่การที่

อีกคนหนึ่งทำแล้ว คนที่อยู่ใกล้ชิดก็จะได้รับหรือเป็นบุญด้วย ใครทำใครก็ได้ครับ ใคร

กุศลจิตเกิดก็เป็นบุญของคนนั้นครับ

ในพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่าการที่ให้บุตรบวชชื่อว่าเป็นทายาทของพระพุทธศาสนา

แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อบุตรบวชแล้ว บิดามารดาจะได้บุญ หากไม่มีความเข้าใจหรือ

กุศลจิตไม่เกิดก็ไม่ใช่บุญครับ ดังเช่น มารดาของพระสารีบุตรที่ท่านมีคามเห็นผิด เมื่อ

พระสารีบุตรบวชและลูกๆ ของท่านอีกหลายคนบวช มารดาของพระสารีบุตรก็โกรธไม่

พอใจ อย่างนี้เรียกว่าได้บุญหรือไม่ ขณะที่โกรธ ซึ่งการตอบแทนพระคุณของบิดาและ

มารดาที่ประเสริฐสุดคือให้ท่านเข้าใจพระธรรม ดังเช่นพระสารีบุตรได้กลับมาบ้านเกิด

เมื่อคราวจะปรินิพพานก็ได้สดงธรรมให้ท่านบรรลุธรรมครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 30 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คุณ
วันที่ 31 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
วิริยะ
วันที่ 31 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Yongyod
วันที่ 1 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 8 ก.พ. 2553

สมเด็จย่าทรงใส่บาตรให้พระภิกษุในหลวง

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 8 ก.พ. 2553

^

^

ได้บุญตอนนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ขอธรรมทาน
วันที่ 8 ก.พ. 2553

ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
lovedhamma
วันที่ 8 ก.ค. 2554

ก่อนอื่น ต้องรู้จักก่อนว่า...บุญ คือ อะไร และการบวชนั้น จุดประสงค์เพื่ออะไร/คาดหวัง

อะไรจากการบวชอยู่หรือไม่ คุณChaiyakit ตั้งหัวข้อได้น่าสนใจมากเลยนะครับ เพราะ

หัวข้อนี้ คนไทยเราทั้งที่เป็นเมืองพุทธโดยแท้ แต่ทุกวันนี้เข้าใจความหมายผิดไปแทบ

ทั้งนั้น บอกว่า...การบวชเป็นเรื่องของลูกผู้ชาย เป็นต้น สำหรับหัวข้อนี้แก่นแท้ของ

ศาสนาพุทธ หรือจากพระไตรปิฎกนั้น มิได้บอกถึง หรือ เน้นความสำคัญของจุดประสงค์

การบวชเพื่อสิ่งนี้เลยล่ะครับ ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่จะบวชนั้น ก็เพราะเห็นโทษของการ

ครองเรือนจากใจจริง และต้องการบรรลุถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น บุญกุศลไม่ใช่การที่

บุคคลหนึ่งทำ แล้วบุคคลทีอยู่ใกล้ชิดจะได้รับส่วนบุญด้วย นะครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ