สมถภาวนา.........

 
oom
วันที่  2 ก.พ. 2553
หมายเลข  15340
อ่าน  2,498

อยากทราบเรื่องสมถภาวนา ในสมัยพระพุทธเจ้านั้น การเจริญสมถภาวนาทำอย่างไร

และพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีการเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือไม่

เพราะเท่าที่ศึกษามาพระอรหันต์ในสมัยนั้น สำเร็จเป็นพระอรหันต์จากการฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเคยอ่านหนังสือที่เขียนถึงการเจริญภาวนา โดยการนั่งสมาธิเมื่อจิตสงบก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิและอาปนาสมาธิได้ อยากทราบว่าถ้าไม่นั่งสมาธิ จะเข้าอุปจารสมาธิได้หรือไม่

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 2 ก.พ. 2553
ตามตัวอย่างในพระไตรปิฎกและอรรถกถาพระภิกษุในสมัยครั้งพุทธกาลท่านเจริญกรรมฐานทั้งสองประเภท และส่วนใหญ่ท่านบรรลุเป็นพระอริยบุคคลในขณะที่ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ บางท่านเมื่อยังไม่บรรลุผลสูงสุด ท่านมีปกติอบรมเจริญสมณะธรรมอยู่แล้ว ภายหลังก็บรรลุธรรมขั้นสูงในขณะที่เดินจงกรมในขณะที่นั่งก็มี ในขณะนอนก็มี หรือในขณะที่ทำกิจวัตรก็มี ขึ้นอยู่ที่ปัญญาของแต่ละท่านว่าจะสมบูรณ์ในขณะไหน และมีพระสาวกจำนวนไม่น้อยที่ท่านบรรลุธรรมโดยไม่มีฌาน ดังนั้นจึงไม่จำเป็นว่าจะต้องนั่งสมาธิก่อนจึงจะสำเร็จมรรคผลถ้าไม่เข้าใจธรรมะ นั่งไปกี่ชาติก็ไม่สามารถสำเร็จมรรคผลได้ เพราะข้อปฏิบัติไม่ตรงตามหลักพระธรรมคำสอนครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 2 ก.พ. 2553

เรียนถามอาจารย์ประเชิญ

ตามข้อความที่ท่านได้กล่าวมาในความเห็นที่สอง อยากทราบว่า ถ้าเราจะนั่งสมาธิ บริกรรมพุทธโธ โดยที่ความตั้งใจของเราเพียงแต่อยากให้จิตใจที่ว้าวุ่นอยู่นั้นสงบลงชั่วคราว แต่มิได้คิดถึงเรื่องฌาณและเรื่องสำเร็จมรรคผล อยากทราบว่า จะสามารถปฏิบัติได้หรือไม่

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 2 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ ๒ ครับ

ขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจครับ

ไม่มีกฏเกณฑ์แน่นอนตายตัว

จะอยู่ในอิริยาบถไหนก็ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
oom
วันที่ 2 ก.พ. 2553

แสดงว่าการเดินจงกรม นั่งสมาธิ ก็สามารถปฏิบัติได้ถ้าเราเข้าใจถูกต้อง เช่นเมื่อนั่งสมาธิ

ก็รู้ว่ามีแข็งปรากฎ เมื่อกระทบสัมผัสพื้น รู้ว่าแข็ง หรือเมื่อมีความเย็นมากระทบสัมผัส ก็รู้

ว่าเย็น ตามความเป็นจริง

ส่วนการเดินจงกรม ก็รู้ตามความเป็นจริง เมื่อเท้ากระทบพื้น รู้สึกเย็นก็รู้ว่าเย็น ไม่ทราบว่า

เข้าใจถูกต้องหรือไม่ กรุณาช่วยอธิบายเพิ่มเติมค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 2 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 4

ที่ท่านกล่าวว่า "ขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจ" นั้น อยากทราบว่า เข้าใจอะไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ups
วันที่ 2 ก.พ. 2553

เรียน ความคิดเห็นที่ 2

จะเห็นได้ว่าขณะที่จิตเสพอารมณ์อยู่ขณะนั้น ความเป็นอัตตาก็เข้าไปยึดถืออารมณ์นั้น

ยิ่งถ้าเข้าใจจริง หมายถึง ศึกษาพระธรรม ให้เข้าใจมากขึ้นว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา

มีแต่ทุกข์ บังคับบัญชาไม่ได้ เมือเห็นตามความเป็นจริง (คงยาก แต่เป็นขั้นการฟัก่อน) ก็จะเข้าใจว่า อะไรก็ตามที่จะพยายามหรือไม่พยายามที่อยากจะให้จิตใจสงบนั้นก็แสดงว่าเข้าไปยึดถือแล้ว โดยไม่รู้ตัว ขอให้ศึกษาไปเรื่อยเรื่อย จนกว่าจะเข้าใจครับขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 2 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย เรามักจะสับสนกันว่า การจะเจริญวิปัสสนานั้นต้องอบรมสมถภาวนาก่อนจึงค่อยเจริญ

วิปัสสนาภาวนา ความจริงแล้ว สมถภาวนาและวิปัสสนานั้นแยกจากกัน ไม่เหมือนกัน

เลย ผู้ที่จะบรรลุ ดับกิเลสได้ด้วยการเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ด้วยการเจริญสมถภาวนา

และก็ไมได้หมายความว่า จะเจริญวิปัสสนาได้ต้องอบรมสมถภาวนาก่อน นั่นก็เป็น

ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ผู้ที่บรรลุโดยไม่ได้อบรมสมถภาวนามีมากมาย ผู้ที่ไม่บรรลุ

เพราะอบรมสมถภาวนามีมากมาย (เพราะสมถภาวนาไม่ใช่ทางหลุดพ้น) ผู้ที่ไม่ได้อบรม

สมถภาวนาแต่สำคัญว่าเป็นการอบรมสมถภาวนามีมากมาย ผู้ที่ไมได้อบรมวิปัสสนาแต่

สำคัญผิดว่าอบรมวิปัสสนามีมากมาย ดังนั้นเรื่องของสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา

จึงเป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ไม่ใช่ฟังใครบอกให้ทำอย่างไรก็ทำตามโดยที่ปัญญาไม่รู้

อะไรในขณะนั้น ได้แต่ความนิ่งจดจ่ออยู่ที่อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งเท่านั้นแต่ปัญญาไม่รู้

อะไรเลยในขณะนั้น นั่นก็ไม่ใช่การอบรมสมถภาวนาแล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 2 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 2

ผู้ที่จะอบรมสมถภาวนาที่ถูกต้องคือผู้ที่เห็นโทษของกิเลสในชีวิตประจำวัน แม้ความ

ต้องการ ติดข้อง จึงอบรมในอารมณ์ต่างๆ ในสมถภาวนา สมถภาวนาต้องเป็นกุศล ด้วย

ความสงบที่เป็นกุศลจิต เพราะฉะนั้นความสงบไม่ได้หมายถึง การนิ่งไม่คิดอะไร จดจ่อ

อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีคำว่าพุธโธ เป็นต้น แต่หมายถึง ความสงบที่เป็นความสงบจาก

กิเลสนั่นเองคือเป็นกุศล เพราะฉะนั้นการระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเป็นกุศล แต่

การนึกถึงคำว่าพุทโธ ขณะนั้นจิตเป็นกุศลหรือไม่ หรือได้แต่นึกถึงแต่คำนั้น (พุทโธ) แต่

ขณะนั้นไมได้ระลึกถึงพระคุณ ขณะที่เราระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า โดยไม่ได้นึก

ถึงคำว่าพุทโธก็มีใช่ไหมครับ ขณะนั้นเป็นกุศล สงบ เพราะสงบจากกิเลส ดังนั้นการ

ท่องกับการระลึกถึงพระคุณจึงต่างกัน จะเห็นได้ว่าต้องเป็นเรื่องของปัญญา ปัญญารู้

ขณะที่เป็นกุศลว่าเป็นอย่างไร จึงอบรมให้กุศลนั้นเจริญขึ้น แต่ไม่ใช่ด้วยความต้องการ

ที่อยากสงบ ขณะที่ต้องการอยากสงบก็เป็นโลภะแล้วไม่ใช่กุศล ขณะที่มีความต้องการ

ที่จะจดจ้องที่คำใดคำหนึ่ง ก็เป็นความต้องการอย่างละเอียดแล้วไม่ใช่สมถภาวนาเลย

ครับ ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 2 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 5

ทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจถูกทั้งหมดครับ แต่เราก็ต้องรู้ว่าทำไมต้องนั่งสมาธิ ทำไมต้องเดินจงกรม และจงกรมคืออะไร และหนทางในการรู้ความจริงคืออย่างไร ขอกล่าวถึงการอบรมปัญญาเพื่อรู้ความจริงนั้นคืออย่างไรก่อนนะครับ เพื่อจะได้

เข้าสู่ประเด็นการนั่งสมาธิและเดินจงกรม การอบรมปัญญา (วิปัสสนา) คือการรู้ความจริง

ที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เห็นมีจริง รู้ความจริงว่าเป็นธรรม แข็งมีจริงรู้ความจริง

ว่าเป็นธรรม ซึ่งการจะรู้อย่างนี้ได้ก็ด้วยการฟังให้เข้าใจ จนเป็นปัจจัยให้สติและปัญญา

เกิด แต่ไม่ใช่เกิดจากการนั่งสมาธิหรือการเดินจงกรม เมื่อเข้าใจถูกอย่างนี้แล้วว่าเหตุ

ให้เกิดสติและปัญญาคือการฟังให้เข้าใจ ไม่ใช่ด้วยวิธีอื่นแล้ว เราจะไปนั่งหรือเดิน

จงกรมหรือไม่ เพราะเหตุว่า สิ่งที่ปัญญาควรรู้คือความจริงในขณะนี้ ความจริงในขณะนี้

มีตอนนั่งสมาธิหรือตอนเดินจงกรมหรือไม่ หรือว่าขณะนี้กำลังมีกำลังปรากฎอยู่ จึงไม่

ต้องไปหาวิธี เพราะเหตุคือการฟังให้เข้าใจครับ การจงกรมคือการเปลี่ยนอิริยาบถของ

พระภิกษุเพราะท่านต้องนั่งบ่อย แต่เราก็เลยสำคัญว่าการปฏิบัติคือต้องเดินจงกรม หาก

เราจะอ้างว่า ขณะนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมก็มีสภาพธรรมที่สามารถรู้ได้ ขึ้นอยู่กับความ

เข้าใจ แต่นั่นแสดงว่า เมื่อไปนั่งสมาธิหรือจงกรม แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจเพราะ

คิดว่าเป็นการปฏิบัติ แม้มีสภาพธรรมเกิดก็ไม่มีทางรู้ว่าเป็นธรรม ซึ่งก็เป็นการคิดนึก

เรื่องราวของสภาพธรรมที่ดับไปแล้ว แต่ไม่มีทางรู้ตัวลักษณะของสภาพธรรมได้เลย

เพราะยังเข้าใจผิดจึงมีการนั่งสมาธิและเดินจงกรมครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Jans
วันที่ 2 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วิริยะ
วันที่ 3 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ 9

อ่านข้อความที่ท่านได้กรุณาอธิบายมาแล้วนั้น จับประเด็นได้ว่า เราต้องเข้าใจคำว่าความสงบนั้นคือ สงบจากกิเลส และอีกประเด็นคือ ถ้ามีความต้องการที่จะให้เกิดความสงบ ก็ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะเป็นโลภะตั้งแต่ศึกษาธรรมจากบ้านธรรมและจากการฟังคำบรรยายจากท่านอาจารย์สุจินต์ ดิฉันก็ไม่ได้นั่งสมาธิอีกเลย แต่ยอมรับค่ะว่า มีบางครั้งที่ยังอดที่จะไขว้เขวไม่ได้ เรื่องความสงบของจิต ดิฉันก็เคยตั้งกระทู้ถามไปแล้ว แต่ก็ลืมไปแล้วเช่นกันว่า ท่านผู้รู้ได้แนะนำอย่างไร แสดงให้เห็นถึงปัญญาที่ยังด้อยเหลือเกิน

ของคุณเจ้าของกระทู้ และผู้ร่วมสนทนาทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Sam
วันที่ 3 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
รากไม้
วันที่ 3 ก.พ. 2553

เรียน คุณอ้อม

ผมเห็นว่า ข้อความของท่าน paderrm มีประโยชน์ มีเนื้อหาครบถ้วน ถูกต้องดีแล้ว จึงมาเรียนย้ำว่า ควรที่จะต้องอ่านซ้ำๆ หลายๆ รอบนะครับผมขอเสริมหน่อยละกันว่า....

ดูเหมือน คุณ oom ต้องการจะไปนั่งสมาธิ เดินจงกลม เสียให้ได้เลยนะครับ ...ก็เอาอย่างนี้ครับ ผมสรุปให้เลยว่า ไม่ต้องไปนั่งสมาธิ เดินจงกลม ที่ไหนเลยครับ (เพราะจากข้อความของคุณ แสดงว่า ยังเข้าใจผิดอยู่ ถ้าไปปฏิบัติ ผมเกรงว่าจะเสียหาย) ศึกษาพระธรรม เรื่อยๆ ห้ามหยุด , หมั่นขัดเกลากิเลสให้มากๆ ที่สุด , ถือศีล 5 ให้เคร่งครัด เพื่อช่วยการขัดเกลากิเลส , ทำทานเมื่อสมควรแก่โอกาส , นำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาไตร่ตรอง เท่าที่จะมีเวลาทำได้ , ทำกิจการงานใดๆ ก็ หมั่นคิดถึงผู้อื่นเนืองๆ อย่าทำเพื่อตนเอง

ขออนุโมทนา ดวงจิตผู้ใฝ่ธรรมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
oom
วันที่ 3 ก.พ. 2553

เมื่อก่อนดิฉันก็ไปปฏิบัติตามสำนักต่างๆ เขาก็สอนให้เดินจงกรม นั่งสมาธิให้รู้ตามความ

เป็นจริง เมื่อมีอะไรที่ปรากฎทางตาก็ให้รู้ว่าเห็น สิ่งที่เห็นนั้นเป็นรูป ก็รู้เพียงเท่านั้น

แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นธรรมะ เพราะอาจารย์ที่สอนปฏิบัตินั้นไม่ได้อธิบายรายละเอียดลึกซึ้ง

เหมือนท่านอาจารย์สุจินต์บรรยาย

จากที่ทุกท่านให้คำชี้แนะมาทั้งหมด ทำให้ดิฉันเข้าใจแล้วค่ะ ต้องกราบพระคุณทุกท่าน

ที่ช่วยให้ความรู้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 3 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
thilda
วันที่ 24 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ