มานะ [สังคีติสูตร]

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  3 ก.พ. 2553
หมายเลข  15370
อ่าน  1,542

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

ข้อความบางตอนจาก

อรรถกถาสังคีติสูตร

ที่แปลว่า มานะ นั้น. อันที่จริง มานะท่านเรียกว่า วิชา เพราะจัดแจงด้วยอำนาจที่ให้ถือว่าดีกว่าเขาเป็นต้น. ด้วยคำว่า เสยฺโย หมสฺมิ นี้ท่านกล่าวถึงมานะ ๓ อย่าง คือดีกว่าเขา เสมอเขา เลวกว่าเขา. แม้ในสทิสวิธา และหีนวิธา ก็มีนัยเดียวกันนี้. ที่จริงมานะนี้มี ๙ อย่าง. คือคนดีกว่าเขามีมานะ ๓ อย่าง คนเสมอเขามีมานะ ๓ อย่าง คนเลวกว่าเขามีมานะ ๓ อย่าง. บรรดามานะ ๙ อย่างนั้น สำหรับคนดีกว่าเขา มานะว่าเราดีกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่พระราชาและบรรพชิต. พระราชาย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "ใครหรือจะมาสู้เราได้ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทางราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ". ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่น นี้ว่า "ใครเล่าจะมาทัดเทียมเราได้ด้วยศีลคุณ และธุดงคคุณเป็นต้น"


ที่มา... สังคีติสูตร เรื่อง การสังคายนาหลักธรรม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 14 พ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ