ธรรมิกสูตร .. ข้อปฏิบัติของนักบวชและผู้ครองเรือน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 ก.พ. 2553
หมายเลข  15397
อ่าน  3,516

Oo๐ ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ๐oO

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๑๓ ก.พ. ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔

ว่าด้วยข้อปฏิบัติของนักบวชและผู้ครองเรือน

จาก ... พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๓๕๕

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ ๓๕๕

ธรรมิกสูตรที่ ๑๔

ว่าด้วยข้อปฏิบัติของนักบวชและผู้ครองเรือน

[๓๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสกพร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า [๓๓๓] ข้าแต่พระโคดม ผู้มีพระ- ปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอทูล ถามพระองค์ อุบาสกผู้ออกบวชเป็น บรรพชิตก็ดี อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีก ก็ดี บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้ สาวกกระทำ อย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ. พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่งคติ และความสำเร็จของโลก พร้อมทั้งเทวโลก บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียด เช่นกับ พระองค์ย่อมไม่มี บัณฑิตทั้งหลายย่อม กล่าวพระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐ พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ ได้ทรงประกาศ พระญาณและธรรมทั้งปวง ข้าแต่พระโคดม ผู้มีพระจักษุโดยรอบ พระองค์ทรงเปิด- กิเลสเครื่องปกปิด ออกได้แล้ว เป็นผู้ ปราศจากมลทิน ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง. พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงชนะบาป ธรรม ดังนี้แล้ว ได้ไปในสำนักของพระองค์ พญาช้างเอราวัณแม้นั้น ทูลถามปัญหากะ พระองค์ ได้สดับมาแล้วซ้องสาธุการชื่นชม ยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว. แม้พระราชาพระนามว่า เวสวัณ กุเวร ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่ พระองค์อันพระราชา พระนามว่าเวสวัณกุเวร แม้นั้นแล ทูลถามแล้ว ย่อมตรัสบอก. ท้าวเวสวัณกุเวรแม้นั้นแล ได้สดับปัญหา แล้ว ทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว. พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์ ก็ดี ผู้มีปกติกระทำวาระทั้งหมดนี้ ย่อมไม่ เกินพระองค์ด้วยปัญญา เหมือนบุคคลหยุด อยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น. พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์ ผู้เฒ่าก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใด เหล่าหนึ่งมีอยู่ และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่ ว่า เราทั้งหลายผู้มีปกติกระทำวาทะ ชน เหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์ใน พระองค์. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ- องค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี ซึ่งธรรมที่ ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์ ตรัสดีแล้วนี้. ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระ- องค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว ได้ โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์ ทั้งหลาย. ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้แม้ทั้งหมด นั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ เพื่อจะฟัง ขอจงตั้งใจฟังธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว เหมือนเทวดาทั้งหลาย ตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง ฟังเรา เราจะยังเธอทั้งหลายให้ฟังธรรมอัน กำจัดกิเลส และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรม อันกำจัดกิเลสนั้น ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด ผู้เห็นประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควร แก่บรรพชิตนั้น. ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย อนึ่ง ภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้าน ในกาล ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมข้องภิกษุ ผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควร ไว้ เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่ เที่ยวไปในเวลาวิกาล. รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายให้มัวเมา ภิกษุนั้นกำจัด เสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้ พึง เข้าไปยังโอกาส ที่จะพึงบริโภคอาหารใน เวลาเช้าโดยกาล. อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว ภิกษุผู้ สงเคราะห์อัตภาพแล้ว คิดถึงขันธสันดาน ในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก. ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้น พึงเจรจากับสาวก อื่น หรือถึงภิกษุรูปไรๆ ไซร้ ภิกษุนั้นพึง กล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด

ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น. ก็บุคคลบางพวก ย่อมกล่าววาทะ โต้เถียงกัน เราย่อมไม่สรรเสริญบุคคลเหล่านั้น ผู้มีปัญญาน้อย ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจากคลองแห่งคำนั้นๆ ย่อมข้องบุคคล เหล่านั้นไว้ เพราะบุคคลเหล่านั้น ส่งจิตไป ในที่ไกลจากสมถะ และวิปัสสนา. สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระสุคตทรง แสดงแล้ว พิจารณาบิณฑบาต ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ แล้วพึงเสพ. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วในธรรม เหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่งน้ำ และ การซักมลทินผ้าสังฆาฏิ เหมือนหยาดน้ำไม่ติด บนใบบัว ฉะนั้น. ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอ ทั้งหลาย สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ จริงอยู่ สาวกที่ยังมี ความหวงแหนในไร่นาเป็นต้น ไม่สามารถ จะบรรลุธรรมของภิกษุล้วนๆ ได้ สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว ไม่ พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า และไม่ พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่า. แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขา ไม่ให้อะไรๆ ในที่ไหนๆ ไม่พึงใช้ให้ผู้ อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้น วัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด. สาวกผู้รู้แจ้ง พึงเว้นอพรหมจรรย์ เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน ฉะนั้น แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหม- จรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น. ก็สาวก ผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ใน ท่ามกลางบริษัทก็ดี ไม่พึงกล่าวเท็จแก่ บุคคลผู้หนึ่ง ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ ไม่ พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ พึงเว้นคำไม่ เป็นจริงทั้งหมด. สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ไม่พึงดื่มน้ำเมา พึงชอบใจธรรมนี้ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่ พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม เพราะทราบชัดการ ดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด. คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง และใช้คนอื่นผู้ประมาทแล้ว ให้กระทำบาป เพราะความเมานั่นเอง สาวกพึงเว้นความ เป็นบ้า ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อัน เป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้. ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงพูดมุสา ไม่ พึงดื่มน้ำเมา พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็น ความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภค โภชนะในเวลาวิกาลในราตรี ไม่พึงทัดทรง ดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม พึงนอน บนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แลว่า อันพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุด แห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว. แต่นั้น สาวกผู้มีใจเลื่อมใส พึงเข้า จำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ให้บริบูรณ์ดี ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริกปักษ์. แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้งเข้าจำอุโบสถอยู่ แต่เช้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนืองๆ พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ ด้วยข้าวและน้ำตามควร พึงเลี้ยงมารดาและบิดา ด้วยโภคสมบัติที่ได้ มาโดยชอบธรรม พึงประกอบการค้าขาย อันชอบธรรม ไม่ประมาท ประพฤติวัตร แห่งคฤหัสถ์นี้อยู่ ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดา ชื่อว่า สยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน.

จบธรรมิกสูตรที่ ๑๔


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 8 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

ธรรมิกสูตร (ว่าด้วยข้อปฏิบัติของนักบวชและผู้ครองเรือน)

ธรรมิกอุบาสก * พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามถึงคุณสมบัติที่ดีของสาวกที่เป็นบรรพชิต และที่เป็นคฤหัสถ์ ว่าเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบธรรมิกอุบาสก (โดยสรุป) ว่า สาวกที่เป็นบรรพชิตพึงเป็นผู้มีความประพฤติที่เหมาะสมแก่ความเป็นบรรพชิต ไม่ล่วงละเมิดพระธรรมวินัยพึงกำจัดความยินดีติดข้องในกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) เมื่อจะมีการสนทนากัน ก็ควรจะสนทนาแต่ธรรม ไม่ควรโต้เถียงกัน พึงเป็นผู้พิจารณาก่อนแล้วจึงใช้สอยปัจจัยมีอาหารบิณฑบาต เป็นต้น ...

ต่อจากนั้น พระองค์ได้ทรงแสดงถึงคุณสมบัติที่ดีของสาวกที่เป็นคฤหัสถ์ ดังนี้ คือพึงรักษาอุโบสถศีล ถ้าไม่สามารถรักษาอุโบสถศีลได้ ก็พึ่งรักษาศีล ๕ เว้นจากทุจริตประการต่างๆ พึงให้ทาน พึงเลี้ยงดูมารดาบิดา พึงประกอบอาชีพการงานโดยชอบเว้นจากอาชีพทีไม่ควรทำ หากไม่ประมาทในการประพฤติวัตรของคฤหัสถ์อย่างนี้ เมื่อละจากโลกนี้ไป ย่อมไปเกิดในหมู่เทพชื่อว่าสยัมปภา (ผู้มีรัศมีในตน,ผู้มีแสงสว่างในตน ซึ่งเทพสยัมปภานี้ มีในสรรค์ ๖ ชั้น) *

หมายเหตุ ธรรมิกอุบาสก ท่านเป็นพระอนาคามีบุคคล ... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 9 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 10 ก.พ. 2553
คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก. หมายถึงสภาพธรรมอะไรคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 10 ก.พ. 2553

เรียนความเห็นที่ ๕ ครับ

คิดถึงขันธสันดานในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก. เป็นสภาวของปัญญา

ที่พิจารณาสภาพธรรม สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ups
วันที่ 10 ก.พ. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
captpok
วันที่ 12 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เมตตา
วันที่ 12 ก.พ. 2553

... ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
bsomsuda
วันที่ 13 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
rojanasak
วันที่ 14 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
nathon
วันที่ 3 เม.ย. 2553
ควรนอ้มเข้ามาใส่ตน
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ประสาน
วันที่ 3 มี.ค. 2562

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ