กายวิญญัติ [อภิธัมมัตถสังคหบาลี]
อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 279
ธรรมชาติที่ชื่อว่ากายวิญญัติ เพราะอรรถว่า ยังคนอื่นให้รู้ความประสงค์ด้วยกายทีเคลื่อนไหวอยู่ และตนเองก็รู้ด้วยกายที่เคลื่อนไหวอยู่นั้น ฯ ที่ชื่อว่าวจีวิญญัติ เพราะอรรถว่า ยังคนอื่นให้รู้ความประสงค์ด้วยวาจากล่าวคือเสียงที่เป็นไปกับด้วยวิญญาณ และตนเองก็รู้ด้วย วาจานั้น ฯ ในวิญญัติทั้ง ๒ นั้น วิการแห่งวาโยธาตุซึ่งมีจิตยังความคิดที่จะก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นให้เกิดเป็นสมุฏฐาน ที่เป็นเหตุทำร่วมกัน ในการค้ำจุนทรงอยู่และการเคลื่อนไหวแห่งรูปที่เกิดร่วมกัน ที่พ้นจากกายที่ไหวอยู่และวาโยธาตุที่เป็นเหตุไหว อันบุคคลได้อยู่โดยความเป็นปัจจัยแห่งความเคลื่อนไหวแห่งรูปกาย ดุจวิการแห่งความอุตสาหะในเวลาที่คนยกหินแผ่นใหญ่ถือไว้ด้วยกำลังทั้งหมด ชื่อว่ากายวิญญัติ ฯ จริงอยู่กายวิญญัตินั้น ยังคนอื่นให้รู้ความประสงค์ด้วยกายที่เคลื่อนไหวอยู่ ฯ แท้จริง ในความเคลื่อนไหวแห่งต้นไม้เป็นต้น ที่พ้นจากวิการคือวิญญัติ บัณฑิตไม่เห็นการถือเอาความประสงค์ว่า "คนนี้ใช้ให้ทำการนี้ "ดังนี้และฯ และตนเองก็รู้ด้วยกาย เพราะพวกมโนทวารชวนะ อันมีลำดับไม่ปรากฏยึดอยู่ในลำดับแห่งการถือความประสงค์แห่งกายที่เคลือนไหวอยู่ในการเคลื่อนไหวแห่งเหมือนเป็นต้น ฯ