ถือศีล5

 
jaran
วันที่  15 ก.พ. 2553
หมายเลข  15498
อ่าน  3,391

ผมตั้งใจที่จะปฏิบัติศีล5ให้เคร่งครัด แต่ไม่แน่ใจว่าเราสามารถปฏิบัติได้เลย หรือว่าเราต้องไปรับศีลมาจากพระ จึงเรียนถามผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่างด้วย ขอขอบคุณมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 16 ก.พ. 2553
ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ เรื่องกุศลศีลเป็นเรื่องเฉพาะตัว คือถ้าเห็นโทษของการก้าวล่วงศีล และ เห็นคุณของกุศลศีล ย่อมเป็นผู้มีเจตนาเว้นจากทุจริต ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องไปรับศีลจากผู้อื่น เพราะศีลอยู่ที่เจตนา ถ้าไม่เข้าใจแม้จะรับศีลตามประเพณี ในงานบุญต่างๆ ก็ไม่สำเร็จเป็นศีล ดังนั้นผู้ที่มีปัญญารู้แจ้งอริยสัจตามความเป็นจริงเท่านั้นจึงจะมีศีลสมบูรณ์ ไม่ขาดอีกเลยส่วนปุถุชนทั้งหลาย ยังขาดปัญญา รักษาศีลด้วยศรัทธา ศีลย่อมไม่มั่นคง มีอันขาดไปเป็นธรรมดา เพราะทรัพย์บ้าง เพราะญาติบ้าง เพราะอวัยวะบ้าง เพราะชีวิตบ้าง แต่ถ้ามีปัญญาเพิ่มขึ้น ศีลย่อมมั่นคงขึ้นครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ups
วันที่ 16 ก.พ. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 16 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 16 ก.พ. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ศีลคือเจตนางดเว้นจากบาป มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ศีลคือขณะที่จิตที่เป็นกุศล

ในขณะที่มีเจตนาถือเอาด้วยดีด้วยตั้งใจงดเว้น แม้ยังไม่พบเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่จะ

ต้องงดเว้น ดังที่คุณกล่าวในนัยนี้คือจะต้องไปรับศีลไห ม ก็คือขณะใดที่คุณมีเจตนาที่

จะตั้งใจจะประพฤติในศีล 5 จะทำได้หรือไม่ได้ก็ตามแต่จิตขณะนั้นก็เป็นศีล มีความ

ตั้งใจที่จะงดเว้นอย่ในศีล 5 ส่วนขณะใดที่งดเว้นเฉพาะหน้า แม้ไม่ได้สมาทานศีลไว้

แต่ก็งดเว้นที่จะไม่ฆ่าสัตว์เมื่อพบเหตุการณ์ในขณะนั้นก็ชื่อว่าเป็นศีล เป็นกุศลศีล

เช่นกัน จะเห็นได้ว่า ศีลเกิดที่จิต ขณะใดที่จิตมีเจตนางดเว้นในบาป มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น

ก็เป็นศีลแล้วครับ จึงไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าจะต้องเป็นรูปแบบว่าจะต้องไปรับศีล สำคัญที่จิต ที่

เจตนาในขณะนั้นว่ามีเจตนาอันเป็นไปเพื่อน้อมปฏิบัติในศีล หรือมีเจตนางดเว้นที่จะไม่

ทำบาปในขณะนั้นก็เป็นศีลแล้วครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 16 ก.พ. 2553
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอหรันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น บุคคลผู้จะรักษาศีล ๕ ครบบริบูรณ์ทุกข้อ ไม่ขาดเลยนั้น ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน ขึ้นไป แต่สำหรับปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลสแล้ว บางครั้งก็ล่วงศีล มีฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เป็นต้น เนื่องจากว่ามีเหตุปัจจัยให้ล่วง ก็ย่อมจะล่วงศีลข้อใดข้อหนึ่งได้ เหตุปัจจัยดังกล่าวนั้น ก็คือ กิเลสที่สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ นั่นเอง เพราะมีกิเลส ยังมีความห่วงใยในชีวิต ยังมีความติดข้องยินดีพอใจในลาภ ในยศ ในญาติ ในอวัยวะ เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้มีการล่วงศีล เนื่องจากภาวะของปุถุชนไม่มั่นคงเหมือนกับความเป็นพระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งได้จริงๆ ก็คือ ปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก ที่เกิดจากการฟัง การศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เท่านั้น ปัญญา นี้เองที่จะทำให้รักษาศีลได้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีความประพฤติทางกาย ทางวาจา ดียิ่งขึ้น ทำให้เป็นผู้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอกุศล มากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องไปรับจากพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เลย ดังนั้น ปัญญา จึงมีคุณมากเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีปัญญาแล้ว กุศลธรรมประการต่างๆ ก็ย่อมจะเจริญขึ้นตามระดับขั้นของปัญญาด้วย และเมื่อมีการอบรมเจริญปัญญา สะสมปัญญาไปตามลำดับ จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเมื่อใด เมื่อนั้นก็จะไม่ล่วงศีล ๕ อีกเลย ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bauloy
วันที่ 17 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ....

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
รากไม้
วันที่ 17 ก.พ. 2553

ขออนุญาตกล่าวเสริมหน่อยนะครับ

ผมมีความเห็นว่า ศีล 5 มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าในการงดเว้น ไม่อย่างนั้นแล้วจะไม่เกิดผล เพราะศีล 5 เป็นเรื่องที่ยาก ในการที่จะวิรัติศีลให้ครบได้ตลอดไป

ดังนั้น จึงควรมีการอาราธนา กับสิ่งที่ผู้นั้นให้ความเคารพสักการะมากๆ เพื่อเอาไว้ยึดเหนี่ยวให้อยู่ในศีล ที่ตนได้ให้สัจจะวาจาไว้

แต่ถ้าหากมีความผิดพลาด คือล่วงละเมิดศีลโดยไม่ได้ตั้งใจจริงๆ (ซึ่งเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง คือมีการหลงลืมสติเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องธรรมดา) ... ถ้าผิดพลาดไปแล้วก็ให้ปล่อยมันไปเพราะแก้ไขไม่ได้แล้ว อย่าไปถือโทษตนเอง จนเอาเป็นอารมณ์ให้ท้อแท้ ...แต่ให้ตั้งสติใหม่ ตั้งมั่นใหม่ให้ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ให้พยายามใหม่เรื่อยไป จนกว่าจะถือศีลได้ครบตามที่ตั้งใจไว้ "ไม่ใช่ว่า หมายถึงว่า ให้งดเว้นบ้าง ไม่งดเว้นบ้าง แบบตามใจตนเอง มีสติเมื่อไหร่ค่อยงดเว้น" แบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ เพราะจะถือว่าไม่ได้ถือศีลอะไรเลย ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

อานิสงค็ของศีล มีมากมาย เช่น ฝึกการมีสติตลอดเวลา , มีความตั้งมั่น เข้มงวดตนเอง , ฝึกการข่มใจเพื่อวิรัติศีลเมื่อมีสติเกิดแล้ว , เกิดความตั้งมั่นในสัจจะวาจาของตน , เป็นที่เกิดกุศลจิตหลายประเภท , มีความเมตตาต่อผู้อื่นและสรรพสัตว์ , เป็นบุคคลที่น่าคบหามาก , มีนิสัยอ่อนโยน เห็นใจผู้อื่น , รู้สึกผิดถ้าไปเบียนเบียนผู้อื่น แม้เพียงเล็กน้อย , ฯลฯ

เมื่อไหร่ที่ถือศีล 5 จนเป็นปกติวิสัย คือที่ไม่รู้สึกว่าตนเองอยู่ในกรอบของศีลทั้งๆ ที่ตนเองอยู่ในศึล 5 นั้นแล้ว จึงจะเกิดอานิสงค์เหล่านี้แก่ตนเองนะครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สุภาพร
วันที่ 19 ก.พ. 2553

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ