อาตาปี สติมา สมฺปชาโน

 
JANYAPINPARD
วันที่  18 ก.พ. 2553
หมายเลข  15524
อ่าน  12,621

[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

อธิบายบท อาตาปี สติมา สมฺปชาโน

บทว่า วิหรติ ได้แก่ การดำเนินไป. ในบทว่า อาตาปี พึงทราบวิเคราะห์ดังนี้ ชื่อว่า อาตาปะเพราะอรรถว่า ย่อมเผาผลาญกิเลสในภพ ๓. คำว่าอาตาปะนี้เป็นชื่อของวิริยะ. อาตาปะ ของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า อาตาปี.

บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ ประกอบด้วยญาณ กล่าวคือสัมปชัญญะ.

บทว่า สติมา คือ ประกอบด้วยสติที่ใช้กำหนดกาย. ก็ธรรมดาว่า อนุปัสสนา นี้ จะไม่มีแก่ผู้ปราศจากสติเลย เพราะพระโยคาวจรใช้สติกำหนดอารมณ์แล้ว จึงพิจารณาเห็น (กายเป็นตน) ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็แลภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตพูดถึงสติว่ามีประโยชน์ในธรรมทั้งปวง

เพราะฉะนั้นในพระสูตรนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ (พิจารณาเห็นกายในกายอยู่) . ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันพระองค์ตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐาน

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ผู้ที่ไม่มีความเพียร ความหดหู่ภายในย่อมทำอันตรายให้ได้ ผู้ที่ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมเป็นผู้หลงลืมสติในการกำหนดอุบาย และในการเว้นสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย คือเป็นผู้ไม่สามารถในการกำหนดอุบายและในการสลัดทิ้งสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย (และ) กรรมฐานนั้นจะไม่สำเร็จแก่เธอด้วยวิธีนั้น

ฉะนั้น พึงทราบว่า เพื่อจะทรงแสดงธรรมทั้งหลายที่มีอานุภาพเป็นเหตุสำเร็จแห่งกรรมฐานนั้น พระองค์จึงตรัสคำนี้ไว้ว่า อาตาปี มีความเพียร สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ สติมา มีสติ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
nong
วันที่ 20 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
NineO-pas
วันที่ 21 ต.ค. 2563

ขอเข้ามารับความรู้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
NineO-pas
วันที่ 21 ต.ค. 2563

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 8 พ.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Selaruck
วันที่ 19 พ.ค. 2564

กราบอนุโมทนายิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
สิริพรรณ
วันที่ 5 ก.พ. 2567

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ท่านอาจารย์ ... โทสะเกิดแล้วโดยที่ว่าไม่มีใครไปทำให้เกิด แต่เมื่อมีปัจจัยที่จะเกิดระดับใด ก็เป็นไปตามปัจจัยนั้น จะขุ่นใจนิดหน่อย หรือว่าจะโกรธมากๆ จนกระทั่งนึกคำหยาบคายในใจ แต่ยังไม่ล่วงออกไปก็ได้ ใช่ไหม หรือว่าถึงระดับที่ไม่แค่เพียงในใจ กล่าวออกไปเลย นี่ก็ต่างระดับแล้ว เพราะฉะนั้นในขณะที่กำลังมีความโกรธนั้นเกิดขึ้นแล้วก็เห็นโทษเช่นนั้น ต้องเป็นปัญญาที่เห็นโทษของอกุศลใช่ไหม แต่ถ้ารู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา ต้องเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่งที่สามารถที่จะละความติดข้องในความโกรธ ที่เคยเป็นเราโกรธมาตลอดในสังสารวัฏฏ์ ก็รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นแต่เพียงธาตุชนิดหนึ่ง มีจริงๆ เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัย และเริ่มเห็นความจริงว่าขณะนั้นบังคับบัญชาไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช่เราด้วย ต้องเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง ที่ใช้คำว่า "อาตาปี สัมปชาโน สติมา" หมายความว่า สติที่ประกอบด้วยปัญญาที่เผาความไม่รู้ "อาตาปะ" คือเผาอกุศลหรือความเป็นตัวตนหรือความไม่รู้ "สัมปชาโน" ก็ต้องเป็นปัญญาจะมีได้ก็ต่อเมื่อสติเกิด ถ้าสติไม่เกิดปัญญาก็มีไม่ได้ แต่ขณะใดก็ตามที่ปัญญาเกิดขณะนั้นต้องมีสติเกิดร่วมด้วย

เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ ในแต่ละคำ แม้แต่ ๓ คำนี้กล่าวเมื่อใด ขณะใด และเพราะเหตุใดจึงไม่ใช้คำว่าวิริยะหรือความเพียรธรรมดาแต่ใช้คำว่า "อาตาปี สัมปชาโน สติมา"

ที่มา ...

พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 926

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ก.พ. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ