พระบวชใหม่
ไม่ทราบว่าในวินัยพระที่บวชใหม่แล้วกี่พรรษาจึงจะสามารถออกธุดงค์เพียงลำพัง องค์เดียวได้โดยไม่ต้องมีพระพี่เลี้ยง
ตามหลักพระวินัยมีว่า พระภิกษุบวชใหม่ ต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์คือถือนิสัยอยู่ในการดูแลของท่านอย่างน้อย ๕ พรรษา เมื่อพ้น ๕ พรรษาแล้ว ถ้าไม่สามารถดูแลตัวเอง คือ ทรงจำพระธรรมวินัย พระปาฏิโมกข์ไม่ได้ ก็ต้องถือนิสัยอยู่กับพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์ไปเรื่อยๆ จนตลอดชีวิต ถ้าไม่ถือนิสัยต้องอาบัติ ส่วนเรื่องของธุดงค์นั้น ก็ควรเข้าใจก่อนว่า ธุดงค์คืออะไร มีกี่ข้อ ทำไมต้องธุดงค์ อยู่ที่อารามรักษาธุดงค์ได้ไหม รักษาได้กี่ข้อ การเดินป่าเป็นธุดงค์หรือ..ถ้าอยู่กับพระอุปัชฌาย์ รักษาธุดงค์ไม่ได้หรือ...
ขอเชิญคลิกอ่านเรื่ององค์ของภิกษุที่ต้องถือนิสัยที่
ความเคารพ มี ๓ อย่างคือ เคารพในพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าบวช เป็นพระภิกษุแล้ว ไม่รักษาพระวินัย ชื่อว่าไม่เคารพธรรม ถ้าไม่เคารพอย่างใดอย่าง หนึ่งใน ๓ อย่าง ก็ชื่อว่าไม่เคารพทั้งหมดค่ะ
นโม เม สพฺพพุทฺธานํ
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธา
สวัสดี ครับ, คุณสบาย คุณประเชิญ และคุณวรรณี ขออนุญาตสนทนาด้วยคน ครับ.
ขอชีแจงเรื่องลิงก์เล็กน้อยว่า ลิงก์ ยังมีข้อมูลไม่ครบ, ถ้าเอาตามลิงก์ ยังไม่พ้นนิสัย
พระภิกษุ จะพ้นนิสัยได้ ต้องได้ พรรษา 5, ทรงจำทฺเวมาติกาได้คล่องปาก ขึ้นใจ, ทรงพระสูตรพันคาถา หรือ 4 ภาณวาระได้,ได้สูตรสำหรับแสดงในงาน 3, ได้สูตรสำหรับเทศในวันพระ, และได้กถามรรคไว้สนทนาธรรม, ที่สำคัญ ต้องเข้าแนวกรรมฐาน โดยนัยสมถะ หรือ วิปัสสนา อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง โดยต้องเข้าใจแนวตลอดสายจนถึงพระอรหันต์.
คำว่า กรรมฐานแนวสมถะจนถึงพระอรหันต์นั้น ในสติปัฏฐานสูตร พระอรรถกถาจารย์แสดงว่ามี 2 หรือ 11 (บางท่านรวมนวสีวถิกาด้วย) เพราะสติปัฏฐานสูตรแสดงไว้แค่นั้นแต่ในสูตรอื่นๆ ก็มีอีก เช่น อานาปานสติสูตร เป็นต้น, ส่วนคำว่า กรรมฐานแนววิปัสสนาจนถึงพระอรหันต์ นั้น ในวิมติวิโนทนี แสดงกรรมฐานสายวิปัสสนาไว้อย่างเดียว คือ จตุธาตุววัตฐาน, ส่วนในสติปัฏฐานสูตร อรรถกถาจารย์กล่าวว่า มีกรรมฐานแนววิปัสสนาอยู่ 19 หรือ 10 (บางท่านไม่รวมนวสีวถิกา) นอกจากนี้ยังมีกรรมฐานแนววิปัสสนาในที่อื่นอีก เช่น สัมมาทิฏฐิสูตร เป็นต้น.
พระรูปใดไม่มีคุณสมบัติครบดังกล่าวมา จะไม่ถือนิสสัยอยู่ไม่ได้ เป็นอาบัติทุกกฎทุกวัน.
รายละอียดอยู่ใน มหาขันธกะ สุกกปักขะ-กัณหปักขะหมวดห้า และ สุกกปักขะ-กัณหปักขะหมวดหก, และที่แสดงละเอียดจะอยู่ใน ปาจิตตีย์วรรค 3 โอวาทวรรค สิกขาบทที่
1 โอวาทสิกขาบทวรรณณา ในที่นั้นท่านจะแสดง นิสสยมุจจกะ, ภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ, และ ภิกขุโนวาทกะไว้โดยละเอียด ครับ.
คนที่ไม่เข้าใจธรรม ไม่เห็นกิเลสของตัวเองและไม่ได้สะสมอุปนิสัยในการสละเพศคฤหัสถ์ แล้วบวช นั้น ไม่ใช่ผู้ที่จริงใจและไม่ใช่ผู้ตรง เพราะถามว่าบวชทำไม ถ้าตอบว่าเพราะเหตุนั้นๆ แต่ไม่ใช่เพราะได้เข้าใจพระธรรมและรู้อัธยาศัยของตนเองว่าเพื่อศึกษาพระธรรมและขัดเกลากิเลสในเพศภิกษุตามพระธรรมวินัยแล้ว สมควรบวชไหม การบวชเป็นภิกษุไม่ใช่เป็นอยู่อย่างสบายให้ผู้คนกราบไหว้ แต่เพราะเป็นผู้ที่เห็นกิเลสและเห็นโทษของกิเลส และรู้ว่าหนทางเดียวที่จะขัดเกลากิเลสก็ด้วยความเข้าใจพระธรรมจึงบวชเพื่อศึกษาธรรมและขัดเกลากิเลสยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ฉะนั้น การดำรงชีวิตของคฤหัสถ์และบรรพชิตจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง
อ่านเพิ่มเติม