ญาณนั้นของคฤหัสถ์เป็นของช้า [มุนิสูตร]

 
JANYAPINPARD
วันที่  19 ก.พ. 2553
หมายเลข  15533
อ่าน  1,326

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 538

ข้อความบางตอนจาก มุนิสูตร

คาถานั้นมีเนื้อความว่า นกยูงบินไปในอากาศนี้ใดเรียกว่า มีหงอน

เพราะมีภาวะที่หงอนซึ่งเกิดที่ศีรษะ และมีสร้อยคอเขียวที่คอเช่นท่อนแก้วมณี

นกยูงนั้นย่อมไม่ถึงเสี้ยวแม้ที่ ๑๖ ด้วยความเร็วของสุวรรณหงส์ ในบรรดา

หริตหงส์ ตัมพหงส์ กาฬหงส์ ปากหงส์และสุวรรณหงส์ แม้สุวรรณหงส์

ย่อมบินไปได้พันโยชน์บ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง โดยครู่เดียว ส่วนนกยูงนอกนี้

ไม่ปรากฏว่าสามารถ แต่หงส์และนกยูงแม้ทั้งสองก็เป็นสัตว์น่าดู เพราะความ

เป็นสัตว์ที่น่าดู ฉันใด คฤหัสถ์แม้บรรลุโสดาก่อนก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ที่น่าดู

ด้วยมรรคทัสสนะแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นแล คฤหัสถ์นั้น ทำตามภิกษุผู้บรรลุ

โสดาภายหลังก็ดี ผู้มีภาวะอันเที่ยงตรงน่าดู ด้วยมรรคทัสสนะก็ดี ด้วยเชาว์

ไม่ได้ ถามว่า ด้วยเชาว์ไหน ตอบว่า ด้วยเชาว์คือวิปัสสนาญาณในมรรค

เบื้องสูง เพราะญาณนั้นของคฤหัสถ์เป็นของช้า เพราะความเป็นญาณที่ยุ่ง

ด้วยความยุ่งมีบุตรภรรยาเป็นต้น ส่วนญาณของภิกษุเป็นของเร็ว เพราะความ

ยุ่งนั้นถูกสางแล้ว

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ