สีขาว

 
sutta
วันที่  19 ก.พ. 2553
หมายเลข  15546
อ่าน  1,640

สีเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นรูปธรรมคือเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร สีไม่ดี ไม่ชั่วเพราะไม่ใช่นามธรรมที่เป็นกุศลหรือกุศล บุคคลจะประเสริฐหรือไม่ประเสริฐไม่ใช่ขึ้นอยู่กับสี แต่ขึ้นอยู่กับจิต บุคคลจะประเสริฐได้เพราะจิตที่บริสุทธิ์ จิตจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการอบรมปัญญา คืออริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งก็ไม่พ้นจากการที่สติ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา สีจึงไม่เป็นประมาณให้บุคคลบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์

เชิญอ่านข้อความในพระไตรปิฎก

สีขาวกับอริยมรรค [พราหมณสูตร]

สัตว์เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง [คัททูลสูตร]


Tag  สีขาว  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Jans
วันที่ 19 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 19 ก.พ. 2553

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 20 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 20 ก.พ. 2553

แต่คนเราก็หนีสีไปไม่พ้น และส่วนใหญ่ก็เก็บรายละเอียดของสีได้ดีมากๆ สีที่เป็นคน สัตว์ สิ่งของละเอียดไปถึง สีคนสวย คนหล่อ สัตว์สวย สัตว์น่ารัก ฯลฯ ยังไม่พอ เก็บรายละเอียดได้อีกว่า สีนี้คนดีใจ เสียใจ โกรธ โมโห แม้กระทั่งลักษณะการโกหก หลอกลวง ก็เห็นพอมองกระจกก็เห็นสีนี้เป็นเราอีก แม้จะตาบอดสีก็ยังเก็บรายละเอียดได้ดีไม่ต่างกันมาก ทั้งๆ ที่ อาจารย์ก็ว่าสีไม่รู้เรื่องอะไรเลย จะใช้สีให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไรดีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
h_peijen
วันที่ 20 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 20 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 20 ก.พ. 2553

สีก็คือสี ไม่รู้อะไรครับ สีไม่ได้ทำให้ใครเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์ สีเป็นเพียงอารมณ์ของจิตเท่านั้น เพราะฉะนั้นเศร้าหมองก็เพราะกิเลสครับ พระอรหันต์ก็เห็นสี แต่ไม่เศร้าหมองเพราะไม่มีกิเลส ประโยชน์ในการใช้สี คือต้องอบรมปัญญาจนเข้าใจว่าสีเป็นธรรม ไม่ใช่เรา อันเป็นหนทางในการดับกิเลส

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 21 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sam
วันที่ 21 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 23 ก.พ. 2553

สีเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา การเกิดดับของจิตอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเป็นรูปร่างที่ เรียกว่า ฆนบัญญัติเป็นนิมิตของ คน สัตว์ สิ่งของ เข้าใจถูกหรือผิดอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 23 ก.พ. 2553

จิตเห็น เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตา (สี) แต่ในวาระจิตต่อๆ ไปก็จิตคิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นกลุ่มก้อน เป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นคนนั้นคนนี้ เพราะฉะนั้น ฆนบัญญัติจึงเป็นการรู้ความหมายโดยความเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่เพราะอาศัยสภาพธรรมที่มีจริง จึงมีฆนบัญญัติครับ ดังนั้น ที่ท่านเข้าใจถูกต้องแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.พ. 2553

การบูชาพระรัตนตรัยด้วยสี เช่น ขณะที่เราเอาดอกไม้สวยๆ ดอกบัว ดอกมะลิ ไปบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยความนอบน้อมจิต ขณะนั้นเป็นกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ธีรชาติ
วันที่ 1 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
homenumber5
วันที่ 6 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะและขอความกรุณาทวนสอบความเข้าใจดังนี้

สีเป็นสัญญาเรียกว่า จักขุสัญญา มากระทบกับ จักขุปสาท และเป็นธรรมชาติของปุถุชน ที่มี อเหตุกจิต ที่เรียกว่า อุเปกขา สหคตัง จักขุวิญยานัง อสังขาริกัง กามาวจรอเหตุกะ อกุสลวิปากจิตตังและ กุสลวิปากจิตตังจึงเกิดสัญญา ว่า ชอบไม่ชอบ เป็นกามสัญญาอย่างนั้นใช่หรือไม่คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
รากไม้
วันที่ 6 มี.ค. 2553

อารมณ์และความคิด ที่เกิดหลังจากการเห็นสี ...ทั้งหมดเป็นสิ่งสมมติ ไม่มีจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 6 มี.ค. 2553

ความคิดคือจิตมีจริงครับ แต่เรื่องราวที่คิด (บัญญัติ) ไม่มีจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
paderm
วันที่ 6 มี.ค. 2553

สีไม่ใช่สัญญา สภาพธรรมี 2 อย่างคือนามธรรมและรูปธรรม นามธรรมเป้นสภาพรู้รูปธรรมคือไม่ใช่สภาพรู้ จิตและเจตสิกเป็นนามธรรมเพระเป็นสภาพรู้ สัญญาเป็นเจตสิกประเภทหนึ่งทำหน้าที่จำ เป้นนามธรรม รูปธรรมเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย สีเป็นรูปธรรมประเภทหนึ่ง สีไม่รู้อะไร สีไม่นึกคิด ไม่จำ ไม่เดือดร้อน สีไม่รู้อะไรทั้งนั้น สีจึงเป้นรูปธรรม สัญญาเป็นนามธรรมเพระฉะนั้น สีไม่ใช่สัญญาแต่สีเป็นรุปธรรม

ไม่ใช่จักขุสัญญามากระทบกับประสาทรูปครับ ตามที่ได้กล่าวแล้ว สัญญาไม่ใช่สี สัญญาเป็นนามธรรม สภาพธรรมที่กระทบจักขุปสาทรูปได้ มีเพียงสี (วัณณรูป) เท่านั้น

ส่วนปุถุชนหรือแม้พระอริยบุคคลแลแม้แต่พระอรหันต์ก็ต้องมีจิตเห็นด้วยกันทั้งนั้น ทั้งเห็นสิ่งที่ดีที่เป้นกุศลวิบากทางตาและเห็นสิ่งที่ไม่ดีที่เป็นอกุศลวิบากทางตาเช่นกัน ไม่จำกัดเฉพาะปุถุชน แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเห็นสิ่งที่ไม่ดีบ้างเป็นธรรมดา

ส่วนเมื่อเห็นแล้วชอบหรือไม่ชอบ ขณะที่ชอบก็เป็นโลภมูลจิต ขณะที่ไม่ชอบก็เป็นโทสมูลจิต สัญญาเกิดกับจิตทุกประเภท ขณะที่ยินดีพอใจในสิ่งที่เห็น ได้ยิน ขณะนั้นก็ต้องเป็นกามสัญญาที่เป็นในอกุศลครับ ส่วนขณะที่ไม่ชอบเป็นโทสมูลจิต ซึ่งไม่ใช่กามสัญญา เพราะขณะนั้นไม่ได้พอใจในสิ่งที่เห็น ได้ยิน เป็นต้น

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
saifon.p
วันที่ 9 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
chatchai.k
วันที่ 7 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ