ขอความกรุณา

 
aditap
วันที่  21 ก.พ. 2553
หมายเลข  15555
อ่าน  1,703

อยากทราบความเป็นมาของ อรรถกถา ว่ามีความสําคัญอย่างไรขอบพระคุณมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ก่อนอื่น ควรทราบความหมายคำว่า อรรถกถา หมายถึง คำอธิบายเนื้อความของพระพุทธพจน์ คำตรัสของพระพุทธเจ้ามีความหมายละเอียดลึกซึ้งมาก คำอธิบาย ความหมายหรือเนื้อความนั้นเรียกว่า อรรถกถา อรรถกถามีมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล ส่วนหนึ่งเป็นปกิณณกเทศนาของพระพุทธองค์ ส่วนหนึ่งเป็นคำอธิบายของพระอรหันต์เถระ มีพระสารีบุตร เป็นต้นส่วนหนึ่งเป็นคำอธิบายของพระอรหันต์รุ่นต่อมาหลังพุทธปรินิพพานก็มี ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาในยุคหลังปรินิพพานครับ
ขอยกข้อความบางส่วนจากพจนานุกรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ ที่ท่านกล่าวถึงอรรถกถาดังนี้

คำอธิบายอรรถคือความหมาย ของพระบาลี อันได้แก่พุทธพจน์ รวมทั้งข้อความและเรื่องราวเกี่ยวข้องแวดล้อมที่รักษาสืบทอดมาในพระไตรปิฎก, คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก; ในภาษาบาลีเขียน อฏฺฐกถา, มีความหมายเท่ากับคำว่า อตฺถวณฺณนา หรือ อตฺถสํวณฺณนา อรรถกถามีมาเดิมสืบแต่พุทธกาล เป็นของเนื่องอยู่ด้วยกันกับการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ ในพุทธกาล เมื่อพระอาจารย์นำพุทธพจน์มาสอนแก่นิสิต หรือตอบคำถามของศิษย์เกี่ยวกับพุทธพจน์นั้น คำอธิบายของพระอาจารย์ก็เป็นอรรถกถา คำอธิบายที่สำคัญของพระสาวกผู้ใหญ่ อันเป็นที่ยอมรับนับถือเป็นหลัก ก็ได้รับการถ่ายทอดรักษาผ่านการสังคายนาสืบต่อมาไม่เฉพาะคำอธิบายของพระสาวกเท่านั้น แม้ถึงพระดำรัสอธิบายของพระพุทธเจ้าเอง ซึ่งอธิบายพุทธพจน์อื่นที่มีอยู่ก่อนแล้ว ก็ถือว่าเป็นอรรถกถาด้วย คำอธิบายที่เป็นเรื่องใหญ่บางเรื่องสำคัญมากถึงกับจัดรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพระไตรปิฎก ดังที่ท่านเล่าไว้คือ “อัฏฐกถากัณฑ์” ซึ่งเป็นภาคหรือคัมภีร์ย่อยที่ ๓ ในคัมภีร์ธัมมสังคณี แห่งพระอภิธรรมปิฎก (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๔, อัฏฐกถากัณฑ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “อัตถุทธารกัณฑ์” และพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐได้เลือกใช้ชื่อหลัง) ตามเรื่องที่ท่านบันทึกไว้ว่า (สงฺคณี.อ.๔๖๖) สัทธิวิหาริกรูป หนึ่งของพระสารีบุตรไม่สามารถกำหนดจับคำอธิบายธรรมในภาคหรือคัมภีร์ย่อยที่ ๒ ที่ชื่อว่านิกเขปกัณฑ์ ในคัมภีร์ธัมมสังคณีนั้น พระสารีบุตรจึงพูดให้ฟัง ก็เกิดเป็นอัฏฐกถากัณฑ์หรืออัตถุทธารกัณฑ์นั้นขึ้นมา (แต่คัมภีร์มหาอัฏฐกถากล่าวว่า พระสารีบุตรพาสัทธิวิหาริกรูปนั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระองค์ตรัสแสดง) , คัมภีร์มหานิทเทส (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๙) และจูฬนิทเทส (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐) ก็เป็นคำอธิบายของพระสารีบุตร ที่ไขและขยายความแห่งพุทธพจน์ในคัมภีร์สุตตนิบาต (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕, อธิบายเฉพาะ ๓๒ สูตร ในจำนวนทั้งหมด ๗๑ สูตร) อรรถกถาทั้งหลายแต่ครั้งพุทธกาลนั้น ได้พ่วงมากับพระไตรปิฎกผ่านการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง จนกระทั่งเมื่อพระมหินทเถระไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ ก็นำอรรถกถาเหล่านั้น ซึ่งยังเป็นภาษาบาลี พ่วงไปกับพระไตรปิฎกบาลีด้วย แต่เมื่อพระพุทธศาสนาสืบมาในลังกาทวีป พระสงฆ์ที่นั่นรักษาเฉพาะพระไตรปิฎกให้คงอยู่อย่างเดิมในภาษาบาลี ส่วนอรรถกถาซึ่งเป็นคัมภีร์ประกอบที่จะใช้ศึกษาพระไตรปิฎก จะสำเร็จประโยชน์ได้ดีต่อเมื่อเป็นภาษาของผู้เล่าเรียน คือภาษาสิงหฬ ดังนั้น ต่อมา อรรถกถาทั้งหลายก็แปรเปลี่ยนไปเป็นภาษาสิงหฬทั้งหมด ต่อมา พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปเสื่อมลง แม้ว่าพระไตรปิฎกจะยังคงอยู่ แต่อรรถกถาได้สูญสิ้นหมดไป ครั้งนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว มีความเชี่ยวชาญจนปรากฏนามว่า “พุทธโฆส” ได้เรียบเรียงคัมภีร์ชื่อว่าญาโณทัย (คัมภีร์มหาวงส์กล่าวว่าท่านเรียบเรียงอรรถกถาแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี ชื่อว่าอัฏฐสาลินีในคราวนั้นด้วย..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 22 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 23 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

เป็นคำอธิบายที่มีประโยชน์มากๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
aditap
วันที่ 23 ก.พ. 2553

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 23 ก.พ. 2553

ชื่อว่าพุทธะ โดยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุให้ดำเนินไปใน

สิ่งที่เป็นประโชน์ และให้หันกลับจากสิ่งที่ไม่เป็นประดยชน์

ชื่อว่าธรรมะ โดยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุให้ข้ามกันดาร

คือภพได้ และให้แช่มชื่น

ชื่อว่าสงฆ์ โดยอรรถว่า กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย เหตุให้ทำสิ่งที่ทำ

แม้น้อย ให้ผลไพบูลย์

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ