บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยความแตกต่างของปัญญา

 
JANYAPINPARD
วันที่  22 ก.พ. 2553
หมายเลข  15570
อ่าน  2,347

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 662

ศรัทธาอ่อนปัญญากล้าย่อมมีแก่ผู้เป็นปัญญาธิกะทั้งหลาย ปัญญา

ปานกลางมีแก่ผู้เป็นศรัทธาธิกะทั้งหลาย ปัญญาอ่อนย่อมมีแก่ผู้เป็นวีริยา-

ธิกะทั้งหลาย.

อนึ่งพึงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยอานุภาพแห่งปัญญา.

ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นี้เป็นการแบ่งกาลของพระโพธิสัตว์

ทั้งหลายด้วยความแก่กล้า ปานกลางและอ่อนแห่งความเพียร แต่โดยความ

ไม่ต่างกัน โพธิสมภารทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งบารมีเหล่านั้น โดย

ความต่างแห่งกาลตามที่กล่าวแล้ว โดยความแก่กล้าปานกลางและอ่อนแห่ง

ธรรมทั้งหลายอันบ่มบารมีให้แก่กล้าด้วยวิมุติ. เพราะเหตุนั้นความต่างแห่ง

กาล ๓ เหล่านี้จึงควรแล้ว. ด้วยอาการอย่างพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมมี

๓ ส่วนในขณะแห่งอภินิหารโดยความต่างกันแห่ง อุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู

และเนยยะ. ใน ๓ อย่างนั้น ผู้ที่ฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์ของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๓ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุ

พระอรหัตด้วยอภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นอุคฆฏิตัญญู. หากพึง

น้อมไปในสาวกโพธิญาณ.

บุคคลประเภทที่สองฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาค-

เจ้า เมื่อยังไม่จบคาถาบทที่ ๔ เป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วย

อภิญญา ๖ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. หากพึงน้อมไปในสาวกโพธิญาณ.

ส่วนบุคคลประเภทที่สามฟังคาถา ๔ บท ต่อพระพักตร์พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อจบคาถาแล้วเป็นผู้มีอุปนิสัยสามารถบรรลุพระอรหัตด้วย

อภิญญา ๖.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ