อยู่ร่วมกันอย่างมีเหตุผล

 
พุทธรักษา
วันที่  24 ก.พ. 2553
หมายเลข  15599
อ่าน  1,659

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากหนังสือ "บุญญกิริยาวัตุถุ" โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คุณวันทนา ทิพวัลย์

พระผู้มีพระภาค ทรงสอนให้พิจารณาจิตใจของตนเองแทนการเพ่งโทษของคนอื่น เพราะการเพ่งโทษของคนอื่นย่อมทำให้จิตใจ (ของตนเอง) เป็นอกุศลและ ยังเป็นการเพิ่มพูน "กิเลสอาสวะ" (ของตนเอง) ซึ่งจะทำให้ห่างไกล "พระนิพพาน" ออกไปทุกที

กุศลทุกอย่าง เป็นการสละ หรือ ขัดเกลากิเลส ทั้งนั้นการกระทำทุกอย่างที่เกิดขึ้น จะต้องมี "เหตุผล" ทั้งนั้นและ "เหตุ" ของการกระทำที่ไม่ดีทั้งหมด ก็เกิดจาก "กิเลส" เท่านั้น

เหตุผล ในการรักษาศีล

สำหรับการรักษาศีล ก็เพื่อ "ขจัดโทสะ" คือ ขณะที่มีเจตนา "เว้น" การกระทำทางกาย ทางวาจา อันเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้นจะต้องไม่มี โลภะ เกิดขึ้นขัดขวางด้วย จึงจะสามารถ เว้นการกระทำทุจริต นั้นได้

เพราะว่า ศีล ย่อมขาดได้ เพราะเหตุแห่งลาภบ้าง ยศบ้าง เพราะเหตุแห่งญาติบ้าง หรือว่า เพราะเหตุแห่งชีวิตบ้าง

สำหรับผู้ที่ยังมีความพอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่างๆ ความพอใจในสิ่งเหล่านั้น ก็อาจจะเกิดขึ้นและขัดขวางการรักษาศีลได้ ตามโอกาส และ ตามกำลังของความยินดีติดข้องในวัตถุ และลาภยศ ต่างๆ นั้น

"โลภะ" เป็นมูล เพราะเป็น "เหตุ" ให้เกิดความปรารถนาติดข้องและอยากได้ในวัตถุสิ่งของต่างๆ ก็จริงแต่ การล่วงทุจริตแต่ละครั้งนั้น ก็ต้องเป็นเพราะ"ขาดความเมตตาต่อผู้อื่น" และ "ธรรมะ" ที่ตรงกันข้ามกับ "ความเมตตา" คือ "โทสะ" โทสะ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง และ ประทุษร้าย เช่น ผู้ที่อยากได้ทรัพย์ของคนอื่น แล้วประทุษร้ายคนอื่น เพราะต้องการทรัพย์นั้นเห็นได้ชัดว่า "ขาดความเมตตา"

เพราะเหตุว่า ถ้ายังมีความเมตตาต่อผู้อื่นอยู่ตราบใดก็ไม่อาจประทุษร้ายผู้นั้นเพราะเหตุแห่งทรัพย์และถ้ามีความเมตตาต่อผู้อื่นจริงๆ ก็ย่อมทราบว่า การที่ผู้อื่นต้องเสียทรัพย์ที่หามาได้นั้น ผู้นั้นย่อมเกิดความเดือดร้อนถ้ามีความเมตตา เห็นใจผู้อื่นก็ย่อมไม่ช่วงชิง "ทรัพย์ของผู้อื่น" มาเป็นของตนเลย

ขณะใดที่ขาดความเมตตา ขณะนั้น สภาพจิตมีลักษณะที่หยาบกระด้างสามารประทุษร้ายผู้อื่น....เป็นลักษณะของ "โทสเจตสิก" นั่นเอง

"โทสะ" จึงไม่ใช่เพียงความโกรธเท่านั้นแต่หมายถึงขณะที่จิตใจหยาบกระด้าง ประทุษร้าย และขาดเมตตาขณะนั้นเป็น ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็น "โทสะ" ฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า เมื่อมีความเมตตาอยู่ ตราบใดการที่จะกระทำกายทุจริต วจีทุจริต อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นเดือดร้อน ก็จะมีไม่ได้เลย

จากคำกล่าวที่ว่า ถ้ามีข้อคิด หรือ ข้อธรรมบางประการ ที่จะช่วยให้เราไตร่ตรองถึง "เหตุผล" คงจะทำให้เรามีศรัทธาที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ศีลของผู้ครองเรือน ได้มาก

แต่ข้อสำคัญ คือ จะต้อง"เห็นโทษของกิเลส" เสียก่อนเพราะ"ความสุขที่แท้จริง" ไม่ได้อยู่ที่ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ หรือ ลาภ ยศ แต่อยู่ที่ "การไม่มีกิเลส" เท่านั้น คนที่มีกิเลสพอกพูน หนาแน่นมาก นั้น ชื่อว่า "ปุถุชน" ผู้ที่ไม่ใช่ "พระอริยบุคคล" คือ ผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ นั้นชื่อว่า เป็น "ปุถุชน" ทุกคน

ถามว่า เพราะอะไร จึงได้ชื๋อว่า เป็น "ปุถุชน".?เพราะว่าไม่รู้ลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งหลายความยินดียินร้าย ก็เกิดขึ้น "ขณะที่จิตเป็นอกุศล" นั่นเอง

กิเลสเกิดกับอกุศลจิต และเพราะ "เหตุ" คือ ที่กิเลสเกิดกับอกุศลจิตแต่ละขณะนั้น มีการสะสมเพิ่มพูนอยู่ในจิตที่เกิดดับสืบต่อกันอยู่ทุกๆ ขณะทำให้ปรากฏ (ผล) เป็น "สภาพของกิเลสที่สะสมมาในลักษณะต่างๆ " และ การสะสมของกิเลสของแต่ละคนนี้เองที่ทำให้แต่ละคน มีอุปนิสัยที่ต่างๆ กัน

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 ก.พ. 2553

การอยู่ร่วมกันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากในสังคม.การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขหรือทุกข์ขึ้นกับอะไร

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงสอนให้พิจารณาจิตใจของตนเองแทนการเพ่งโทษของคนอื่น

อะไรเป็นเหตุและอะไรเป็นผลของความสุขหรือทุกข์

"เหตุ" คือ ที่กิเลสเกิดกับอกุศลจิต

”ผล” เป็น "
สภาพของกิเลสที่สะสมมาในลักษณะต่างๆ " ในรูปแบบที่เรียกว่านิสัย

แม้ว่าพระธรรมได้กล่าวถึงธรรมะของผู้ที่อยู่ด้วยกันได้แก่ สังคหวัตถุ ๔ และพรหมวิหาร ๔ หากไม่พิจารณาโดยละเอียดก็อาจคิดว่าสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องพิจารณาเหตุและผลอันแท้จริงโดย

"เห็นโทษของกิเลส" เสียก่อนเพราะ"ความสุขที่แท้จริง" ไม่ได้อยู่ที่ทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ หรือ ลาภ ยศ ฯแต่อยู่ที่ "การไม่มีกิเลส" เท่านั้น


ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
aiatien
วันที่ 25 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 25 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 25 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
tharo
วันที่ 26 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Jans
วันที่ 26 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
homenumber5
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนา

อนุโมทนาค่ะ

ขอเรียนถามดังนี้

1. ในสังคมนั้นหลีกเลี่ยงการใช้ปัญจทวารไม่ได้ เลยทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาม แต่ กามาวจรอเหตุกะอกุสลวิปากจิตจะเกิดตามกามสัญญาของปุถุชนที่เป็นทุคติ และสุคติบุคคล ใช่หรือไม่คะ

2. ดังนั้น ยามที่ อยู่ในสังคม ผู้ใหญ่สอนให้ ระวัง วาจา ก็คือ มุสา ปิสุณา ผรุสสา สัมผับปลาปะวาจา ซึ่งจะเป็นการก่อ กรรมต่อคนอื่นๆ และตนเอง ดิฉันเห็นว่า เมื่อในชุมชน เราควรจะฟังมากๆ แต่จะคิดตามและคล้อยตามแล้วออกความเห็นนั้นมิบังควร ยกเว้นเป็นเรื่องการประชุมการงานอาชีพ หากเป็นการวิเคราะห์ข่าวสารบ้านเมืองนั้นย่อมไม่มีประโยชน์ คือไม่อยู่ในข่ายของบุญกิริยาวัตถุ 10 และยังต้องสำรวมกาย ด้วยสีล

ข้อนี้ อาจารย์มีความเห็นอย่างไร บ้างคะ

3. เมื่อมาสิกขาธรรมดิฉันได้พยายามหลีกเล้นและยามว่างจะเข้ามาอ่านบทสนทนาที่อาจารย์ประจำบ้านธัมมะ เขียนไว้ แล้สอบถาม เพิ่มเติม เมื่อได้ ข้อชี้แนะโดยเฉพาะ คำแนะนำให้ไปอ่านพระไตรปิฎก หน้านั้นๆ มีประโยชน์มาก มากกว่าการไปนั่งอ่านเองโดยไม่มีประเด็นพิจารณา

ขอเรียนถามคำชี้แนะเพิ่มเติมด้วย

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คุณ
วันที่ 27 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 28 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
bsomsuda
วันที่ 28 ก.พ. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 28 ก.พ. 2553

เรียน ความเห็นที่ 7

เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่นที่ดีหรือไม่ดีได้เพราะเป็นผลของกรรม เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นครับ แต่เราสามารถเข้าใจความจริงได้ในสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ประโยชน์อยู่ตรงนี้ครับ ส่วนในเรื่องของวาจา การงดเว้นจากวจีทุจริตเป็นสิ่งที่ดี ที่สมควรครับ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเกิดหรือไม่เกิดด้วยครับ เพราะฉะนั้น การเสพคุ้นกับพระธรรมเป็นสิ่งที่ดี ดังที่คุณได้ทำอยู่ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ