ผู้เห็นภัย
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรม ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๓ ถอดเทปบันทึกเสียง โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
ในอรรถกถา ที่แสดงว่า "มีชีวิตเพื่ออะไร" แต่ละคน ก็ต่างคำตอบ
ผู้มีปัญญา มีชีวิตอยู่เพื่อ "ความรู้ปรากฏ" เพราะ "ความไม่รู้" ในสิ่งที่ปรากฏในสังสารวัฏฏ์มานานแสนนานไม่รู้มาตลอด จนกระทั่งถึง "ขณะนี้" ขณะที่กำลังเห็น ก็ยังไม่รู้ ว่าเป็น "ธรรมะ" ซึ่งมีปัจจัย เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป แต่ ผู้ที่มีปัญญาสามารถเข้าถึงสภาพธรรม
จาก ภวังคจิต คือ ขณะที่ไม่มีอะไรปรากฏเลยแล้วก็เกิดมี "การรู้สิ่งที่ปรากฏ" แล้วก็ดับไป แล้วก็เป็นภวังคจิตอีก เป็นเวลาที่สั้นแสนสั้นแล้วก็ "รู้สิ่งที่ปรากฏอีก" สั้นแสนสั้น แล้วก็ดับไปหมดแล้วก็เป็นภวังคจิตอีก เพราะ "ความไม่รู้" ก็คิดว่ายังมีอยู่เรื่อยๆ
แต่ "ความจริง" เมื่อถึงภวังคจิตแล้วหมายความว่า สิ่งที่ปรากฏนั้นหมดไปแล้ว ไม่เหลือเลย ไม่กลับมาอีกเลยรูปธรรม และ นามธรรม ที่เกิดปรากฏแล้ว ดับแล้ว กลับมาอีกไม่ได้ความติดข้องในสิ่งที่ไม่มีแล้ว แต่เข้าใจว่ายังมีอยู่เพราะว่า สภาพธรรมทั้งหลาย มีการเกิดดับสืบต่อ เพราะฉะนั้น คนที่มีลูกศรปักใจ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย เดือดร้อนด้วยลูกศรนั้น ด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง หรืออกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ไม่สามารถที่จะอยู่เฉยได้เลย ใช่ไหม
จากสิ่งที่ไม่มี แล้วมี แล้วดับไป ก็ยังไม่เห็น "ภัย" ว่าหมดไปจริงๆ การเกิดดับ สืบต่อ ของสภาพธรรมที่มีจริงๆ จนกระทั่ง ปรากฏเสมือนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ "เที่ยง" แล้วเกิดโลภะ โทสะ โมหะ หรือ อกุศลธรรมทั้งหลายเกิดความสำคัญตน ในสิ่งที่ว่างเปล่าว่างเปล่า เพราะว่า ไม่เหลืออะไรเลยทั้งสิ้น
ผู้มีปัญญา จึงมีชีวิตอยู่เพื่อ "ความรู้ปรากฏ" รู้ ในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรประมาท ในการศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียด รอบคอบแต่ละคำที่ได้ฟัง ควรเข้าใจในความป็น "ธรรมะ" ในคำนั้น แม้คำเพียงคำเดียว คำว่า "ผู้เห็นภัย" นำไปสู่ "ความเข้าใจเพิ่มขึ้น" จนกระทั่งถึง "ความดับกิเลส"
ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
คำว่าผู้เห็นภัยนี้ ลึกซึ้งมากๆ ครับ เมื่อคิดตามแล้วทำให้ผมเข้าใจอะไรๆ ได้อีกหลายอย่างขออนุโมทนาท่านพุทธรักษา
หัวข้อสนทนาคือ มีชีวิตเพื่ออะไร ต่างคนต่างมีคำตอบ
ขอกราบเรียถามท่านพุทธรักษาดังนี้
1. สำหรับพุทธศาสนิก ชีวิตนี้ ควร สร้างมหากุสลคือบุญกิริยาวัตถุ 10 เพื่อ ให้ละอวิชชาในบุญกิริยาวัตถุ10 นั้น จะมีการ สิกขา พระอภิธรรม เพื่อให้รู้ วิปัสนาภูมิ เพื่อให้ถึงวิปัสสนาธรรม เพื่อให้ถึง มรรค 4 ผล 4พระนิพพาน 1 ใช่หรือไม่ หรือ ควร มีสิ่งใดเพิ่มเติมอีกคะสำหรับพุทธศาสนิกชน
2. ผู้มีปัญญา รู้ในสิ่งที่เกิดดับนั้น อาจารย์หมายถึง บางส่วนในบทสวดธัมมจัก กัปปวัตนสูตรที่ว่า จักขุงอุทะปาทิ วิญญาณอุทะปาทิ ปัญญาอุทะปาทิ วิชชาอุทะปาทิ อโลโกอุทะปาทิเช่นนั้นหรือไม่คะ
3. ในโลกมนุษย์นี้ ในยุคหลังกึ่งพุทธกาลนี้ ปุถุชนที่พยายามสิกขาธรรมและสร้างบุญกิริยาวัตถุ 10 นี้ จะสามารถได้พบ ติเหตุกะบุคคล หรือ อริยะบุคคล กันได้บ้างหรือไม่คะ และข้คำตอบสำหรับคำถามนี้สสามารถหาอ่านได้ในพระไตรปิฏกฉบับไหนได้บ้าง
ขอกราบอนุโมทนา
เรียน ความเห็นที่ ๘
ก่อนอื่นขอเรียนให้ทราบว่า "พุทธรักษา" ไม่ได้เป็นอาจารย์แต่เป็น "เริ่มผู้ศึกษา" ถ้าจะกรุณาไม่เรียกว่า "ท่าน" หรือ "อาจารย์" ก็จักขอบพระคุณอย่างสูง ในส่วนของความคิดเห็นนั้น ขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เรียนความเห็นที่ 8
ข้อ 1. การะละกิเลสจนบรรลุต้องเป็นเรื่องของปัญญา และเป็นปัญญาก็ต้องเป็นไปตามลำดับโดยเริ่มจากการฟังให้เข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไร ในส่วนของบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ กุศลทุกอย่างควรเจริญครับ แต่เจริญด้วยความเห็นถูกเป็นปัจจัยย่อมเป็นปัจจัยให้ดับกิเลส ต้องเข้าใจหนทางในการดับกิเลส กุศลต่างๆ เช่น ทาน ศีล เป็นต้นก็จะน้อมไปในการดับกิเลสเช่นกัน ใน 10 ประกา ร ก็มีในส่วนของภาวนา เช่น การฟังธรรม และในเรื่องการทำความเห็นให้ตรงก็สำคัญมาก เพราะทำให้เข้าใจถูกว่าหนทางในการละกิเลสคืออย่างไร ไม่ใช่หมายความว่าทำกุศลมากๆ แล้วจะละกิเลส ดับกิเลสได้นะครับ สำคัญที่ปัญญาก่อน คือรู้ว่าหนทางในการดับกิเลสคืออย่างไร คือต้องเข้าใจขั้นการฟังว่าทุกอย่างเป็นธรรมไช่เรา เริ่มจากการฟังให้เข้าใจครับ
2 .การรู้ในสภาพธรรมที่เกิดดับก็ต้องเป็นปัญญา สำหรับในธรรมจักรที่คุณยกมาก็เป็นปัญญาที่เห็นตามความเป็นจริงที่พระองค์ไม่เคยรู้มาก่อนและพระองค์ก็ได้รู้ ซึ่งก็ต้องรวมถึงปัญญาที่เห็นความเกิดดับด้วยครับ (ขอขอบพระคุณอาจารย์คำปั่นที่ช่วยอธิบายศัพท์ให้เข้าใจครับ)
3. สำหรับการที่จะได้พบกับพระอริยะหรือผู้มีปัญญาเข้าใจธรรมได้ ต้องเป็นเรื่องของบุญเก่าที่ได้ทำมา หากได้ทำบุญในหนทางที่ถูกหรือได้สะสมปัญญาในหนทางที่ถูกมาเมื่อกุศลให้ผลก็จะทำให้ได้พบผู้ทื่เข้าใจธรรมถูกต้องครับ ซึ่งสำหรับในส่วนนี้หาอ่านจากพระไตรปิฎกไก้ในอังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต จักกสูตร แต่ผมขอยกข้อความบางส่วนมาให้อ่านนะครับ
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 116
จักรวรรควรรณนาที่ ๔
ชื่อว่า ปุพฺเพ จ กตปฺญฺตา ความเป็นผู้ทำบุญมาก่อน ข้อนี้แหละถือเอาเป็นประมาณในจักร ๔ นี้ เพราะว่า กุศลกรรมเท่านั้นอันคนใดด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณอันใด กุศลจิตนั้น แหละย่อมนำคนนั้นเข้าไปอยู่ในถิ่นที่เหมาะ ให้เขาคบหาสัตบุรุษ ก็บุคคลนั้น ชื่อว่าตั้งคนไว้ชอบด้วยอาการอย่างนี้
การอบรมเจริญปัญญา เบื้องต้นให้รู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นไปในทาน ในศีล ก็เพื่อที่จะรู้ความจริงว่า ไม่ใช่เรา และยากแสนยากที่จะรู้ความจริงของเห็น ของได้ยิน ว่าไม่ใช่เรา แต่ก็ไม่มีหนทางอื่น นอกจากสติปัฏฐานเป็นหนทางเดียวค่ะ
อนุโมทนา ท่านเจ้าของความเห็นที่ 10
ที่ชี้แนะโดยมีหลักฐานอ้างอิงเป็นพระสูตร เป็นบุพปุพฺเพ จ กตปฺญฺตา ความเป็นผู้ทำบุญมาก่อน.
ข้อนี้แหละถือเอาเป็น ประมาณในจักร ๔ นี้. เพราะว่า กุศลกรรมเท่านั้นอันคนใดด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ อันใด กุศลจิตนั้น แหละย่อมนำคนนั้นเข้าไปอยู่ในถิ่นที่เหมาะ ให้เขาคบหาสัตบุรุษ. ก็บุคคลนั้น ชื่อว่าตั้งคนไว้ชอบด้วยอาการอย่างนี้. ขอกุสลทั้งปวงที่ได้กระทำมาทั้งในปัจจุบันแลอดีตชาติจงเป็นพลวัตรปัจจัยให้ทุกท่านและสัตวทั้ง 31 ภูมิได้ถึง มัคค 4 ผล 4 พระนิพพาน1โดยเยบยพลันทันทีในชาตินี้เทอญ