คนจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่พ้นจากกรรมชั่ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 59
คนจะอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่พ้นจากกรรมชั่ว
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ทูลพระศาสดาว่า " ความพ้นย่อมไม่มีแก่ สัตว์ที่ทำกรรมเป็นบาปแล้ว ผู้ซึ่งเหาะไปในอากาศก็ดี แล่นไปสู่สมุทร ก็ดี เข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขาก็ดี หรือ? พระเจ้าข้า." พระศาสดา ตรัสบอกว่า " อย่างนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย แม้ใน ที่ทั้งหลาย มีอากาศเป็นต้น ประเทศแม้สักส่วนหนึ่งที่บุคคลอยู่แล้ว พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ไม่มี " เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัส พระคาถานี้ว่า
"บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีไปในท่ามกลางมหา- สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีเข้าไปสู่ซอก แห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, (เพราะ) เขา อยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรม ชั่วได้, ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่"
แก้อรรถ
ความแห่งพระคาถานั้นว่า "ก็หากว่า คนบางคนคิดว่า 'เราจัก พ้นจากกรรมชั่วด้วยอุบายนี้ พึงนั่งในอากาศก็ดี. พึงเข้าไปสู่มหาสมุทร อันลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ก็ดี พึงนั่งในซอกแห่งภูเขาก็ดี. เข้าไม่พึงพ้น จากกรรมชั่วได้เลย. ' ด้วยว่า ในส่วนแห่งแผ่นดินคือภาคแห่งปฐพีมี ปุรัตถิมทิศเป็นต้น โอกาสแม้ประมาณเท่าปลายขนทรายที่บุคคลอยู่แล้ว พึงอาจพ้นจากกรรมชั่วได้ หามีไม่"