บริโภคกลิ่นดิบ

 
จักรกฤษณ์
วันที่  1 มี.ค. 2553
หมายเลข  15643
อ่าน  1,801

ผมได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์ กล่าวถึง กลิ่นดิบ

ซึ่งเป็นเรื่องในพระสูตรกล่าวถึง ดาบสสอบถามพระพุทธองค์ว่า

ท่านบริโภคกลิ่นดิบหรือไม่ (หมายถึงเนื้อปลา เนื่อสัตว์)

พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า ท่านบริโภคเนื้อปลา เนื้อสัตว์ แต่มิได้บริโภคกลิ่นดิบ

กลิ่นดิบของพระพุทธองค์ หมายถึง กลิ่นของกิเลส

เนื้อปลา เนื้อสัตว์ จะเน่าเหม็นเพียงใด ก็ยังเทียบไม่เท่าความเน่าเหม็นของกลิ่นกิเลส

เรียนถามว่าพระสูตรที่ยกมาอยู่ในเรื่องใด ตอนใด ครับ

ผมชอบรับประทาน น้ำพริก ผักสด ผักต้ม มาก

ก็ไม่พ้นบริโภคกลิ่นดิบเลยใช่ไหมครับนี้?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 1 มี.ค. 2553

ถ้ายังมีกิเลสอยู่ก็ชื่อว่า บริโภคกลิ่นดิบครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความบางตอนจากอามคันธสูตรที่

เรื่องพระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่ [อามคันธสูตรที่ ๒]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 1 มี.ค. 2553

ขอบพระคุณ อ.ประเชิญ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิริยะ
วันที่ 2 มี.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 มี.ค. 2553
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า กลิ่นดิบนั้น ไม่ใช่กลิ่นของเนื้อ ไม่ใช่กลิ่นของปลา ไม่ใช่กลิ่นของอาหาร แต่กลิ่นดิบนั้น เป็นกลิ่นของกิเลส ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ย่อมไม่พ้นจากกลิ่นดิบนี้เลย กิเลสหมายถึงเครื่องเศร้าหมองของจิต หรือ สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อไม่รู้ว่ากิเลสเป็นสภาพธรรมที่น่ารังเกียจ ย่อมเป็นเหตุทำให้นับวันก็ยิ่งจะมีแต่กิเลสพอกพูนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ เป็นผู้เต็มไปด้วยกลิ่นดิบคือกิเลส

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนั้น เป็นอนุสาสนี เป็นคำพร่ำสอนที่พระองค์ทรงประทานบ่อยๆ เนืองๆ ก็เพื่อเป็นเครื่องเตือนพุทธบริษัทให้เห็นโทษของกิเลส ให้เห็นโทษของอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อพิจารณาตนเองว่ายังเป็นผู้มีสิ่งที่ไม่ดีอะไรบ้าง เพื่อจะได้ขัดเกลา ลดละคลายให้เบาบางลง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง (ปัญญา) จนกว่าจะถึงความเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสได้ในที่สุด ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Jans
วันที่ 2 มี.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 3 มี.ค. 2553

ถ้าไม่พิจารณาใส่ใจที่ลักษณะของนามและรูปที่กำลังปรากฏ ก็เพลิดเพลินไปกับ รูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ขณะนั้นเป็นอกุศล อกุศลทั้งหลายชื่อว่ากลิ่นดิบค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ